· ราคาทองคำเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เนื่องจากเหล่านักลงทุนกำลังรอคอยการประกาศข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณว่าเฟดอาจเริ่มลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาเมื่อใด
· ราคาทองคำตลาดโลก ทรงตัวแถว 1,814.01 เหรียญ
· สัญญาณทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. -0.1% ที่ระดับ 1,816.00 เหรียญ
· ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.1% แต่ยังคงทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 3 สัปดาห์ที่ทำไว้เมื่อวานนี้
· นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของ OANDA กล่าวว่า หากการจ้างงานสหรัฐฯมีจำนวนมากกว่า 1 ล้านตำแหน่ง จะส่งผลให้ประเด็นการทำ Tapering QE กลับมาเป็นที่สนใจและเป็นปัยจัยที่กดดันทองคำเข้าสู่แนวโน้มขาลง
· แต่หากการจ้างงานสหรัฐฯออกมาประมาณ 700,000 หรือต่ำกว่านั้น จะช่วยบรรเทาความกังวลเหล่านั้นและเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำ
· ด้านนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters คาดว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯเดือนสส.ค.จะออกมาเพิ่มขึ้น 750,000 ตำแหน่ง
· ซึ่งการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในตลาดแรงงานเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจของเฟดในการทำ Tapering QE
· นายเจอโรม โพเวลล์ กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุม Jackson Hole ว่า การทำ Tapering QE อาจเริ่มในปีนี้ แต่จะยังคงระมัดระวังในการตัดสินใจเกี่ยวกับกาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น 1.4% เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
· นักยุทธศาสตร์ด้านสกุลเงิน DailyFX กล่าวว่า หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าตลาดตอบรับกับทิศทางการดำเนินนโยบายของเฟด ที่จะเริ่มต้นลดการเข้าซื้อพันธับตร
· กองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง 0.2% โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,000.26 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปี 2020
· FXStreet แนะจับตาทองเหนือ $1817 หากผ่านมีโอกาสขึ้นต่อ แนะรอข้อมูล ADP และ ISM สหรัฐฯคืนนี้
ราคาทองคำดูจะเคลื่อนไหวได้อย่างดีในช่วง และเบื้องต้นสามารถขึ้นไปทำสูงสุดเมื่อวานนี้ได้ที่ 1,819 เหรียญ อันเป็นผลจากดอลลาร์อ่อนค่าใกล้แตะต่ำสุดใหม่รอบ 4 เดือน ประกอบกับท่าทีของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่ดูจะหนุนสภาวะขาขึ้นในตลาดทองคำเวลานี้
ราคาทองคำเมื่อวานนี้พยายามที่จะรีบาวน์ และยังยืนได้เหนือ 1,800 เหรียญ ก่อนตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ คืนนี้
21.00น. - ISM เผยข้อมูลดัชนี PMI ภาคการผลิต
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข้อมูลที่ต้องให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะข้อมูล Non-Farm Payrolls ของสหรัฐฯ คืนวันศุกร์นี้ ที่จะเป็นเหตุการณ์ "เสี่ยง" สำคัญ เพราะมีโอกาสกระทบต่อการดำเนินนโยบาย Tapering QE ของเฟดได้
ขณะเดียวกัน กลุ่มนักลงทุนมีความวิตกกังวลในเรื่องของ
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
- ความเสี่ยงจาก Covid-19
ทั้งหมดนี้ เป็นผลมาจากการที่ข้อมูลกิจกรรมการผลิตจีนออกมาหดตัวลงในเดือนที่แล้ว จึงยังเป็น ปัจจัยสนับสนุนทองคำได้เป็นอย่างดี
นกอจากนี้ การที่นักลงทุนตอบรับกับโอกาสที่เฟดจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ก็ดูจะส่งผลกระทบครั้งใหม่ต่อดอลลาร์ จึงทำให้เห็นเม็ดเงินไหลออกจากดอลลาร์
