· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงต่อวันนี้จากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯสร้าง Surprise ตลาด!
ราคาน้ำมันดิบยังปรับตัวลดลงต่อ จากการเพิ่มขึ้นเกินคาดของรายงานสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯ
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 11 เซนต์ บริเวณ 78.53 เหรียญ/บาร์เรล หลังวานนี้ปิด -0.6%
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ขยับลงไป 5 เซนต์ แถว 74.78 เหรียญ/บาร์เรล หลังวานนี้ปิด -0.6%
EIA เผยข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯพุ่งขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้วแตะ 4.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 418.5 ล้านบาร์เรล
อย่างไรก็ดี สัญญาน้ำมันดิบทั้งสองชนิด ยังมีลุ้นไปแตะแนวต้านต่อไปได้อยู่ หลังจาก Brent มีการขยับขึ้นทดสอบ 80 เหรียญ/บาร์เรล ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี
นักวิเคราะห์จาก Stone X เองก็มองว่า ราคาน้ำมันดิบแถว 80 เหรียญ ไม่ถือว่าเป็นจุดสูงสุดแล้ว
· TD Securities คาด น้ำมันดิบ WTI มีลุ้นแตะ 80 เหรียญ จากวิกฤตอุปทานพลังงาน
ความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์จาก TD Securities ระบุว่า ภาวะวิกฤตอุปทานพลังงานในแถบเอเชียและยุโรปดูจะเป็น "ปัจจัยสนับสนุนอย่างมาก" สำหรับราคาน้ำมัน จึงทำให้เราเห็น WTI มาซื้อขายแถว 75 เหรียญ/บาร์เรล และมีลุ้นไปแตะ 80 เหรียญ/บาร์เรล ในเดือนหน้า
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า
- ปัญหาดังกล่าวในเอเชียและยุโรป ดูจะสร้างความท้าทายอย่างมาก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว
- ข้อเท็จเป็นจริงที่ว่า "อุปทานน้ำมันในสหรัฐฯ" ก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
- OPEC+ อาจเผชิญกับความยากลำบากในการตัดสินใจปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรักษาสมดุลของตลาด
ดังนั้น ทั้งหมดนี้ อาจยังช่วยสนับสนุนตลาดน้ำมันต่อใน Q4/2021 จึงอาจเห็นราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นไปแถว 80 เหรียญ/บาร์เรล และค่อนข้างมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ท่ามกลางราคาพลังงานทั่วโลกที่ยังปรับตัวสูงขึ้น
· Morgan Stanley ชี้ ราคาน้ำมันดิบ 80 เหรียญ อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อ "อุปสงค์น้ำมัน" ได้
ขณะที่ภาพรวมตลาดน้ำมันเวลานี้ดูจะสดใสในทิศทาง "ขาขึ้น"
ราคาน้ำมันดิบ Brent กลับมายืนได้เหนือ 80 เหรียญ/บาร์เรลได้ ก่อนจะอ่อนตัวลงกลับมาแถว 78.47 เหรียญ/บาร์เรลเมื่อวานนี้ ขณะที่น้ำมันดิบ WTI เวลาเดียวกันสามารถซื้อขายได้แถว 74.73 เหรียญ/บาร์เรล
ด้านสภาพอากาศหนาวและวิกฤตก๊าซในยุโรป ทำให้ภาพรวมของ "แนวโน้มอุปสงค์" ดูจะสดใส แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญบางราย กล่าวเตือนว่า ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นก็อาจจะทำลายอุปสงค์น้ำมันได้เช่นกัน
Reference: Reuters, CNBC