ความเสี่ยงจากภาวะบริษัท Evergrande หนุนทองขึ้น แต่กระแสเฟดยังจำกัดทอง!
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.5% ที่ระดับ 1,762.66 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.8% ที่ระดับ 1,765.40 เหรียญ
· ราคาทองคำปิดปรับตัวสูงขึ้นจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับ
- การแก้ไขปัญหาของบริษัทนักพัฒนาอสังหาฯจีนรายใหญ่อย่าง China Evergrande หนุน Safe-Haven กดดันหุ้นทั่วโลกอ่อนตัว
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับลงต่ำกว่า 1.311% ท่ามกลางนักลงทุนแห่ถือพันธบัตรจากแรงเทขายอย่างหนักในตลาดการเงินต่างๆ กังวล China Evergrande เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้
- บรรดานักวิเคราะห์ เตือนปัญหาจากบริษัท China Evergrande อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างนอกประเทศจีนได้
· การแข็งค่าของดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยจำกัดการปรับขึ้นของราคาทองคำ โดยดัชนีดอลลาร์เมื่อวานนี้ทำสูงสุดรอบ 4 สัปดาห์บริเวณ 93.4 จุด โดยได้รับอานิสงส์จาก
- ปัญหา China Evergrande หนุนดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven
- กระแสเฟดทำ Tapering QE
· ซิลเวอร์ปิด -0.7% ที่ 22.23 เหรียญ ทำต่ำสุดตั้งแต่พ.ย. 2020
· แพลทินัมปิดร่วง -3.5% ที่ 908.52 เหรียญ
· พลาเดียมทรุดปิด -6.4% ดิ่งหนักสุดตั้งแต่ช่วงกลางมิ.ย. โดยปิดที่ 1,888.24 เหรียญ
· การประชุมเฟดระหว่าง 21- 22 ก.ย.นี้ ยังเป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอคอยจึงทำให้นักลงทุนมีการลดการถือครองทองคำรอผลประชุมดังกล่าว
· หัวหน้านักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Securities กล่าวว่า กลุ่มนักลงทุนแห่ถือพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยป้องกันความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากโอกาสผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท China Evergrande จึงฉุด Yield อ่อนตัวและหนุนทองคำได้บ้าง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในสภาวะที่จะมีประชุมเฟด ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญสำหรับตลาดก็ดูจะจำกัดทองคำและทำให้ทองคำค่อนข้างเคลื่อนไหวในสภาวะปรับฐาน ขณะที่ราคาสินค้าแพลทินัมและพลาเดียมก็ยังไม่มีแนวโน้มจะรีบาวน์กลับได้ในขณะนี้ จนกว่าสภาวะอุปสงค์จะเริ่มฟื้นตัวได้ดีกว่านี้
· นักลงทุนบางส่วนยังเข้าถือครองทองคำเพื่อเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แต่โอกาสที่เฟดจะกลับมาใช้นโยบายเชิง Hawkish รวมทั้งโอกาสเห็นการขึ้นดอกเบี้ยก็ดูจะกดดันราคาทองคำอยู่ในเวลานี้
· ที่ปรึกษาด้านการลงทุน กล่าวว่า แม้จะมีความเสี่ยงต่างๆ ได้สนับสนุนให้เกิดเม็ดเงินไหลเข้าสู่ดอลลาร์, ทองคำ และค่าเงินเยน แต่การที่ดอลลาร์ดูจะทำสูงสุดรอบ 1 เดือนก็ยังเป็นประเด็นหลักที่เข้ากดดันราคาทองคำเวลานี้
· ค่าเงินเยนแข็งค่า 0.58% ที่ 109.32 เยน/ดอลลาร์
· นอกจากเฟดแล้วยังมีธนาคารกลางของประเทศต่างๆอีกหลายแห่งที่จะจัดประชุมในสัปดาห์นี้ อาทิ, ญี่ปุ่น, อังกฤษ, สวีเดน และนอร์เวย์ เป็นต้น
· หยวนนอ่อนค่าทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนหนุนดอลลาร์จากปัญหาบริษัท China Evergrande
ความเชื่อมั่นตลาดทรุด หนุน Safe-Haven ท่ามกลางบริษัทดังกล่าวที่พยายามระดมทุนเพื่อจ่ายหนี้ให้แก่กลุ่มผุ้กู้, ซัพพลายเออร์ และนักลงทุน ที่มีกำหนดเส้นตายสำหรับการจ่ายชำระดอกเบี้ยมูลค่า 83.5 ล้านเหรียญสำหรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในวันพฤหัสบดีนี้ ขณะที่บริษัทมีหนี้สินสูงกว่า 3.05 แสนล้านเหรียญ
· CNBC รายงาน เศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่จะได้รับจากวิกฤตสภาพคล่องของบริษัท China Evergrande
บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า วิกฤตสภาพคล่องของบริษัทดังกล่าวดูจะสร้างความหวั่นไหวไปทั่วตลาดต่างๆทั่วโลก และอาจส่งสผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ด้วย
ทั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีนได้ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบธนาคาร จึงอาจไม่ส่งผลวงกว้างไปยังระบบการเงินทั่วโลก