นอกจากนี้ กราฟราย 4 ชม. ยังบ่งชี้ว่า หากทองคำปิดเหนือแนวต้าน 1,817 เหรียญได้ จะยิ่งยืนยันภาวะ "ขาขึ้น" และอาจเห็นแรงหนุนจาก "กลุ่มผู้ซื้อ" ดันราคาทอง ทดสอบสูงสุดรอบ 4 สัปดาห์บริเวณ 1,823 เหรียญได้
ดังนั้น ทองคำขาขึ้นจะมีเป้าหมายในการทำกำไรต่อไปที่บริเวณ 1,830 เหรียญ ซึ่งหากผ่านไปได้ อาจเห็นขึ้นต่อไปทดสอบ 1,839 เหรียญ
ขณะที่สัญญาณ RSI ยังคงทรงตัว แต่ก็ยืนได้เหนือค่ากลาง บ่งชี้ว่า "มีโอกาสเห็นทองขึ้นต่อ"
ในทางกลับกันหากราคาหลุดแนวรับบริเวณเส้น SMA ราย 21 วันที่ 1,812 เหรียญ ที่เป็นแนวรับเวลานี้ ก็น่าจะเผชิญ "แรงเทขาย" เข้ามากดดันทำให้ราคาอาจทดสอบแนวรับต่อไปที่ 1,805 เหรียญได้ และจะสร้างความเสี่ยงในการปรับตัวลงต่อ
ถ้าทองคำ Breakout หลุดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 50 วัน ที่ 1,801 เหรียญ จะเปิดโอกาสให้ทองคำกลับลงมาทดสอบ "เส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 วัน" ที่ระดับ 1,793 เหรียญ และจะตอกย้ำภาพ "ทองคำขาลง" อีกครั้ง
· ราคาซิลเวอร์ -0.2% ที่ระดับ 23.85 เหรียญ
· ราคาแพลตินัม -0.3% ที่ระดับ 1,009.88 เหรียญ
· ราคาพลาเดียม +0.3% ที่ระดับ 2,475.25 เหรียญ
· ราคาบ้านในอังกฤษพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนส.ค. แตะ 2.1% เมื่อเทียบรายเดือน หลังขยับขึ้นเพียง 0.6% ในเดือนก่อนหน้า
เมื่อเทียบรายปี ราคาบ้านในอังกฤษพุ่งขึ้นมากถึง 11% เมื่อเทียบปีก่อน และสูงกว่าที่ทาง Nationwide ชี้ว่าข้อมูลเดือนก.ค. ทำสูงสุดประวัติการณ์ไปแล้ว 10.5%
· ค้าปลีกเยอรมนีหดตัวลงเดือนก.ค. แตะ -5.1% ส่งสัญญาณ Q3/2021 อ่อนตัว
ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย. มีการปรับทบทวนขึ้นมาที่ 4.5% และข้อมูลเดือนพ.ค.ปรับขึ้นแตะ 4.6% ในเดือนพ.ค.
· เศรษฐกิจออสเตรเลีย Q2/2021 ชะลอตัวก่อนเกิดการกลับมา Lockdown
ข้อมูลจากสำนักติแห่งชาติออสเตรเลีย เผยถึงข้อมูลจีดีพีออสเตรเลียขยายตัวเกินคาดแตะ 0.7% ในช่วง Q2/2021 ลดลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ 1.9%
ขณะที่ภาพรวมรายปี ถือว่าจีดีพีออสเตรเลียขยายตัวได้รวดเร็วสุดครั้งประวัติศาสตร์แตะ 9.6% แต่มีเพียงการระบาดของไวรัสที่กลายมาเป็นสาเหตุสำคัญของเศรษฐกิจหดตัวเวลานี้ โดยเฉพาะการ Lockdown ในเมืองหลัก ได้แก่ Sydney, Melbourne และ Canberra ที่ส่งผลกระทบให้จีดีพี Q2/2021 หดตัวไปมากถึง 2-3%
· ภาคการผลิตในเอเชียได้รับผลกระทบจากปัญหา "ห่วงโซ่อุปทาน" เดือนส.ค. ทั่วทั้งภูมิภาค จุดประกายความกังวลเพิ่มว่าจะยิ่งสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ เหตุการอุปโภคบริโภคทรุดตัว
ทั้งนี้ กิจกรรมการผลิตในเดือนส.ค. ปรับตัวลดลงถ้วนหน้า ได้แก่ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการขาดแคลนชิป และการปิดทำการของโรงงานต่างๆที่กระทบต่อภาคการผลิต ประกอบกับสัญญาณคร้งใหม่จากการระบาดที่มีผลกระทบร่วมด้วย
· กิจกรรมภาคการผลิตจีนหดตัวครั้งแรกตั้งแต่เม.ย. ปี 2020 หรือรอบกว่าปีครึ่ง โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการสกัด Covid-19 - ปัญหาคอขวดด้านอุปทานและราคาวัตถุดิบในระดับสูง
ทั้งนี้ Caixin/Markit เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค. ดิ่งลงสู่ 49.2 จุด จาก 50.3 จุดในเดือนก่อนหน้า
· Deutsche Bank ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจจีนสู่ระดับ 8.2% ในปี 2021 จากเดิม 8.7% อันเป็นผลจาก"เศรษบกิจจีนอ่อนแอลง" ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
· รองผู้ว่าการบีโอเจ เตือน การยุตินโยบายการเงินก่อนกำหนด
