บรรดาธนาคารกลางมีการใช้นโยบายสนับสนุนทางการเงินฉบับพิเศษ เพื่อต่อสู้กับวิกฤตการระบาดของไวรัสมาตั้งแต่ปีที่แล้วและแผน ณ ขณะนี้ของธนาคารทั่วโลกคือเริ่มกลับมาสนใจความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึัน และจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายการเงินสู่สภาวะปกติ และทำให้รูปแบบการค้าเปลี่ยนแปลงไป
นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า ทั่วโลกยังต้องใช้เวลาอีกนานสำหรับการเปิดทำการทางเศรษฐกิจ และการปรับเศรษฐกิจสู่สภาวะช่วงหลังการระบาด แต่การกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะช่วงเงินเฟ้ออาจแตกต่างกันในกลุ่มประเทซพัฒนาแล้วทั่วโลก ขณะที่บททดสอบของสมาชิกเฟด คือ ความตระหนักต่อทิศทางเศรษฐกิจหลังจากนี้ และความสามารถในเรื่องเงินเฟ้อถึงเป้าหมาย 2% โดยปราศจากการเป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจโลก
4 ธนาคารยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ที่เข้าร่วม European Central Bank Forum ที่ดูเหมือนบรรดานักกลยุทธ์จะมองวิธีที่แต่ละแห่งจะก้าวออกจากนโยบาย
ทั้งนี้ เฟดและอีซีบีมีการประเมินถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แต่การใช้นโยบายที่แตกต่างกันของบรรดาธนาคารกลางรายใหญ่ก็อาจมีอิทธิพลต่อตลาดต่างๆทั่วโลก และการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเงินลงทุน
เฟด มีแนวโน้มจะปรับนโยบายสู่ภาวะปกติ หรือกลับมาขึ้นดอกเบี้ย ในขณะที่อีซีบีอาจไม่สามารถดำเนินการเช่นเดียวกันได้
นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี ระบุไว้ว่า ความท้าทายสำคัญ คือต้องมั่นใจว่าไม่ได้ตอบรับอย่างรุนแรงเกินไปกับปัญหาอุปทานชั่วคราวในตอนนี้ และเรายังคงต้องใส่ใจกับ “การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ” อย่างปลอดภัยในการออกจากนโยบายที่ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน มากกว่าจะให้น้ำหนักกับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น
ความเหมือนกันคือ อีซีบีและเฟด คือ มุมมองที่ผ่อนคลายในเรื่องเงินเฟ้อ แต่การหารือถึงประเด็นความเสี่ยงกลายมามีบทบาทสำคัญมากขึ้น รวมถึงการปรับคาดการณ์ในการประชุมสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเฟดเองยอมรับว่า เงินเฟ้ออาจปรับขึ้นร้อนแรงได้มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
ขณะที่ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่แถลงการณ์ต่อสภาคองเกรส เกี่ยวกับ “ความยากลำบากของประเด็นคอขวดและการจ้างงาน รวมถึงปัจจัยต่างๆ” จึงทำให้เฟด มีการปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ระดับ 4.2% และอาจเห็นการปรับเพิ่มขึ้นได้อีก
เกิดวิกฤตด้านค่าครองชีพ?
ประชุมเฟดสัปดาห์ที่ผ่านมา
- สะท้อนถึงการเข้าใกล้ถอนนโยบายซื้อพันธบัตร ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ มี.ค. ปี 2020
- สมาชิกเฟดกว่าครึ่ง มีความเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า
ประชุมบีโออี
- ประเด็นสำคัญคือโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยที่ไม่น่าเกิดขึ้นช้ากว่าก.พ. ปีหน้า
- มองเงินเฟ้อรายปี เพิ่มแตะ 4%
ประชุมบีโอเจ
- เงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือนส.ค. ยังทรงตัว และบ่งชี้ถึงประเทศที่ต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้ออ่อนตัวเป็นเวลานาน
- บีโอเจ จึงตัดสินใจคงแนวทางการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป
ที่มา: Reuters