· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวลงเล็กน้อย หลังได้รับแรงหนุนจากกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเร็วกว่าที่คาด ซึ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหลายเดือน
· ราคาทองคำตลาดโลก +0.3% ที่ระดับ 1,739.34 เหรียญ หลังขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อวานนี้
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. +0.2% ที่ระดับ 1,740.20 เหรียญ
· นักเศรษฐศาสตร์จาก OCBC Bank กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำเมื่อเร็วๆนี้เป็นเพียงการดีดตัวทางเทคนิค ขณะนี้มีมิศทางขาขึ้นเพียงเล็กน้อยสำหรับทองคำ โดยคาดว่าจะเห็นราคาทองคำอยู่ที่บริเวณ 1,500 เหรียญภายในสิ้นปี 2022 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ Tapering QE และเฟดต้องการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
· นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีหน้า
· นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจยังต้องใช้เวลาที่จะทำให้การจ้างงานสหรัฐฯกลับมาเติบโตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาขึ้นดอกเบี้ย
· นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสประจำ OANDA กล่าวว่า หลังจากที่ราคาทองคำปรับลงทะลุแนวรับที่ 1,740 เหรียญแล้ว ราคาทองคำอาจปรับลงทดสอบระดับ 1,700 เหรียญในสัปดาห์นี้
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ลดการถือครองทองคำลงสู่ระดับ 990.03 ตัน
นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ทองคำชะลอการปรับขึ้น ท่ามกลางสัญญาณอ่อนตัวของ MACD และ RSI ที่ยังตอกย้ำว่าทองคำมีโอกาสทดสอบแนวรับของกรอบ Descending ในภาพราย 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณ 1,727 เหรียญ
อย่างไรก็ดี เส้น RSI ก็ดูเหมือนจะพยายามทดสอบแนว Oversold ได้อีกครั้ง จึงดูจะช่วยจำกัดการปรับลงต่อของราคาได้
ทั้งนี้ หากทองคำปรับตัวลดลงทดสอบ 1,700 เหรียญ ก็อาจมีโกอาสกลับลงไปหาต่ำสุดของปีแนว 1,687 เหรียญได้
ขณะเดียวกัน หากราคาทองคำสามารถฟื้นตัวได้แถว 1,745 เหรียญ ก็มีโอกาสเห็นแรงซื้อกลับมาทดสอบแนวต้านของกรอบสามเหลี่ยม Descending บริเวณ 1,771 เหรียญ และอาจไปได้ถึงเส้น 1,782 และ 1,788 เหรียญ ที่จะกลายมาเป็นจุดท้าทายภาวะทองคำขาขึ้นอีกครั้ง
ท้ายที่สุดนี้ ทองคำยังคงมีแรงกดดัน "ขาลง" และอาจร่วงกลับไปทำต่ำสุดของปีนี้ได้อีกครั้ง
· ราคาซิลเวอร์ +0.1% ที่ระดับ 22.45 เหรียญ
· ราคาพลาเดียม +1.1% ที่ระดับ 1,896.86 เหรียญ
· ราคาแพลตินัม -0.2% ที่ระดับ 965.58 เหรียญ
· ประธานก.ล.ต.สหรัฐฯ ชี้คริปโทจบไม่สวยแน่! หากยังอยู่นอกกฎหมาย
ประธาน ก.ล.ต.สหรัฐฯ ออกมาระบุว่า คริปโทจะจบไม่สวยแน่ ถ้าหากยังอยู่นอกกฎหมาย ชี้ธุรกิจซื้อขายและกู้ยืมที่มีอยู่มากมายในโลกคริปโท อาจสร้างความเสียหายกับผู้ใช้ได้ ถ้าหากยังไม่ได้รับการกำกับดูแลอย่างถูกต้อง
· Pfizer ยื่นข้อมูลการใช้วัคซีน Covid-19 สำหรับเด็กอายุ 5 - 11 ปี ตามที่หน่วยงาน FDA สหรัฐฯร้องขอ
เพื่อให้เกิดการพิจารณาทบทวนข้อมูลโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงอาจเห็นการฉีดวัคซีนแก่เด็กช่วงสิ้นเดือนต.ค.
· Merck และ Pfizer กำลังพยายามพัฒนายาเม็ดสำหรับต้าน Covid-19
· อังกฤษยังเผชิญวิกฤตด้านพลังงาน - "จอห์นสัน" นายกฯอังกฤษ เผยแผนสำหรับห่วงโซ่อุปทาน
นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เปิดเผยรายละเอียดเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของสาธารณชน จากวิกฤตการปั๊มน้ำมันปิดตัวหลายแห่งทั่วเมืองใหญ่ โดยระบุว่า ทางรัฐบาลกำลังเตรียมการเพื่อรับรองว่า "ห่วงโซ่อุปทาน" ด้านพลังงานมีความพร้อมและเพียงพอสำหรับเทศกาลคริสต์มาส
และสถานการณ์ของปั๊มก๊าซกำลังดีขึ้น แม้ว่าในหลายๆภูมิภาคปั๊มน้ำมันหรือปั๊มแก๊สต่างๆยังคงปิดอยู่ และทำให้ผู้ใช้รถยนต์ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงในการตามหาแหล่งเติมน้ำมัน หรือการรอคิวเพื่อเติมเชื้อเพลิง
· ยอดนำเข้าของเยอรมนีพุ่งขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 40 ปีเมื่อเดือนที่แล้ว ที่ระดับ 16.5% ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 16.1% และเพิ่มขึ้นจาก 15.0% ในเดือนก.ค. โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันและก๊าซที่พุ่งสูงขึ้น และปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานสำหรับวัตถุดิบ ซึ่งชี้ว่าราคาผู้บริโภคจะสูงขึ้นอีก
· จีนหาวิธีบรรเทาความกังวลเรื่องวิกฤตอุปทานด้านพลังงาน โดยมีการวางแผนฝ่าวิกฤต
เพื่อสร้าง "ความมั่นใจ" ให้แก่ ประชาชนที่พักอาศัยและกลุ่มธุรกิจในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนถ่านหินอย่างใกล้ชิด
· เกาหลีเหนือเข้าร่วมทดสอบขีปนาวุธตัวใหม่ "Hypersonic" ในการทดสอบล่าสุด
การยิงขีปนาวุธดังกล่าวจากชายฝั่งทะเลตะวันออกมุ่งสู่ทะเลมีขึ้น หลังจากที่ กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ระบุว่า เกาหลีเหนือเรียกร้องให้สหรัฐฯและเกาหลีใต้ทำการยกเลิกการกระทำที่ *"สองมาตรฐาน"* สำหรับโครงการอาวุธที่มีการเริ่มต้นเจรจาทางการทูต
· รัฐบาลออสเตรเลียทำการปรับลดการสนับสนุนงบ Covid-19 ของประเทศ
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังไทย ย้ำต้องใช้นโยบาย "ผ่อนคลาย" ทางการเงินต่อไป เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
· สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนส.ค.64 อยู่ที่ระดับ 87.71 หดตัว -4.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนาของแรงงานในสถานประกอบการในเดือนส.ค.64 เริ่มส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวม