• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2564

    23 สิงหาคม 2564 | Gold News

ทองคำยื้อยุดกับดอลลาร์ จากสภาวะ “กังวลไวรัส” และ “ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลง”

ราคาทองคำเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่สภาวะการแข็งค่าของดอลลาร์ดูจะเป็นปัจจัยจำกัดการปรับขึ้นของราคาทองคำ ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวท่ามกลางไวรัสระบาด ยังเป็นปัจจัยที่สกัดความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย


· ราคาทองคำปรับขึ้นเพียง 0.1% ที่ระดับ 1,782.45 เหรียญ

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.1% ที่ระดับ 1,784 เหรียญ


· ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายจาก High Ridge Futures กล่าวว่า “ดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้นจากกระแสเฟดจะเดินหน้าทำ Tapering QE จึงเป็นปัจจัยที่กดดันทองคำ แต่เชื่อว่าสภาวะ Delta ที่ฉุดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยที่เป็นแรงสนับสนุนในตลาดทองคำ


· กองทุนทองคำ SPDR ยังคงเป็นผู้ขายทองคำออกอีก 3.49 ตัน ปัจจุบันลดการถือครองลงมาสู่ระดับ 1,011.61 ตัน ถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 14 เม.ย. 2020



การขายต่อเนื่องในเดือนส.ค. ส่งผลให้มีปริมาณการขายสุทธิ 19.85 ตัน

ตลอดช่วงเกือบ 8 เดือนของปีนี้ SPDR ขายทองไปมากเกือบ 160 ตัน โดยสถานะขายสุทธิรวมตั้งแต่ ม.ค. – 18 ส.ค. ขายทองแล้ว 159.13 ตัน




· ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความเป็นไปได้ที่จะเกิดการทำ Tapering ของเฟด ดูจะเป็นปัจจัยสกัดความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง แต่การที่ดอลลาร์แข็งค่ายังได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยร่วมด้วย จึงทำให้เราเห็นดอลลาร์แข็งค่าทำสูงสุดรอบ 9 ปีครึ่ง


· ตลาดให้ความสนใจกับการประชุม Jackson Hole รัฐไวโอมิง เพราะอาจมีสัญญาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “กลยุทธ์” และ “กรอบเวลา” การดำเนินโยบาย


· บรรดานักวิเคราะห์จาก Commerzbank กล่าวว่า หากเฟดมีการเร่งประกาศจะเริ่มลด QE ก็แน่ชัดแล้วว่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบต่อราคาทองคำ และยังทำให้ปัจจัยหลักในตลาดทองหายไป แต่ก็มองว่าการปรับตัวลงของมูลค่าทองคำและอัตราผลตอบแทนแท้จริงที่อยู่ระดับต่ำสุดประวัติการณ์จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อราคาทองคำ


· ราคาซิลเวอร์ปิด -0.8% ที่ 23.05 เหรียญ และปิดลบเป็นสัปดาห์ที่ 3

· พลาเดียมปรับตัวลดลง -1.6% ที่ 2,276.17 เหรียญ ปิดสัปดาห์ที่แย่ที่สุดตั้งแต่มี.ค. ปี 2020 หรือปรับร่วงลงมาแล้วประมาณ 14%

· แพลทินัมปิด +2.1% ที่ 994.18 เหรียญ แต่ปิดสัปดาห์ -3%


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปิดสัปดาห์อ่อนตัวจากกังวล Covid-19 ที่ระดับ 1.260%

โดยเป็นการปิดลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่อยู่บริเวณ 1.283% และต้นเดือนที่ผ่านมาทำต่ำสุสุดตั้งแต่ก.พ. ที่ระดับ 1.127%

ปริมาณการซื้อขายในตลาดค่อนข้างเป็นไปปานกลาง ท่ามกลางเทรดเดอร์และนักลงทุนหลายรายมีการเข้าสู่วันหยุดช่วงฤดูร้อน


· ดอลลาร์ทำแข็งค่ามากสุดรอบ 9 เดือนครึ่ง ท่ามกลางเทรดเดอร์ค่าเงินมองหาสินทรัพย์ปลอดภัยจากการระบาดของ Delta Covid-19 ที่อาจกระทบให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอลง ท่ามกลางบรรดาธนาคารกลางต่างๆที่เริ่มปรับแผนการดำเนินนโยบายในยุค Covid ระบาด

ดัชนีดอลลาร์แข็งค่ามากสุดแตะ 93.697 จุด ช่วงต้นเดือนพ.ย. ก่อนที่จะปิดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยบริเวณ 93.629 จุด สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาทำสูงสุดได้ที่ระดับประมาณ 1% ซึ่งเป็นระดับการแข็งค่ามากสุดรอบ 2 เดือน


ค่าเงินยูโรปิดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ 1.1674 ดอลลาร์/ยูโร เคลื่อนไหวใกล้ต่ำสุดรอบ 9 เดือนครึ่ง ที่ทำไว้ในช่วงคืนวันศุกร์บริเวณ 1.16655 ดอลลาร์/ยูโร สัปดาห์ที่ผ่านมาปิดปรับลงราว 1% มากสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย.

ค่าเงินเยนที่อยู่ในฐานะ Safe-Haven อยู่ในทิศทางแข็งค่า


ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบทั้งกับยูโรและดอลลาร์


· นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส เผยกำลังจับตา “Delta Covid-19” ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ต้องปรับนโยบายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เพราะอาจมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้

ขณะเดียวกัน ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Fox News เขายังคงคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯปีนี้ไว้ที่ 6.5% ขณะที่อัตราว่างงานคาดอยู่ระดับ 4.5% ในช่วงสิ้นปีนี้ พร้อมมองมาตรวัดการอุปโภคบริโภคที่น่าจะอยู่ประมาณ 3.8% ในปีนี้ และค่อยๆอ่อนตัวลงสู่ระดับ 2.5% ในปีนี้ ซึ่งก็ยังสูงกว่าที่เฟดกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 2%

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้อย่างที่เขาคาดการณ์ไว้ เขาก็ยังจะเป็นฝ่ายที่เดินหน้าสนับสนุนการปรับลดการเข้าซื้อพันธบัตรของเฟดที่อยู่ที่ระดับ 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือนในปัจจุบัน ซึ่งมองว่า เฟดควรประกาศแผนลด QE ในเดือนหน้า และเริ่มต้นดำเนินการลด QE ในเดือนต.ค.


· ประชุม Jackson Hole Symposium ซึ่งเป็นการจัดประชุมธนาคารกลางประจำปีของเฟด ถูกคาดว่าปีนี้จะหารือถึงประเด็นสำคัญเรื่อง “ความเสี่ยงของสถานการณ์ Covid-19”

ขณะที่นักลงทุนในตลาดต่างคาดหวังและกำลังรอคอยที่จะเห็นเฟดหารือเรื่องการลด QE ในการประชุมวาระนี้ ท่ามกลางสมาชิกเฟดหลายๆรายที่ดูจะมีเป้าหมายถอนนโยบายผ่อนคลายการเงินในปัจจุบัน


· รายงานจาก Bloomberg ระบุว่า นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน “นายเจอโม โพเวลล์” เป็นประธานเฟดสมัย 2

อย่างไรก็ดี นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังไม่ได้ทำการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว และมีแนวโน้มที่อาจเห็นการประเมินได้ในวันแรงงานช่วงต้นเดือนก.ย. ที่จะถึงนี้ และทางทำเนียบขาวเองก็ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆในเวลานี้


· Reuters เผยรายงานที่ระบุว่า การจ่ายเงินปันผลทั่วโลกอยู่ในระดับเกือบเท่าช่วงก่อนไวรัสระบาดในปี 2021 คาดปีนี้อาจเห็นเพิ่มถึง 1.39 ล้านล้านเหรียญ โดยคาดการณ์ล่าสุดถือว่าสูงกว่าคาดการณ์ครั้งก่อนกว่า 2.2% แม้ภาพรวมยอดคาดการณ์ล่าสุดจะอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดช่วงก่อนการระบาดราวๆ 3%


· นางกามาลา แฮริส เดินทางเยือนส.ค. เพื่อสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นในการต้านอิทธิพลจีน


· คะแนนนิยมในตัวไบเดนตกลง จากยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงวิกฤตที่เกิดในอัฟกานิสถาน


· ไบเดนให้คำมั่นเดินหน้าให้การสนับสนุนกลุ่มผู้อพยพ แม้ว่ากองกำลังตอลิบานจะขัดขวางการเดินทางของฝูงชนในการมุ่งหน้าสู่สนานบิน


