· ราคาทองคำดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนครึ่ง โดยได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากนักลงทุนเริ่มระมัดระวังการลงทุน หลังประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท China Evergrande ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงก็เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำเช่นเดียวกัน
· ราคาทองคำตลาดโลก +0.6% ที่ระดับ 1,753.50 เหรียญ หลังจากที่ราคาปรับลงไปแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. ที่บรเวณ 1,737.46 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. +0.3% ที่ระดับ 1,754.40 เหรียญ
· ดัชนีค่าเงินดอลลาร์อยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
· นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสประจำ OANDA กล่าวว่า นักลงทุนชาวเอเชียเข้าหาทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาของบริษัท Evergrande ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และเสริมว่าระยะสั้นราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะซื้อขายในกรอบระหว่าง 1,740-1,780 เหรียญ
· หัวหน้าฝ่ายการจัดการที่ Wing Fung Precious Metals กล่าวว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับหนี้ของ บริษัท Evergrande กระตุ้นความต้องการทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับ 1,750 เหรียญ
· อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำในระยะกลาง ยังถูกดดันจากการส่งสัญญาณการทำ Tapering QE ของเฟด หลังจากที่สัปดาห์นี้เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด
· นักวิเคราะห์จาก UBS คาดว่า จะมีเม็ดเงินไหลออกจากกองทุน ETFs และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของทองคำ และยังคาดการณ์ราคาทองคำอาจจะปรับตัวลดลงมาสู่ระดับ 1,600 เหรียญในช่วงกลางปี 2022
· ด้านกองทุน SPDR เมื่อวานนี้ลดการถือครองทองคำลงสู่ระดับต่ำาุดนนบัตั้งแต่เดือนเม.ย.ปี 2020 ที่แล้ว
· ราคาซิลเวอร์ +0.9% ที่ระดับ 22.68 เหรียญ ภาพรวมรายสัปดาห์ +1.2%
· ราคาพลาเดียม +1.1% ที่ระดับ 2,005.68 แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3
· ราคาแพลตินัม -0.7% ที่ระดับ 982.50 เหรียญ อย่างไรก็ดี ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับขึ้นประมาณ 4% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์
· ดอลลาร์อ่อนค่าลงไปใกล้ระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์
ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงไปใกล้ระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์เมื่อเทียบดับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ เนื่องจากความเชื่อมั่นด้านความเสี่ยงที่ดีขึ้น ท่ามกลางการคลายความกังวลเกี่ยวกับโอกาสผิดชำระหนี้ของกลุ่ม Evergrande ในประเทศจีน
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ระดับ 93.068 จุด หลังจากที่วันพฤหัสบดีร่วงลง 0.36% และแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.ที่ระดับ 92.977 จุด
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง 0.05% มาอยู่ที่ 110.385 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่แตะระดับ 110.435 เยน/ดอลลาร์ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่า 0.05% เป็น 1.1743 ดอลลาร์/ยูโร โดยฟื้นตัวต่อเนื่องจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 1.16835 ดอลลาร์/ยูโรเมื่อวานนี้
ขณะเดียวกัน ค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.07% ที่ 1.3734 ดอลลาร์/ปอนด์ ใกล้ระดับสูงสุดในช่วงก่อนหน้าที่ 1.3750 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ระดับ 1.4406%
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 30 ปี เพิ่มขึ้น 0.32% ที่ระดับ 1.9563%
· นักวิเคราะห์ของ JPMorgan กล่าวว่า นักลงทุนสถาบันกำลังหลีกเลี่ยงการซื้อขาย Bitcoin Future และมุ่งเป้าไปที่ Ethereum Futures แทน เนื่องจากความคาดหวังว่าสกุลเงินดิจิทัลเบอร์หนึ่งของโลกจะมีมูลค่าลดลง
· นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ระบุถึงความคืบหน้าของการทำงานของเฟดเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลกลาง (CBDC) “เรากำลังดำเนินการในเชิงรุกเพื่อประเมินว่าจะออก CBDC หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้น จะต้องดำเนินการในรูปแบบใด” พร้อมทั้งไม่คิดว่าสหรัฐฯ ล้าหลังชาติอื่นๆ
· ที่ปรึกษา CDC สหรัฐฯ มีมติแนะฉีดวัคซีน Pfizer เข็ม 3 สำหรับผู้สูงอายุ แต่ไม่หนุนฉีดกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และอาชีพเสี่ยงติดเชื้อ
CDC ของสหรัฐฯ มีมติแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นจาก Pfizer-BioNTech แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป พร้อมด้วยผู้พักอาศัยในสถานดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ รวมถึงประชาชนในกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการป่วยรุนแรง
· นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป กล่าวว่า ปัจจัยขับเคลื่อนหลายตัวของอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เป็นเพียงชั่วคราวและอัตราเงินเฟ้อน่าจะทรงตัวในปีหน้า
· ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าพลังงาน ค่าอาหาร และการปรับขึ้นภาษีส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอังกฤษลดลงอย่างมากในเดือนนี้ เนื่องจากผู้คนเริ่มผิดหวังเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น
· ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการขั้นต้นของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือนก.ย.
ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงินเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต-บริการเบื้องต้นของเยอรมนี อยู่ที่ระดับ 55.3 ในเดือนก.ย. ลดลงจากระดับ 60.0 ในเดือนส.ค. และทำสถิติต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
· นักวิเคราะห์ของ Nomura ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีจีนในปีนี้ เหลือ 7.7% จาก 8.2% โดยอ้างถึงผลกระทบของโรงงานต่างๆ ที่หยุดดำเนินการชั่วคราว ท่ามกลางปัญหาไฟฟ้าดับและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
· บริษัท China Evergrande ขยับเข้าใกล้ภาวะล้มละลายอีกก้าวหนึ่งในวันนี้ และยังไม่มีวี่แววว่าจะมีเงินสดในมือพอที่จะชำระดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดอีก 47.5 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 29 ก.ย.ที่จะถึงนี้อีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทเป็นหนี้มูลค่า 3.05 แสนล้านเหรียญ และนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการล้มละลายของบริษัทที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการเงินของจีนและทั่วโลก
· โพลล์สำรวจจาก Reuters แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตโรงงานของญี่ปุ่นเดือนส.ค.มีแนวโน้มลดลงอีกครั้ง เนื่องจากภาคการผลิตของประเทศเผชิญกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งได้รับแรงกดดันจากปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกและการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
ด้านยอดค้าปลีกเดือนส.ค.น่าจะปรับตัวลงเช่นกัน หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนก.ค. อ้างจากผลสำรวจ เน้นย้ำถึงความเปราะบางของการบริโภคภายในประเทศ
· รัฐมนตรีสาธารณสุขกล่าวว่า สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนาของญี่ปุ่นกำลังดีขึ้น โดยสถานการณ์ฉุกเฉินหลายพื้นที่ของประเทศสามารถยกเลิกได้ในเร็วๆนี้
· สำนักงานสถิติแห่งชาติมาเลเซีย (DOSM) เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ระบุว่า รายได้จากการท่องเที่ยวของมาเลเซียในปี 2563 ร่วงลง 71.2% เหลือเพียง 5.24 หมื่นล้านริงกิต (ประมาณ 1.251 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ฉุดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
· น้ำมันดิบขึ้น - กังวลด้านอุปทาน ขณะที่จีนขายน้ำมันดิบสำรองครั้งแรก
ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เนื่องจากความกังวลเรื่องอุปทานทั่วโลกหลังจากเกิดพายุรุนแรงในสหรัฐฯ บวกการขายน้ำมันดิบสำรองสู่สาธารณะครั้งแรกของจีนทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 12 เซนต์หรือ 0.2% ที่ระดัย 77.37 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนในวานนี้ และปิดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2018
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 6 เซนต์ หรือ 0.1% ที่ระดับ 73.36 เหรียญ/บาร์เรล หลังปิดบวกไป 1.5% จากช่วงก่อนหน้านี้ ทำสูงสุดตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.
· หุ้นเอเชียผันผวน กังวล China Evergrande
หุ้นออสเตรเลีย +0.4% ขณะที่ดัชนีฮ่องกงส่วนใหญ่ทรงตัว
ดัชนี Nikkei +2% ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นทั่วโลกหลังจากที่ตลาดปิดทำการในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา
หุ้นกลุ่ม Blue chips +0.3% หลังจากการอัดฉีดเงินสดจากธนาคารกลางมูลค่า 270 พันล้านหยวน (4.2 หมื่นล้านเหรียญ) ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หลังจากที่ร่วงลง 0.7% ในสัปดาห์นี้ ภาพรวมสัปดาห์นี้ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3
ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับประเด็นหนี้สินของบริษัท China Evergrande ซึ่งพลาดกำหนดชำระดอกเบี้ยเมื่อวานนี้และเข้าสู่ช่วงระยะเวลาผ่อนผัน 30 วัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าว Thestandard
- ‘พาณิชย์’ เผยส่งออกไทยเดือน ส.ค. ขยายตัว 8.93% มองภาพรวมทั้งปียังโตสองหลัก ชี้บาทอ่อนช่วยหนุนการแข่งขัน
การส่งออกไทยเดือนสิงหาคม 2564 ยังขยายตัวได้ 8.93% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกขยายตัวแล้ว 15.25% คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวมกว่า 5.4 ล้านล้านบาท
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- ศบค.ชุดเล็กชงคลายล็อกเพิ่ม 11 กิจการ ขยายเคอร์ฟิว 4 ทุ่ม ถึง ตี 4
ศบค.ชุดเล็ก ชง ศบค.ชุดใหญ่ ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 2 เดือนขยายเวลาเคอร์ฟิวเป็น 4 ทุ่ม ถึง ตี 4 คลายล็อกเพิ่มอีก 11 กิจการกิจกรรม ทั้งสปา โรงหนัง ติวเตอร์ ร้านอาหารเล่นดนตรี การแข่งขันกีฬา
- สุดารัตน์เดินสายการเมือง พบ “มิตต์ รอมนีย์” แห่ง “ริพับลิกัน” ช่วยสนับสนุนวัคซีน mRNA ให้ไทย
โดยได้หารือถึงความร่วมมือ ในด้านการค้า การลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ และในภูมิภาค โดยเฉพาะผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด ที่ประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อแสวงหาแนวทางที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน
- พาณิชย์เตรียมหารือยูเรเซีย เร่งหาแนวทางขยายความร่วมมือทางการค้า
“พาณิชย์” เตรียมประชุมทางไกลกับคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (EEC) 27 ก.ย.นี้ เร่งหาแนวทางขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน หวังเป็นแนวทางจัดทำ FTA ในอนาคต.
- เมื่อกระบวนการผลิต “ชิป” ทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล