• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2564

    11 สิงหาคม 2564 | SET News


·         หุ้นเอเชียทรงตัว  แม้ว่าดอลลาร์ - อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้น



ค่าเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นในตลาดเอเชีย โดยได้รับแรงหนุนจากการเจรจาเกี่ยวกับการปรับลด QE ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวลักษณะ Sideways ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯจะปิดทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก็ตาม


ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.08%

 

·         หุ้นจีนเพิ่มขึ้น หลังการปรับขึ้นของหุ้นบริษัท Evergrande และหุ้นในกลุ่มอื่นๆ

ตลาดหุ้นจีนส่วนใหญ่ปรับขึ้นในช่วงต้นตลาด ท่ามกลางการปรับขึ้นหุ้นบริษัท Evergrande Group ที่เป็นบริษัทด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และหุ้นในกลุ่มดังกล่าวอื่นๆ

โดยหุ้น Evergrande พุ่งขึ้นมากกว่า 8% หลังจากที่บริษัทกล่าวในการยื่นฟ้องว่ากำลังเจรจาขายหุ้นในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งรวมถึง Evergrande Property Services และ Evergrande New Energy Vehicle Group ด้วย

หุ้น Evergrande Property Services +16%

หุ้นกลุ่มยานยนต์พลังงานใหม่ +8%

ดัชนี Shanghai composite +0.27%

ดัชนี Shenzhen component +0.15%

ดัชนี Hang Seng +0.21%

ดัชนี Nikkei +0.51%

ดัชนี Topix -0.65%

ดัชนี S&P/ASX 200 +0.32%


ขณะเดียวกัน ดัชนี Straits Times ของสิงคโปร์ลดลง 0.68%

โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์กล่าวว่า เศรษฐกิจขยายตัว 14.7% ในไตรมาสที่สองเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจะขยายตัว 14.3%

นอกจากนี้ ทางจีนยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตระหว่าง 6% ถึง 7% ในปีนี้ ซึ่งปรับขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 4% เป็น 6%

 

·         สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียเดือนก.ค.ลดลงทำต่ำสุดในรอบ 4 เดือน

คณะกรรมการน้ำมันปาล์มของประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในเดือนก.ค.ลดลง 7.3% จากเดือนมิถุนายน เหลือ 1.5 ล้านตัน แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการผลิตและการนำเข้าปรับตัวลง

ขณะที่ผลการสำรวจของ Reuters คาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันปาล์มจะเพิ่มขึ้น 1.6% ที่ระดับ 1.64 ล้านตัน

ทั้งนี้ ข้อมูล MPOB แสดงให้เห็นว่า การผลิตลดลง 5.17% จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 1.52 ล้านตัน ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการเก็บเกี่ยว ท่ามกลางฤดูการผลิตที่มีปริมาณสูงสุด

 

·         หุ้นยุโรปเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง ตามความเชื่อมั่นของตลาดอื่นๆ ขณะที่หุ้น Thyssenkrupp -6%


ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวอย่างผสมผสานกัน เนื่องจากตลาดทั่วโลกยังคงเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ค่อนข้างทรงตัว ด้านหุ้นกลุ่มสุขภาพ +0.4% ขณะที่หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อน -0.8%

 

·         ABN Amro Bank กลับมาจ่ายเงินปันผลอีกครั้ง หลังผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2021 ออกมาดี


·         ดัชนีฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว หลังจากดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ปิดทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณืเมื่อคืนนี้ หลังจากส.ว.สหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายสาธารณูปโภควงเงิน 1 ล้านล้านเหรียญ ด้วยมติ 69 – 30 เสียง

 

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส ปรับตัวลงเล็กน้อย

ดัชนีS&P500ฟิวเจอร์ส และดัชนี Nasdaq ฟิวเจอร์ส ค่อนข้างทรงตัว

 

·         Reuters เผยมุมมองนักวิเคราะห์ ชี้ บรรดานักลงทุนมองหาสินทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากการผ่านร่างโครงสร้างพื้นฐานสหรัฐฯ 1 ล้านล้านเหรียญ ที่น่าจะเห็นความชัดเจนจากสภาคองเกรสได้ภายในปีนี้

บรรดาผู้จัดการกองทุนมีการเพิ่มการถือครอง "หุ้น" ของบริษัทต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากร่างโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ จึง "ช่วยสนับสนุน" ให้ดัชนี S&P500 ในกลุ่มวัตถุดิบ และภาคอุตสาหกรรม ต่างก็ปรับขึ้นได้กว่า 18% ภายในปีนี้

