· หุ้นเอเชียผันผวน หลังทองร่วงกะทันหัน
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผันผวน ท่ามกลางการร่วงลงในทองคำและราคาน้ำมันดิบ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 เดือน หลังจากข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯที่ออกมาอย่างแข็งแกร่งช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
สำหรับวันนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นและสิงคโปร์ปิดทำการเนื่องในวันหยุด ทำให้ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.1%
นักลงทุนยังคงประเมินว่ารายงานการจ้างงานสหรัฐฯที่แข็งแกร่งในวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยหนุนโอกาสที่เฟดทำการปรับลด/ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “เร็วกว่าคาด”
ขณะที่วุฒิสภาสหรัฐฯเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน 1 ล้านล้านเหรียญต่อ! หลังช่วงสุดสัปดาห์มีความคืบหน้ามากขึ้นอย่างช้าๆ
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนีในออสเตรเลีย ฮ่องกง และจีนเพิ่มขึ้น
ดัชนี ASX 200 +0.16% ท่ามกลางนักลงทุนจับตาสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในประเทศ โดยดอลลาร์ออสเตรเลียเคลื่อนไหวที่ระดับ 0.7354 ดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยปรับตัวสูงขึ้นจากระดับก่อนหน้าที่ระดับ 0.7326 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้านออสซี่ร่วงลงจากระดับที่สูงกว่า 0.7400 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากการฟื้นตัวของดอลลาร์ในวันศุกร์จากข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง ดอลลาร์หลังจากการฟื้นตัวของดอลลาร์ในวันศุกร์จากข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง
ดัชนี Kospi ทรงตัวแถว 3,269.17 จุด
ดัชนี Kosdaq +0.05%
· หุ้นจีนปรับขึ้น ตลาดหวังเห็น "นโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่ม"
หุ้นจีนปิดปรับขึ้นวันนี้ โดยได้รับอานิสงส์จาก
- การรีบาวน์ที่แข็งแกร่งของหุ้นกลุ่ม Blue-Chip ที่ช่วยชดเชยการปรับลงของหุ้นมูลค่าสูงในกลุ่มเทคโนโลยี
- สัญญาณเศรษฐกิจจีนชะลอตัว - ตลาดหวังเห็นการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน
- หุ้นฮ่องกงปิดบวก แม้จะมีแรงกดดันดัชนีจากบริษัท Alibaba Group Holding Ltd ที่พบเจ้าหน้าที่ระดับสูงเผชิญภาวะอื้อฉาวจากการล่วงละเมิดทางเพศ
ดัชนี HSI ปิด +0.94% ที่ 26,424.41 จุด
ดัชนี Hong Kong China Enterprises Index ปิด +0.98% ที่ 9,364.23 จุด
ดัชนี CSI300 ปิด +1.2% ที่ 4,980.64 จุด
ดัชนี Shanghai Composite Index ปิด +0.9% ที่ 3,488.92 จุด
· บรรดากองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียน (PE) และแหล่งรวมเงินทุน (VC) มีการปรับกลยุทธ์การลงทุนในจีน จากการปราบปราบของรัฐบาลจีนเป็นวงกว้าง
นอกจากนี้ ยังคาดหวังเห็นการเผชิญการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ผันผวนน้อยลง
กลุ่มผู้บริหารจากภาคอุตสาหกรรม กำลังเปลี่ยนการถือครองหุ้นกลุ่มบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคไปยังภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ส และพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น
· หุ้นยุโรปเริ่มต้นสัปดาห์เคลื่อนไหวแบบผสมผสาน
ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางความเชื่อมั่นเชิงบวกของเหล่านักลงทุนเมื่อคืนนี้ในตลาดเอเชีย
หุ้นเยอรมนีและฝรั่งเศสปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่หุ้นอังกฤษลดลงกลับเล็กน้อย
ขณะที่นักลงทุนกำลังรอข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐฯซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในสัปดาห์นี้
· หุ้นพลังงาน หุ้นเหมืองแร่กดดันดัชนี FTSE 100 จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนแอ
ดัชนี FTSE 100 -0.3% โดยมี BP, Anglo American, Glencore และ Royal Dutch Shell อยู่ในกลุ่มปรับตัวลงมากที่สุด
ซึ่งถูกกดดันจากกลุ่มพลังงานและหุ้นเหมืองแร่ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์กลับมาจากการติดเชื้อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น
· ดัชนีฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐฯลดลง หลังดาวโจนส์ปิดระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ดัชนีฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลง หลังจากดัชนีดาวโจนส์ปิดทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด
ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สลดลง 88 จุด