บีโอเจต้องการหลีกเลี่ยงการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าราคาวัตถุดิบที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสนับสนุน "เงินเฟ้อ" ปรับขึ้น แต่ก็เชื่อว่าจะเห็นเงินเฟ้ออ่อนตัวลงได้หลังจากผ่านวิกฤตการถอนนโยบายการเงิน
ทั้งนี้ บีโอเจ ไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่เหมือนกับเฟดที่จะเข้าสู่วัฎจักรการคุมเข้มทางการเงิน ยกเว้นแต่จะเห็น "อุปสงค์ภายในประเทศ" แข็งแกร่ง และเงินเฟ้อปรับขึ้นสู่ระดับเป้าหมายที่บีโอเจกำหนดไว้ที่ 2% อย่างยั่งยืน
· กิจกรรมภาคการผลิตญี่ปุ่นชะลอตัวจากยอดติดเชื้อ Covid-19 พุ่ง
Jibun Bank Japan เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค. อ่อนตัวลงแตะ 52.7 จุด จาก 53.0 จุด ในเดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจาก
- ยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น
- ปัญหาห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชีย
- คำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ "หดตัวลง" เป็นครั้งแรก ในรอบ 7 เดือน
· ส่งออกเกาหลีใต้เดือนส.ค. ขยายตัวได้มากขึ้น แต่ความเสี่ยงจาก Delta Covid-19 ยังมีอยู่
ทั้งนี้ ส่งออกเกาหลีใต้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วในเดือนส.ค. เป็นผลมาจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง สำหรับชิปส์การ์ดเพื่อ Memory, อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (petrochemicals) และสินค้าหลักอื่นๆ
กระทรวงพาณิชย์เกาหลีใต้ เผย ผลกระทบจาก Delta Covid-19 เป็นเพียงสิ่งเดียวที่จำกัดและสร้างผลกระทบให้แก่ภูมิภาค
ยอดส่งออกเกาหลีใต้ขยายตัวได้ 34.9% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน และขยายตัวได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. ที่อยู่ที่ 29.6%
ยอดนำเข้าเกาหลีใต้ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ค. ปี 2010 และขยายตัวได้เร็วมากขึ้นจาก 38.1% ที่ทำไว้เมื่อเดือนก.ค. ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าที่ 1.67 พันล้านเหรียญ
· กิจกรรมการผลิตในอินเดียปรับตัวลดลงเดือนส.ค. ขณะที่ปัญหาการปรับลดพนักงานกลับมาอีกครั้ง
IHS Markit เปิดเผย ข้อมูลดัชนี PMI ของอินเดียหดตัวลงในเดือนส.ค. แตะ 52.3 จุด จากเดือนก.ค. ที่ทำสูงสุดรอบ 3 เดือนที่ 55.3 จุด
· Reuters Poll เผยมุมมองนักวิเคราะห์ เกี่ยวกับผลผลิตเดือนส.ค. ในอินเดียที่จะขยับขึ้นแตะ 16.1% ด้านถ่านหินปรับขึ้นได้ราว 23.7%
· Reuters เผยว่า จีนมีการนัดส่งวัคซีนชุดแรกจากบริษัท BioNTech แก่ไต้หวันในวันพรุ่งนี้
· ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอัลไซเมอร์ กล่าวว่า ไวรัส Covid-19 อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการ "โรคสมองเสื่อม" ได้มากขึ้น
· ญี่ปุ่นตรวจพบสารแปลกปลอมต้องสงสัยเพิ่มในขวดวัควีน Moderna
· เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขฟิลลิปปินส์ ประท้วงการละเลยโรงพยาบาลต่างๆในสถานการณ์ Covid-19
· ไต้หวัน กล่าวว่า จีนสามารถขัดขวางแนวทางการป้องกันตัวเองได้ ก่อให้เกิดสถานการณ์คุกคามที่เลวร้ายลง
กระทรวงกลาโหมไต้หวัน กล่าวว่า กองกำลังติดอาวุธของจีน สามารถขัดขวางยุทธวิธีการปกป้องตนเองของไต้หวันได้ พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบการใช้งานได้อย่างเต็มพิกัด สะท้อนถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากจีนอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ จีนมีการเพิ่มกำลังทหารและการทำกิจกรรมทางทหารรอบเกาะไต้หวันที่จีนกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจีน และยังไม่ยอมอ่อนข้อต่อการให้ไต้หวันเป็นประชาธิปไตยภายใต้การปกครองของจีน