· ไบเดน เผย หนทางการอพยพในอัฟกานิสถานยังอีกยาวไกล และอาจเห็นการดำเนินการที่ผิดพลาดอย่างมาก

ทั้งนี้ สถานการณ์การอพยพผู้คนในกรุงคาบูลเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากขึ้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวดไม่ว่าจะเริ่มต้นเมื่อใดหรือเริ่มลงมือแล้วก็ตาม ซึ่งหากทางสหรัฐฯได้ลงมือเริ่มต้นช่วยเหลือการอพยพตั้งแต่เดือนก่อนหรือในเดือนที่แล้วก็คงไม่ส่งผลให้เกิดการอพยพคนจำนวนมากต้องได้รับผลกระทบมากเท่านี้


· ผู้อำนวยการ NATO ระบุว่า กำลังดำเนินการ 24/7 เพื่อเร่งช่วยเหลือและอพยพชาวอัฟกานิสถานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


· นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เสนอให้ทำการประเมินท่อส่งน้ำมันรัสเซียใหม่ ขณะที่ยูเครนเรียกร้องให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น


· องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) คาดจะอนุมัติการใช้วัคซีน Pfizer อย่างเต็มรูปแบบวันนี้


· COVID-19 UPDATES:




ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกทะยานแตะ 212.55 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสม 4.43 ล้านราย

เมื่อวานนี้ ไทยรั้งอันดับ 9 ของโลกที่มียอดติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่มขึ้นมากสุด




ขณะที่ในแถบเอเชียไทยครองอันดับยอดติดเชื้อสะสมลำดับที่ 15 แต่ครองอันดับ 5 สำหรับยอดติดเชื้อใหม่รายวัน และยอดเสียชีวิตรายวันที่เพิ่มสูงขึ้น




· ยอดติดเชื้อในไทยล่าสุด ศบค. ประกาศเช้านี้ พบ 17,491 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 242 ราย




หลังเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมามียอดติดเชื้อใหม่เพิ่มรวมเกือบ 4 หมื่นราย และเสียชีวิตใหม่ช่วงสองวันยอดสูงเกือบ 500 ราย (โดยวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พบยอดติดเชื้อ 19,014 รายเสียชีวิตเพิ่ม 233 ราย และเมื่อวันเสาร์ พบยอดติดเชื้อสะสมรวม 20,571 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 261 ราย)

รวม 3 วัน ไทยมียอดติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นถึง 57,076 ราย และเสียชีวิตรวม 736 ราย
ณ ปัจจุบันไทยมียอดติดเชื้อสะสม 1,066,786 ราย
เสียชีวิตสะสม 9,562 ราย


สถานการณ์ฉีดวัคซีนในไทย



· ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ชี้ โควิดไทยสัญญาณดี ติดเชื้อคงที่ คาดกลาง ก.ย.คลายล็อกประเทศได้ เพื่ออนุญาตให้นั่งกินในร้าน หากฉีดวัคซีนได้ 50%


· ล่าสุดรายงานจากกรุงเทพชนบท เผยคาดการณ์ ไทยติดโควิดมากกว่าตัวเลขรายงาน

ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คถึงประเด็น โควิดว่าด้วยเรื่องตัวเลข โดยระบุว่า หัวใจของการทำความเข้าใจตัวเลขรายงานของ ศบค.นั้น มีประเด็นสำคัญที่ต้องดูร่วมกันอยู่ 2-3 ประเด็นจำนวนผู้ป่วยใหม่ประจำวันนั้น มากน้อยขึ้นกับจำนวนการตรวจ RT-PCR ด้วย


· เงินบาทเปิด ‘แข็งค่า’ ที่ 33.30 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารการเงินคาดกรอบเงินบาทวันนี้ 33.25-33.40 บาท/ดอลลาร์


ขณะที่กรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้มองไว้ที่ระดับ 33.00-33.50 บาท/ดอลลาร์

ภาพรวมเงินบาทยังผันผวน จับตาความชัดเจนเรื่องการปรับลด QE ของเฟดภายในปีนี้ ท่ามกลางสถานการณ์โควิดในประเทศยังกดดัน ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์จะเห็นธปท. ลดดอกเบี้ยอีก0.25%


