ตลาดจับตา 5 ประเด็นสำคัญ กับประชุมเฟด
กลุ่มนักลงทุนค่อนข้างให้ความสนใจไปยัง "ประชุมเฟด" สัปดาห์นี้ ว่าจะมีแนวทางการปรับนโยบายไตรมาสที่ 4 ส่งท้ายปีนี้อย่างเหมาะสมเช่นไร โดยที่ภาพรวมตลาดมีการคาดการณ์ที่จะเริ่มต้นเห็นการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟด ซึ่งจะถือเป็น "ก้าวแรก" ในการปรับนโยบายการเงินสู่สภาวะปกติ
แม้นักลงทุนจะมีกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับเฟดจะเริ่มทำการ Tapering QE ปีนี้ แต่ตลาดก็ยังมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างสูงว่าเฟดจะประกาศลำดับการลด QE อย่างไร
ขณะเดียวกันตลาดก็ดูจะสนใจ 5 เรื่องสำคัญในการประชุมคืนนี้ ดังต่อไปนี้
1) การลดการซื้อพันธบัตร - จะเกิดขึ้นเร็วแค่ไหนในตอนนี้
- สมาชิกเฟดส่วนใหญ่ประสานเสียงหนุนการเริ่มลดวงเงินซื้อพันธบัตรปีนี้ ตราบเท่าที่ตลาดแรงงานยังฟื้นตัวได้ต่อ
- มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นเฟดประกาศลดวงเงินซื้อพันธบัตรรายเดือน ที่ปัจจุบันซื้อที่ 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน
- เฟดอาจ "ลด" วงเงินเร็วสุด พ.ย. นี้ หลังสัญญาณเศรษฐกิจล่าสุดลดโอกาสการดำเนินการในเดือนนี้
กลุ่มนักลงทุนรอ "สัญญาณใหม่" ว่าเมื่อไรเฟดจะเริ่มต้นลด QE ประกอบกับภาพรวมเฟดอาจต้องรอคอยการฟื้นตัวของข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯด้วย ซึ่งเร็วสุดก่อนการประชุมพ.ย. เฟดจะได้เห็นข้อมูลจ้างงานเดือนต.ค. ที่จะประกาศช่วงต้นเดือนต.ค. ดังนั้น เฟดจึงอาจเริ่มตัดสินใจได้ก่อนธ.ค.นี้
2) โอกาสการขึ้นดอกเบี้ย
- เฟดมีท่าทีระมัดระวังต่อการแยกกรอบการดำเนินการระหว่าง "ลดการซื้อพันธบัตร" ออกจาก "การขึ้นดอกเบี้ย" ครั้งแรกนับตั้งแต่ มี.ค. ปี 2020
- หากการจ้างงานยังคงเดินหน้าฟื้นตัวต่อ และเงินเฟ้อยังสุงกว่าเป้าหมาย เงื่อนไขที่เฟดจะทำ Tapering QE ก็อาจเกิดขึ้นกับการขึ้นดอกเบี้ยได้
ในการประชุมเดือนมิ.ย. เฟดเคยเผยคาดการณ์ที่จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2023
Fed Dot Plot
- เฟดอาจไม่เปลี่ยนแปลงคาดการณ์ในการประชุมวาระนี้
- อาจเห็นเฟดกล่าวถึงคาดการณ์ดอกเบี้ยปี 2024
"กรณีที่เฟดมีท่าที Hawkish มากกว่าที่คาดการณ์ไว้"
อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้นอย่างผันผวน แต่หากมีการกำหนดกรอบเวลาการขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจเห็นอัตราผลตอบแทนพันบัตรมีการปรับตัวสูง
3) เงินเฟ้อจะถูกพิสูจน์ว่าปรับขึ้นชั่วคราวเมื่อไร?
- เฟดน่าจะรอจนกว่าจะเห็นข้อมูลเศรษฐกิจฟื้นตัวก่อนทำการคุมเข้มทางการเงิน หรือจนกว่าจะเห็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่บังคับให้เฟดต้องดำเนินการเข้าควบคุม
- การอ่อนตัวของเงินเฟ้อ อาจหนุนให้ถ้อยแถลงของเฟด บ่งชี้ถึง "หลักฐาน" พิสูจน์การขึ้นชั่วคราวของเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ดี ยังมีความไม่ชัดเจนว่า ปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะช่วยหนุนให้เงินเฟ้อโดยรวมอ่อนตัวลงได้หรือไม่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่มาตรการเข้มงวดสกัด Covid-19 ระลอกใหม่ และความเป็นไปได้ของการระบาดจะส่งผลเร่งต่อเงินเฟ้อ
"คาดการณ์เศรษฐกิจของเฟดคืนนี้"
มีแนวโน้มจะแสดงให้เห็นกรอบคาดการณ์เงินเฟ้อ ท่ามกลางสมาชิกเฟดที่อาจมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในการเพิ่มขึ้นหรือลดลง
4) คาดการณ์เศรษฐกิจของเฟด
- คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ จากบรรดาสมาชิกเฟด จะรวมถึงข้อมูลการเติบโตและการจ้างงาน รวมไปถึง Dot Plot ที่มักเผยในรอบการประชุมเดือนมี.ค. มิ.ย. ก.ย. และ ธ.ค.
- นักลงทุนบางราย กังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเผชิญกับ Stagflation ซึ่งจะเห็นแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจประสบภาวะชะลอตัว
5) สัดส่วนของการปรับลดพันธบัตรและ MBS
นับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดของไวรัส Covid-19 เฟดก็มีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล 8 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน และซื้อตราสารหนี้ MBS 4 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน รวมเป็น 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน
นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ได้กล่าวไว้เมื่อเดือนก.ค. โดยคาดว่าเฟดจะทยอยลดการเข้าซื้อพันธบัตรและ MBS ไปพร้อมๆกัน
ณ ขณะนี้ นักลงทุนกำลังสนใจว่าจะมีสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของเฟด หรือมีการปรับทบทวนการตัดสินใจอย่างไร