ขณะที่กลุ่มนักลงทุนกังวลว่า “จีนมีแนวโน้มจะปล่อยให้บริษัทดังกล่าวล้มละลาย” จึงอาจส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ถือหุ้น และกลุ่มผู้ถือหุ้นกู้ภายในประเทศได้ ขณะที่บริษัท Evergrande กำลังเผชิญกับกำหนดการชำระหนี้ในตราสารพันธบัตรนอกประเทศภายในวันพฤหัสบดีนี้ โดยมีรายงานตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วว่าการประสบปัญหาดังกล่าวค่อนข้างแก้ไขได้ยากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ทางด้านผู้เชี่ยวชาญในตลาดต่าๆง ยังคิดว่า ปัญหาบริษัท Evergrande นั้นไม่น่าจะก่อให้เกิดวิกฤตการเงินครั้งต่อไปได้ เพียงแต่อาจเห็นความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีความกังวลว่าเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวอยู่แล้วจะได้รับผลกระทบและส่งผลไปยังระบบเศรษฐกิจประเทศอื่นๆได้ จึงคาดหวังว่า รัฐบาลจีนจำเป็นต้องรีบดำเนินการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเวลานี้ปัญหาของบริษัทดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อ “ความเชื่อมั่น” ในตลาดทั่วโลก
· ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนแตะ 1.3659 ดอลลาร์/ปอนด์ – ต่ำสุดตั้งแต่ 23 ส.ค.
ค่าเงินปอนด์ได้รับแรงกดดันจาก
- แรงเทขายตลาดหุ้นทั่วโลก กังวลปัญหาความเสี่ยง่จากบริษัท China Evergrade
- ความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายของบีโออี ที่มีกำหนดประชุมในวันพฤหัสบดีนี้
- ราคาแก๊สที่พุ่งสูง ขณะที่บรรดาซัพพลายเออร์เรีกร้องการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อให้การช่วยเหลือชดเชยค่าใช้จ่ายของกลุ่มลูกค้าบริษัทต่างๆที่เผชิญปัญหาล้มละลาย
· Bitcoin ร่วงมากกว่า 10% จากการทรุดตัวของสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆทั่วโลก ส่งผลให้เม็ดเงินในตลาดอยู่ที่ระดับ 1.94 ล้านล้านเหรียญ จากระดับ 2.17 ล้านล้านเหรียญในวันเสาร์ที่ผ่านมา
· JPMorgan คาดข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯจะยังอ่อนตัว ในเดือนก.ย. แม้ว่าบรรดากลุ่มผู้บริโภคจะมีการกลับมาใช้จ่ายเดินทางด้านการท่องเที่ยวและที่พักต่างๆช่วงวันหยุดแรงงาน
ดังน้น คาดว่า ข้อมูลจ้างงานเดือนก.ย. น่าจะขยายตัวได้เพียง 333,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ออกมาแย่กว่าคาดในเดือนส.ค. ทรุดตัวต่ำกว่า 235,000 ตำแหน่ง ต่ำสุดตั้งแต่ม.ค. และต่ำกว่าที่เฟดคาดหวังไว้
· เดโมแครตจะผลักดันร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ให้ผ่านสภา 1 ต.ค.นี้ ท่ามกลางสมาชิกรีพับลิกันที่ประกาศกร้าวจะไม่ทำการอนุมัติให้รัฐบาลสหรัฐฯก่อหนี้เพิ่ม
· นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ชี้ เจรจาการค้ากับอียูอาจต้องใช้เวลาร่วมกันนานนับสัปดาห์หรืออาจนานเป็นเดือน หลังจากที่เขาตัดสินใจยกเลิกการทำข้อตกลงเรือดำน้ำกับทางฝรั่งเศสมูลค่า 4 หมื่นล้านเหรียญ
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกแตะ 229.75 ล้านราย เสียชีวิตสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 4.7 ล้านล้านราย
รายงานติดเชื้อใหม่ในไทยล่าสุดเช้านี้อยู่ที่ 10,919 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 143 ราย
ขณะที่ อว.เผยสถิติวัคซีนไทย ฉีดเข็ม 2 แล้วแค่ 22.6% ฉีดเข็ม 1 43.7% อันดับ 5 อาเซียน
· นักบริหารการเงิน ระบุว่า ค่าเงินบาทยังมีแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์ โดยการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ อาจทำให้ผู้เล่นบางส่วนเริ่มขายทำกำไรซึ่งพอจะช่วยหนุนไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าไปมากได้ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.30-33.45 บาท/ดอลลาร์
นักลยุทธ์ตลาดทุนของธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ระยะสั้น อาจเห็นแรงขายบอนด์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มเติม จากทั้งความกังวลว่าปริมาณการออกบอนด์ในอนาคตอาจสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังรัฐบาลได้ขยายเพดานหนี้สาธารณะและประกาศกู้เงินเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ผู้เล่นบางส่วนยังปิดสถานะเก็งกำไรเงินบาทแข็งเพิ่มเติม ท่ามกลางความไม่แน่นอนของแนวโน้มการระบาดในประเทศ ซึ่งภาพดังกล่าวก็ถูกสะท้อนผ่านแรงเทขายบอนด์ระยะสั้น
