• จีนอาจยินดีกับสถานการณ์ใน "อัฟกานิสถาน" เวลานี้ แต่การกลับมาของ "ตอลิบาน" อาจสร้างปัญหาได้

    25 สิงหาคม 2564 | Economic News
  

จีนอาจยินดีกับสถานการณ์ใน "อัฟกานิสถาน" เวลานี้ แต่การกลับมาของ "ตอลิบาน" อาจสร้างปัญหาได้

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการค้าจาก Cornell University ประจำรัฐนิวยอร์ก ระบุว่า การล่มสลายของอัฟกานิสถานให้แก่กลุ่มตอลิบาน  ประกอบกับความวุ่นวายต่างๆที่ตามมา ส่งผลให้เราเห็นถึง "สถานการณ์ที่ซับซ้อน" สำหรับประเทศจีน

 

เรื่องแรก:

แม้การมาของตอลิบานอาจถูกมองว่าเป็นชัยชนะของจีน จากผลสะท้อนว่า สหรัฐฯยังมีจุดอ่อนมากมายทางด้านหน่วยข่าวกรอง การใช้คลังอาวุธขนาดใหญ่ และความเป็น "มหาอำนาจ" ทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกๆประสิทธิผลในการดำเนินงานที่สิ้นสุดลง

 

โดยจะเห็นได้ว่า การมีส่วนร่วมกับอัฟกานิสถานมาอย่างยาวนาน" กลับไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ รวมไปถึงนโยบายการค้ากับต่างประเทศ

 

ดังนั้น จึงทำให้เกิดผลสะท้อนต่อบทบาทของ "สหรัฐฯ" ในระดับโลกอย่างเห็นได้ชัด แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า ผลลัพธ์ของประเทศอัฟกานิสถานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง และส่งผลให้ประเทศดังกล่าวก้าวสู่ "อ้อมกอด" ทางด้านเศรษฐกิจและทางการเมืองของจีนมากยิ่งขึ้น

 

ความกังวลเกี่ยวกับ "จีน" ต่อการกลับมาผงาดของกลุ่ม "ตอลิบาน"

 

ทั้งนี้ การกลับมาของตอลิบานอาจ สร้างปัญญาสำหรับจีนได้ เพราะอาจรวมไปถึงการฟื้นคืนของกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆที่อาจมีนัยยะต่อ "ความมั่นคงในประเทศจีน"  เพราะไม่อาจจินตนาการได้ว่าปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจะไม่ลุกลามข้ามพรมแดนไม่ว่าด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง

 

ด้าน U.N. เผยรายงานในปีนี้ ที่ระบุว่า ตอลิบานและอัลกออิดะห์ มี "ความเชื่อโยง" บางอย่าง ที่ใกล้ชิดกัน และ ไม่มีสัญญาณถึงการตัดขาด แม้ว่าทางกลุ่มตอลิบานจะออกมาปฏิเสธต่อคำกล่าวอ้างนี้ก็ตาม

 

ขณะที่รองประธานหน่วยงานศูนย์กลางโลกาภิวัฒน์และจีน กล่าวถึง ความเป็นไปได้ 2 ประการที่อาจเกิดขึ้น

1) ตอลิบานยอมรับการปฏิรูปและสันติภาพ

2) ตอลิบานยังคงแนวทางปฏิบัติเดิม เหมือนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

 

อย่างไรก็ดี สื่อของจีนก็ดูจะมีทัศนคติเชิงลบต่อ "การถอนกำลังทหารของสหรัฐฯ" และโทษความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน เป็นผลมาจากการถอนกำลังทหารดังกล่าว  พร้อมกับก่อให้เกิดคำถามตามมาว่

 

"สหรัฐฯจะมุ่งเน้นไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือภูมิภาคใดในระยะสั้นนี้หรือไม่ และคำสัญญากับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯจะมีอยู่ในระยะยาวอย่างไร หรือจบลงแบบที่เห็นอยู่ในเวลานี้หรือไม่"

 

ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com