• เฟดจะทำ Tapering "พ.ย." หรือ "ธ.ค." ขึ้นอยู่กับข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ

    20 กันยายน 2564 | Economic News
  

เฟดจะทำ Tapering "พ.ย." หรือ "ธ.ค." ขึ้นอยู่กับข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ

 

เฟดกำลังเผชิญกับข้อมูลตลาดแรงงานที่ยังไม่แน่ว่าจะอยู่ในสภาวะชะงักงันหรือพุ่งสูงขึ้น แต่คาดว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายการทำ Tapering QE ของเฟด แต่ทั้งหมดก็อาจไม่เกิดขึ้นในการประชุมเดือนก.ย.นี้ เพราะอาจต้องรอข้อมูลจ้างงานประจำเดือนก.ย. หรือหลังจากนั้นเพิ่มเติม

 

สมาชิกเฟด รวมถึง นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ต่างก็กล่าวถึงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เดือนละ 1.2 แสนล้านเหรียญ ที่อาจเกิดการประกาศปรับลดวงเงินได้ภายในปีนี้ ซึ่งจะถือเป็นก้าวแรกในการยุติการใช้นโยบายสนับสนุนช่วงวิกฤตไวรัสระบาด

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจ้างงานเดือนส.ค. ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาดแตะ 235,000 ตำแหน่ง ก็ดูจะส่งผลให้สมาชิกเฟดยังคงโอกาสที่จะทำ Tapering QE หรือพร้อมที่จะทำการลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรได้เร็วกว่าคาดช่วงประชุมเฟด 2-3 พ.ย. นี้ หากข้อมูลจ้างงานเดือนก.ย. ออกมารีบาน์ได้มากขึ้นและสถานการณ์ความเสี่ยงจาก Covid-19 ลดน้อยลง ซึ่ง เฟดอาจ "เลื่อนทำการ Tapering" หากสถานการณ์ระบาดของไวรัสกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

สำหรับนักเศรษฐศาสตร์กว่า 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามกับ Reuters Poll คาดว่า การเปลี่ยนแปลงการลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรครั้งแรกน่าจะเกิดในช่วงเดือนธ.ค. รวมไปถึงภาพรวมที่นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ทำการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2021 ด้วย

 

อย่างไรก็ดี รายงานข้อมูลจ้างงานต่อไปที่จะประกาศของสหรัฐฯ คือ ข้อมูลเดือนก.ย. ซึ่งจะเปิดเผยในวันที่ "8 ต.ค."  และข้อมูลนี้มีแนวโน้มจะเป็นตัวสะท้อนว่า การระบาดของ Delta Covid-19 มีผลกระทบเชิงลึกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือตลาดแรงงานมากกว่าที่สมาชิกเฟดได้คาดการณ์ไว้หรือไม่



 

คืบหน้าอย่างยั่งยืน

 

การประชุมเฟดในวันพรุ่งนี้และวันพุธนี้ จะประกอบไปด้วย

คาดการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่

คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหม่

 


 

ภาพรวมสมาชิกเฟดบางราย อาทิ นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการบอร์ดบริหารของเฟด แสดงความต้องการทำ "Tapering QE" เร็วๆนี้  พร้อมระบุว่า การลดวงเงินนั้นจะมีผลช่วยเรื่องการจ้างงานเพียงเล็กน้อย และอาจไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหากเรายังคงดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเวลานาน เพราะมิเช่นนั้นอาจเห็นการก่อให้เกิดราคาบ้านพุ่งขึ้น หรือสินทรัพย์อื่นๆเผชิญภาวะฟองสบู่

 

ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com