• Delta ระบาดกระทบ "การฟื้นตัว" ของเศรษฐกิจแถบเอเชีย

    24 สิงหาคม 2564 | Economic News
  

Delta ระบาดกระทบ "การฟื้นตัว" ของเศรษฐกิจแถบเอเชีย


การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเอเชียจากปีที่แล้ว "ยังอยู่ในระดับต่ำ" อันเป็นผลจาก

ยอดติดเชื้อ Delta Covid-19 ระบาดหนักมากขึ้น

ร้านค้าว่างเปล่า

การปิดของกลุ่มโรงงานต่างๆ

จึงมีโอกาสเห็น  แนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการ  แย่ลงหลังที่เติบโตได้ในช่วงครึ่งปีแรก

 

การระบาดของ Deltac Covid-19 ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่ามกลาง "อัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ" เป็นเหตุผลสำคัญอย่างมากต่อภูมิภาคนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเกิดใหม่ แม้ว่าทางฝั่งยุโรปและอเมริกาเหนือจะกลับมา "เปิดทำการ"

 

บริษัทรายใหญ่ต่างๆในแถบเอเชีย มีแนวโน้มจะเห็นผลประกอบการไตรมาสแรกลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 (เมื่อเทียบรายไตรมาส) ในช่วงระหว่างเดือนก.ค. - ก.ย. โดยผลสำรวจจาก Reuters ชี้ว่า อาจเห็นการปรับลงของผลประกอบการมากถึง 6.19%

 

ในระยะสั้น "การเติบโตทางเศรษฐกิจ" จะขึ้นอยู่กับ

1. ความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประเทศหลักทางด้านการผลิต

2. จับตาจีน กับโอกาสที่ "จีน" จะเพิ่มมาตรการ "พิเศษ" เพื่อสนับสนุนทางเศรษฐกิจหรือไม่

 

ปัญหาด้านอุปทาน

จำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการใช้มาตรการ Lockdown เป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้ง "ภาคบริการ" และ "ภาคการผลิต"

จะเห็นได้ว่าข้อมูลจาก IHS Markit แสดงให้เห็นถึง กิจกรรมภาคการผลิตในภูมิภาค "หดตัว" ลงในเดือนก.ค. และเป็นการหดตัวที่ "รวดเร็ว" ที่สุด นับตั้งแต่ มิ.ย. ปีที่แล้ว

 

ผลกระทบ

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในแถบเอเชียที่เพิ่มมากขึ้นอาจไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วกันอย่างเต็มรูปแบบ จนกว่า "รัฐบาล" แต่ละประเทศจะทำการเปิดเผยข้อมูลจีดีพีไตรมาสที่ 3/2021 และคาดการณ์จีดีพีช่วงปลายปีนี้

นักวิเคราะห์จาก ING ระบุว่า ประเทศเศรษฐกิจต่างๆในแถบเอเชีย ดูจะเห็นได้ถึง "การกลับมาใช้ Lockdown" มากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะเห็นจีดีพีหดตัวลดลงเมื่อเทียบรายไตรมาสได้

 

ดังนั้น ING จึงปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศ

ไทย

มาเลเซีย

อินโดนีเซีย

ฟิลิปปินส์

ออสเตรเลีย

 

เนื่องด้วย แม้จะเห็นถึงยอดส่งออกเมื่อเทียบรายปีขยายตัวได้มากถึง 30 - 40% แต่การจะแข็งแกร่งอย่างแท้จริง ต้องมีผลจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆมาเสริมด้วย

 

ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com