ดอลลาร์แข็งค่า จากแนวโน้มเฟดจะทำ Tapering QE
ค่าเงินดอลลาร์เริ่มแข็งค่าต่อในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่มีท่าทีระมัดระวังก่อนเริ่มการประชุมของหลายๆธนาคารกลางในสัปดาห์นี้ รวมถึง "เฟด" ประกอบกับสถานการณ์ของบริษัท China Evergrande ที่ดูจะสร้างความเปราะบางให้แก่ตลาดต่างๆ
ขณะที่การซื้อขายช่วงวันหยุดประจำชาติของจีนและญี่ปุ่น ดูจะช่วยชะลอการอ่อนค่าของยูโรที่ทำอ่อนค่ามากสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมาในรอบ 1 เดือน หลังไปทำต่ำสุดรอบ 4 สัปดาห์บริเวณ 1.1721 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างแข็งค่า โดยไปทำสูงสุดของเดือนที่ 93.263 จุด
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 110.01 เยน/ดอลลาร์
สำหรับสัปดาห์นี้จะมีการประชุมของบรรดาธนาคารกลางต่างๆ ดังนี้
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น
- ธนาคารกลางอังกฤษ
- ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์
- ธนาคารกลางสวีเดน
- ธนาคารกลางนอร์เวย์
- ธนาคารกลางอินโดนีเซีย
- ธนาคารกลางฟิลิปปินส์
- ธนาคารกลางไต้หวัน
- ธนาคารกลางบราซิล
- ธนาคารกลางแอฟริกาใต้
- ธนาคารกลางตุรกี
- ธนาคารกลางฮังการี
นอกจากนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งใน "แคนาดา" และ "เยอรมนี"
แต่สิ่งที่เหล่าเทรดเดอร์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือประชุมเฟดสัปดาห์นี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 4 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่แล้ว จากท่าที Hawkish หรืออาจเห็นการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นปี 2022 ที่จะยิ่งเป็นตัวหนุนดอลลาร์
อย่างไรก็ดี สมาชิกเฟด 2 ราย ดูจะเปลี่ยนใจสำหรับข้อมูล "Dot Plot" ที่เป็นการประเมินค่ากลางโอกาสการดำเนินนโยบายของสมาชิกเฟด ต่อไปในปีหน้า
สำหรับธนาคารกลางอังกฤษหรือบีโออี ถูกคาดว่าจะยังคงนโยบายต่อไป แต่บรรดาเทรดเดอร์ เล็งเห็นโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นของค่าเงินปอนด์ หากว่าบีโออีมีท่าที Hawkish มากขึ้น หรือสมาชิกบีโออีมีการเรียกร้องให้ทำ Tapering QE
ขณะเดียวกัน "ไม่มีคาดการณ์" จะเห็นการเปลี่ยนแปลงนโยบาย Dovish จากบีโอเจที่จะประชุมในวันพุธนี้ แต่ธนาคารกลางนอร์เวย์ ถูกคาดว่าอาจกลายมาเป็น 1 ในธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G10 ที่ประกาศ "ขึ้นดอกเบี้ย"