 

·         นักลงทุน ชี้ "อินเดีย-สหรัฐฯ" และประเทศในตลาดเกิดใหม่ต่างๆ มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสู่กองทุนในประเทศโดยตรง หลังจากที่จีนออกกฎปราบปรามที่เข้มงวด "ป่วน" ตลาดลงทุนต่างๆ

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

'หุ้นไทยปิดภาคเช้าร่วง 3.01 จุด ติดเชื้อโควิด-ฟันด์โฟลว์กดดัน

หุ้นไทยเช้านี้ปิดตลาดลดลง 3.01 จุด มาอยู่ที่ 1,539.61 จุด เหตุนักลงทุนชะลอซื้อขายก่อนวันหยุด ปัจจัยลบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศเพิ่มขึ้น-ฟันด์โฟลว์ไหลออก ประเมินกรอบภาคบ่าย 1,527-1,545 จุด


ความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยวันนี้ (11 ส.ค.2564) ปิดตลาดภาคเช้าที่ 1
,539.61 จุด ลดลง 3.01 จุด หรือลดลง 0.20% และมีมูลค่าการซื้อขายรวม 50,983.86 ล้านบาท ระหว่างทางทำจุดสูงสุดที่ 1,550.74 จุด และต่ำสุดที่ 1,535.55 จุด

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีสถาบันการคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ประกาศลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินใน 35 สถาบันการเงินจาก 5 ล้านบาทต่อบัญชีต่อสถาบันการเงินเหลือ 1 ล้านบาทเริ่มตั้งแต่ 11 ส.ค.เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยหรือธพว. ยืนยันจะไม่ปรับลดการคุ้มครองเงินฝากลง และยังให้การคุ้มครองเงินฝากเหมือนเดิม เนื่องจากทุกธนาคารเป็นธนาคารของรัฐ

 

- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดผลงานรัฐวิสาหกิจตะลุยเบิกจ่ายกระฉูด 1.91 แสนล้านบาท ชูรฟท.-รฟม.-กฟน. ผลงานใช้เงินลงทุนสุดแจ่ม เข็นใช้เงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มคืบสวนทางโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ-ทางวิ่งเส้นที่ 3 สุดอืด

 

- สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เพื่อหารือแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งได้ร่วมมือกับธุรกิจค้าปลีกและธนาคารพาณิชย์ จัดทำโมเดลต้นแบบ (Sandbox) เชื่อมโยงข้อมูลคู่ค้า เพื่อให้ SME ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยมีธุรกิจขนาดเล็กผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินแล้วประมาณ 3,000 รายพร้อมทั้งจะขยายผลไปยัง SME จำนวน 5 แสนราย ภายในปี 2564

 

- "สุพัฒนพงษ์" กางแผนกระทรวงพลังงานร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยฝ่าโควิด ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจและสังคม ผนึกหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจในสังกัด อัดฉีดเงินลงทุนปีนี้กว่า 2 แสนล้านบาท โดยครึ่งปีแรกลงทุนไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท จ้างงานรวมแล้วกว่า 36,000 ตำแหน่ง ครึ่งปีหลังปักหมุดจ้างเพิ่มอีก 2,300 ตำแหน่ง ลดค่าไฟช่วยประชาชน ผุด 4 แผนพลังงานหลักขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนและพลังงานในอนาคต

 

·         อ้างอิงจากสำนักประชาชาติธุรกิจ

เศรษฐศาสตร์ จุฬา ชี้วิกฤตโควิดหนุนไทยเร่งปฏิรูประดับโครงสร้าง-ธ.กรุงศรีฯ ชี้ระเบิดเวลา "ระเบิดแล้ว เกิดแผลเป็นเศรษฐกิจระยะยาว

รศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงเป็นวงกว้างยิ่งกว่าสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักคือผู้มีรายได้น้อยที่มีความเปราะบางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เปรียบเสมือนคนอ่อนแอเมื่อติดเชื้อก็จะทรุดหนักและใช้เวลาฟื้นนาน

 

ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้ คนทำนโยบายต้องไม่เพิ่มความไม่แน่นอนเข้าไปอีก โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร ขณะนี้ต้องไม่ใช้เวลายาวนานเกินไปในการเลือกนโยบายที่สุด ที่อาจกีดกันคนที่มาเอาเปรียบจากนโยบายได้ แต่กลายเป็นสายเกินไปสำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com