· หุ้นเอเชียชะลอการปรับตก หลังดิ่งแรงสัปดาห์นี้ แต่ดอลลาร์แข็งยังเป็นอุปสรรคตลาด!
ตลาดหุ้นเอเชียลดแรงสูญเสีย หลังสัปดาห์นี้ร่วงหนัก และภาพรวมไตรมาสที่ 3 นี้จะเป็นการเคลื่อนไหวที่เลวร้ายที่สุดของภาพรายไตรมาสนับตั้งแต่ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสระบาด
ขณะที่การแข็งค่าของดอลลาร์ที่เข้าใกล้สูงสุดรอบ 1 ปี เป็นผลจากความต้องการดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven และโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นปิด +0.33%
ภาพรวมเดือนนี้ปรับลงแรงราว -4.4%
ขณะที่ไตรมาสที่ 3/2021 นี้เคลื่อนไหวแดนลบกว่า -9.3%
· หุ้นฮ่องกงร่วงเกือบ 1% จากข้อมูลกิจกรรมโรงงานจีนหดตัวเกินคาดในเดือนก.ย.แตะ 49.6 จุด
ดัชนี HSI ปิด -0.86%
หุ้นจีนมีการเคลื่อนไหวแดนบวก นำโดย
ดัชนี Shanghai composite ปิด +0.37%
ดัชนี Shenzhen component ปิด +1.422%. Hong Kong’s
ทั้งนี้ ผลสำรวจกิจกรรมการผลิตจีนเดือนก.ย. ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตด้านพลังงาน
ขณะที่ตลาดฮ่องกงได้รับผลกระทบจากหุ้นบริษัท China Evergrande ที่ร่วงลงไปกว่า 4% หลังมีรายงานการผิดนัดชำระหนี้สัปดาห์นี้
· หุ้นบริษัท China Evergrande แกว่ง ท่ามกลางกลุ่มผู้ถือหุ้นกู้รอแถลงการณ์เรื่องการชำระเงิน
· ดัชนี Nikkei ปิดลบต่อเนื่อง 4 วันทำการ - แต่ภาพรวมตลาดเดือนนี้ปิดดีสุดรอบ 10 เดือน
ดัชนี Nikkei ยังปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 วันทำการ แต่ภาพรวมเดือนก.ย. เคลื่อนไหวดีสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. ปี 22020 จากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน ประกอบกับสถานการณ์ที่ย่ำแย่เรื่องการขาดแคลนพลังงาน
ดัชนี Nikkei ปิด -0.31% ที่ 29,452.66 จุด แต่ปิดเดือนก.ย. +4.85%
ดัชนี Topix ปิด -0.4% ที่ 2,030.16 จุด
แต่ปิดเดือนก.ย. ดีที่สุดตั้งแต่มี.ค. +3.54%
· หุ้นยุโรปเปิดบวกต่อ แม้หุ้นเอเชียจะเคลื่อนไหวแกว่งตัวลงบางส่วน
ดัชนี Stoxx600 เปิด +0.8%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเปิด +1.5% จึงช่วยหนุนหุ้นกลุ่มอื่นเคลื่อนตัวแดนบวก
นอกจากนี้ การเริ่มต้นอย่างแข็งของตลาดยุโรป เกิดขึ้นแม้จะเห็นหุ้นเอเชียแปซิฟิกเคลื่อนไหวผสมผสาน ประกอบกับนักลงทุนมีการตอบรับกับข้อมูลกิจกรรมการผลิตจีนเดือนก.ย. ก็ตาม
· Dow Futures ปรับขึ้นไปกว่า 200 จุด หลังจากที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีฟื้นตัว - นักลงทุนรับข่าวเฟดกับโอกาสขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนี Dow Jones Futures ปรับขึ้นกว่า 245 จุด
ดัชนี S&P500 ขยับขึ้นต่อ เช่นเดียวกับดัชนี Nasdaq 100 Futures
สำหรับเมื่อคืนวานนี้ ดัชนี S&P 500 และ Dow Jones ปิดแดนบวก แต่ Nasdaq ปิดลบจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เคลื่อนไหวขาลงอีกครั้ง ตามความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี
ดัชนี Dow Jones ปิดตลาดเมื่อวานนี้ -90.73 จุด หรือ -0.26% ที่ 34,390.72 จุด
ดัชนี S&P 500 ปิด +0.16% ที่ระดับ 4,359.46 จุด
ดัชนี Nasdaq Composite ปิด -0.24% ที่ระดับ 14,512.44 จุด
สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อคืนวานมีการแกว่งตัวหลุด 1.5% ก่อนจะรีบาวน์กลับมาเหนือ 1.54% ในช่วงค่ำ และทำสูงสุดของวันได้ที่ 1.56%