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์สทั้งคู่ปรับตัวลงเล็กน้อย
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
หุ้นไทยเช้านี้ปิดบวก 17.33 จุด หรือ 1.14% จากแรงซื้อหุ้น Domestic ตอบรับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศที่ลดลงเล็กน้อย-อัตราฉีดวัคซีนสูงขึ้น
ช่วงบ่ายอาจเห็นปัจจัยบวกดัน SET Index ขึ้นได้ต่อจากกลุ่มโรงไฟฟ้า - สื่อสารประกาศงบ ที่คาดจะเห็นการเติบโตมากขึ้นเมื่อเทียบรายปี
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ค่าเงินบาทเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 3 ปี ที่ 33.39 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าท่ามกลางสัญญาณเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในประเทศ ที่มีผลกระทบต่อเนื่องไปยังแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และปีหน้า โดยในวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. 2564 เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.34 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 32.87 บาทต่อดอลลาร์
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.30-33.60 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดที่ระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปีที่ 33.39 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 32.91-33.39 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แสดงความเห็นสนับสนุนแนวทางที่ว่าเฟดจะเริ่มถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วขึ้น ขณะที่ข้อมูลการจ้างงานเดือนกรกฎาคมที่สดใสเกินคาดได้หนุนค่าเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯขึ้นเช่นกัน ทางด้านธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ประกาศคงนโยบายแต่ระบุว่าจะเริ่มปรับลดการถือครองพันธบัตรเมื่อดอกเบี้ยนโยบายแตะระดับ 0.5% จากปัจจุบันที่ 0.1% ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 8,148 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรมูลค่า 12,397 ล้านบาท
- "อีไอซี" ลุ้นคุมโควิดได้ ไตรมาส 3 คาดเงินบาทสิ้นปีอ่อน 32.50-33 บาท ต่อดอลลาร์ แต่หากขั้นเลวร้าย ค่าบาทอาจอ่อนยาวถึงสิ้นปีหลุด 33 บาท ยันไม่กระทบเศรษฐกิจ เชื่อ ธปท.คุมได้ "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้บาทมีสิทธิอ่อนแตะ 34 บาทหากโควิด ลากยาวถึงไตรมาส 4 "ทีทีบี" ระบุหากเฟดส่งสัญญาณลดคิวอี บาทอ่อนค่าต่อถึงปีหน้าแน่ ด้าน "ดอลลาร์" ยังแข็งค่าขานรับข้อมูลจ้างงานสหรัฐแข็งแกร่ง
- นักวิชาการ คาดเงินบาทอาจอ่อนค่าทะลุระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มอาจติดลบในปีนี้ โดยในไตรมาสแรกปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลแล้ว 2.6 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าในไตรมาส 2 และ3 จะยังคงขาดดุลต่อเนื่อง ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลลดลง คาดว่าปีนี้ดุลบัญชีเงินทุนมีเงินไหลออกสุทธิไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านดอลลาร์ โดยมีทั้งการไหลออกของเงินลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน ปีที่แล้วเงินทุนไหลออกสุทธิประมาณ -3.59 พันล้านดอลลาร์ อัตราการค้าปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากราคานำเข้าสินค้าเพิ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออก
- "ศบศ." เผยมาตรการช่วยค่าครองชีพต่อเนื่องช่วย ปชช. แม้บางพื้นที่ล็อกดาวน์ แจงยอดใช้จ่ายคนละครึ่งยิ่งใช้ยิ่งได้-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยศก.ในประเทศหมุนเวียนกว่า 5.8 หมื่นล้าน คาด ต.ค. เชื่อมแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ใช้ "คนละครึ่ง" ได้
- "ดุสิตโพล" เผยโควิดทำท่องเที่ยววิกฤติหนัก "ปชช." หมดหวังรัฐโกยเงินท่องเที่ยว 8.5 แสนล้าน จี้รัฐเร่งคุมระบาด-ฟื้นความเชื่อมั่น
- "เกียรตินาคินภัทร" เตือนเศรษฐกิจไทยเสี่ยงติดลบ 2 ปีต่อเนื่อง หลังโควิดรุนแรงกว่าคาด ล็อกดาวน์ 3 เดือนไม่พอกระทบจีดีพีปี 64 หดตัว 0.8% "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" หวั่นกระทบเป้าหมายเปิดรับนักท่องเที่ยว ใน 120 วัน "ทีดีอาร์ไอ" คาดครึ่งปีหลังชะลอตัว "คลัง" ยันไม่ขยายเพดานหนี้ คงไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- สศก. คาดจีดีพีเกษตรทั้งปี’64 โตสูงสุด 2.7% ชี้ส่งออกสินค้าเกษตรไทยครึ่งปีแรกพุ่ง 7.16 แสนล้าน ปศุสัตว์เผยไก่ไทยเติบโตดี จากมาตรการคุมเข้ม Bubble and Seal คาดทั้งปีส่งออก 504,754 ตัน มูลค่า 56,000 ล้านบาท ยังขยายตัวที่ร้อยละ 2-3 เทียบกับปี 2563