นักบริหารการเงินจากกรุงไทย มองว่า บริเวณ 33.40-33.50 บาท/ดอลลาร์ ยังคงเป็นระดับแนวต้านสำคัญ ส่วนแนวรับเงินบาทอยู่ใกล้โซน 33.00-33.10 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่บรรดาผู้นำเข้าต่างรอทยอยเข้ามาแลกเงินดอลลาร์


· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- สภา ผ่านงบประมาณ 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้าน 257 ต่อ 189 เสียง

ขณะที่ “สุพัฒนพงษ์” ลั่น ใช้งบโปร่งใส ตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- ธปท.ยันรัฐกู้เพิ่ม 1 ล้านล้านช่วยหนุนเศรษฐกิจโตได้ 3.2% ใน 5 ปีข้างหน้า

ธปท.เคาะแบบจำลองรัฐกู้เงินเพิ่ม 1 ล้านล้านบาท ชี้เร่งอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ-ลดการปิดกิจการ-จ้างงาน หนุนจีดีพีไทยใน 5 ปีข้างหน้าโตได้ 3.2% หากไม่ทำโตต่ำ 3% ลั่นแม้หนี้สาธารณะพุ่ง 70% แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจดีย่อมเก็บภาษีง่ายกว่าแตกต่างกัน 5%


· อ้างอิงจากฐานเศรษฐกิจ

- คลายล็อกดาวน์อย่างมียุทธศาสตร์-มีเงื่อนไข ทางรอดเศรษฐกิจไทย

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แนะนำ คลายล็อกดาวน์อย่างมียุทธศาสตร์ มีเงื่อนไข ทางรอดเศรษฐกิจไทย พร้อมเตรียมงบประมาณจ่ายเยียวยาให้ภาคธุรกิจและประชาชนเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 300,000 ล้านบาทหากต้องขยายล็อกดาวน์ถึงปลายปี


· อ้างอิงจาก Brand Inside

- เศรษฐกิจไทยน่าห่วง: การผลิต-ส่งออก แรงขับสำคัญที่กำลังถูกโควิดรอบใหม่ฉุดรั้งการเติบโต

ขณะเดียวกันในไตรมาสที่ 3 นี้ แรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่เสี่ยงชะลอตัวจากโควิด-19 รอบใหม่ในต่างประเทศ ส่วนกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศอาจซบเซาไปต่อไม่ไหว

ภาคการส่งออกแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตกอยู่ในความเสี่ยง - ภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นต่ำสุดในรอบ 14 เดือน ขณะเดียวกัน ตัวเลขการเติบโตที่อาจไม่สะท้อนสถานการณ์จริง

จากการคาดการณ์ของวิจัยกรุงศรี ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจแตะระดับ 26,000 คน ในช่วงต้นเดือนกันยายน และจำนวนผู้เสียชีวิตจะอาจสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายน ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่ารัฐบาลอาจมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในช่วงปลายเดือนกันยายน ซึ่งจะเป็นผลทำให้อุปสงค์ในประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 มีแนวโน้มซบเซาลงด้วย

อ่านต่อ: https://brandinside.asia/thai-economic-q2-growth-7-5-percent/


· อ้างอิงจาก PPTV
- เศรษฐกิจไทย ครึ่งปีแรก 2564 โต 2% ยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยแต่แนวโน้มขยายตัวลดลง

สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก 2564 โต 2% ปรับคาการณ์ทั้งปี อยู่ที่ 0.7-1.2% ยืนยันเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่แนวโน้มขยายตัวลดลงจากการแพร่ระบาดโควิด-19



· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- รายงานข่าวเผยกรมสรรพากรเตรียมจะเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบขยายเวลามาตรการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% เหลือ 7% ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.64 ออกไปอีก 1-2 ปี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในเดือน ต.ค.นี้ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เปิดยื่นประมูล 8 ต.ค.นี้ รู้ผลประมาณเดือน ม.ค. 65


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอิศรา

- ดุสิตโพลเผย การใช้จ่ายของคนไทย ในยุคโควิด พบว่า ประชาชนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 40.22% นำเงินจากการทำงานมาใช้ 83.57% เงินออมที่มีอยู่ใช้ไปบ้างแล้วบางส่วน 42.63%


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com