· อ้างอิงจากสำนักประชาติธุรกิจ
- หุ้นไทยวันนี้ (30 ก.ย.) ปิดตลาดภาคเช้า-3 จุด ซื้อขาย 4.6 หมื่นล้าน
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (30 ก.ย.) ดัชนี SET Index ปิดตลาดภาคเช้า อยู่ที่ระดับ 1,613.34 จุด ปรับลง -3.64 จุด หรือคิดเป็น -0.23% มีมูลค่าซื้อขายรวมทั้งสิ้น 46,078 ล้านบาท อยู่ในกรอบ 1,607.06-1,621.15 จุด โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด ได้แก่ GUNKUL KBANK และ UBE
ดัชนี SET50 ปรับลง -3.9 จุด หรือคิดเป็น -0.4% อยู่ที่ 967.95 จุด โดยมูลค่าซื้อขายรวม อยู่ที่ 22,495 ล้านบาท คิดเป็นราว 48.82% ของมูลค่าซื้อ-ขายในตลาด SET
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- รมว.คลัง ย้ำความจำเป็นขยายเพดานหนี้สาธารณะสร้างความยืดหยุ่นดูแลศก.หลังโควิด
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีการขยายเพดานหนี้สาธารณะของประเทศไทย เพิ่มเป็น 70% ต่อจีดีพี จากเดิมที่ 60% ต่อจีดีพี ว่า ปี 2563-2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างมาก เงินงบประมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอเพื่อใช้ดูแลช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูประชาชนและภาคเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องกู้เงิน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน 2 ปี รวมกันที่ 1.5 ล้านล้านบาท และมีการประเมินว่าการกู้เงินดังกล่าวจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะ เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว
โดยมีการประเมินว่า ณ สิ้น ก.ย.64 สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทย จะอยู่ที่ 58.96% ขณะที่ สิ้น ก.ย.65 สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทย จะอยู่ที่ 62.69% ซึ่งยังอยู่ภายใต้เพดานหนี้สาธารณะที่มีการปรับเพิ่มขึ้น โดยเพดานหนี้สาธารณะของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้น ก็ยังต่ำกว่าหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ การกู้เงินของรัฐบาลไม่เพียงใช้เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่านั้น ยังมีการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนซึ่งจะช่วยต่อยอดและพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวอีกด้วย
· อ้างอิงจากสำนักข่าว Thestandard
- กทม. คลายล็อกกิจการ-ทำกิจกรรมได้เพิ่ม เปิดโรงหนัง-ฟิตเนส-ให้เล่นดนตรีสด ยังห้ามดื่มเหล้าที่ร้าน เริ่ม 1 ต.ค.
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 28/2564 มีมติเห็นชอบประกาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 43) เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่จำนวนผู้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จึงสามารถปรับมาตรการโดยผ่อนคลายความเข้มงวดบางกรณีให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดมาตรการควบคุมเท่าที่จำเป็นตามระดับพื้นที่ของสถานการณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีมติเห็นชอบให้ผ่อนปรนกิจการในพื้นที่ กทม. ตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ดังนี้