นอกเหนือจากปัจจัยในประเทศดังกล่าวนั้น เงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ตามภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดในระยะนี้ รวมถึง แรงกดดันจากการอ่อนค่าของเงินหยวน (CNY และ CNH) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงินเอเชียโดยรวม จากความกังวลว่าปัญหาผิดนัดชำระหนี้ของ Evergrande จะส่งผลกระทบหนักเป็นวงกว้าง
· อ้างอิงจากโพสต์ทูเดย์
- กรุงศรีคาดเงินบาท อ่อนค่าสุดในรอบ 4 ปี
กรุงศรีประเมิน ระยะสั้นเงินบาทอาจอ่อนค่าลงต่อเนื่องและมีโอกาสทดสอบระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 ปี พร้อมมอง เงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.60 บาท/ดอลลาร์
เหตุการณ์หลักสำหรับตลาดการเงินโลกจะอยู่ที่รายละเอียดการประชุมเฟดวันที่ 21-22 กันยายน โดยนักลงทุนจะประเมินจังหวะเวลาและแนวทางการปรับนโยบายการเงิน อนึ่ง กรุงศรีคาดว่าประธานเฟดจะเน้นย้ำถึงการเริ่มปรับลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ภายในปีนี้ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เผชิญความเสี่ยงด้านขาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหากประมาณการ Dot Plot บ่งชี้ว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 ซึ่งเร็วกว่าประมาณการที่เฟดเคยเปิดเผยเมื่อเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ดี กรณีที่เฟดคง Dot Plot ไว้ตามเดิม คาดว่าเงินดอลลาร์อาจปรับฐานลงเล็กน้อย นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) มีกำหนดประชุมในสัปดาห์นี้เช่นกัน ส่วนผลกระทบจากความปั่นป่วนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและความเสี่ยงที่จะลุกลามไปสู่ภาคการเงินยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
· อ้างอิงจากประชาชาติ
- หุ้นไทยไม่ไปไหนไกล นักลงทุนทั่วโลกลดสัดส่วนลงทุน รอผลประชุมเฟด
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ลุ้นผลประชุมเฟด ผลกระทบ “ดอกเบี้ย-ค่าเงิน”
อย่างไรก็ดี เฟดคงจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและด้านเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ประกอบกับใช้ความระมัดระวังในการสื่อสาร และหลีกเลี่ยงที่จะส่งสัญญาณการถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเร็วกว่าที่ควร เพื่อไม่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงิน
- เปิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซ้ำรอยวาทกรรม “ขายชาติ”
มติ ครม. อนุมัติหลักการ ให้นักลงทุนต่างชาติที่มั่งคั่ง เข้าซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองไทย และได้ปรับสิทธิหน่วยงานราชการหลายแห่งให้สอดคล้อง กลายเป็นกระแสรัฐบาลถูกโจมตี นับเป็นรัฐบาลที่ 3 ที่ถูกระบุว่า “ขายชาติ”
- โฆษกรัฐบาลยัน มาตรการดึงต่างชาติเข้าไทย ชดเชยรายได้ท่องเที่ยว
โฆษกนายกรัฐมนตรียืนยัน มาตรการดึงดูดต่างชาติศักยภาพสูงเข้ามาทำงานหรืออาศัยในประเทศ ทดแทนจำนวนนักท่องเที่ยวได้ พร้อมทั้งเสริมศักยภาพในการพัฒนาประเทศ วอนทุกฝ่ายเปิดใจกว้าง
· อ้างอิงจากมติชน
- คกก.การเงินการคลัง เห็นชอบ ขยายเพดานหนี้สาธารณะ เป็นไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี
ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้มีมติเห็นชอบให้มีการทบทวนกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่กำหนดไว้ ต้องไม่เกิน 60% เป็น ต้องไม่เกิน 70% ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้กับรัฐบาล และไม่เป็นอุปสรรคหากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง โดยยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ดี
· อ้างอิงจาก TNN24
- เอกชนร้องรัฐสกัดโควิดลามภาคการผลิต หวั่นกระทบส่งออกหมดแรงพยุงเศรษฐกิจ
แม้ว่าในช่วง 7 เดือนแรกตัวเลขส่งออกจะสดใส แต่ในช่วงที่เหลือของปีนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าการส่งออกอาจแตะเบรกลดความร้อนแรงลง เพราะจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ระบุว่า การส่งออกที่เป็นปัจจัยหลักในขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศที่เริ่มมีการเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่มีแนวโน้มรุนแรง ขณะที่ปัจจัยในประเทศเองภาคการผลิตเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากการแพร่ระบาดในโรงงาน