ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวในทิศทางอ่อนค่ามากสุดรอบกว่า 4 ปี ท่ามกลาง "เดือนก.ย." ที่เคลื่อนไหวย่ำแย่สุดนับตั้งแต่ ก.ค. ปี 2000 ขณะที่ดอลลาร์ยังแข็งค่าจากกระแสเฟดทำ Tapering QE และตลาดกังวลว่าจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปี 2022
ทางด้านสมาชิกเฟดกล่าวหนุนการทำ Tapering QE ในการประชุมเดือนพ.ย. นี้
ค่าเงินบาท เรียกได้ว่า อ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย สำหรับปี 2021 ณ ปัจจุบัน โดยอ่อนค่าแล้ว 11% อ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ก.ค. ปี 2017
ค่าเงินในแถบเอเชียเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่มี.ค. ปี 2020 ท่ามกลางประเทศเกิดใหม่ในแถบเอเชีย และเกาหลีใต้ ที่อ่อนค่านำค่าเงินอื่นในภูมิภาคสำหรับเดือนก.ย. มากถึง 0.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวานนี้ยังตัดสินใจคงดอกเบี้ย และส่งสัญญาณจะไม่ปรับลดเพิ่ม แม้จะเผชิญกับอุปสรรคในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ระบาดช่วงต้นปีนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมองว่าปัจจัยดังกล่าวเป็นหนึ่งในส่วนที่ทำให้บาทอ่อนค่า
นักวิเคราะห์จาก DBS ระบุว่า คาดการณ์ของตลาดมองว่าธปท. จะทำการปรับลดดอกเบี้ย จึงดูเหมือนจะผิดจากที่ตลาดคาดหวังและทำให้บาทอ่อนค่าอีกครั้ง สำหรับระยะยาว เงินบาทอาจปรับขึ้นได้ค่อนข้างรวดเร็ว จากโอกาสที่การฟื้นตัวของไทยจะอ่อนแอ ท่ามกลางโครงการกู้ซื้อพันธบัตรจำนวนมหาศาลในปีงบประมาณ 2022 จึงน่าจะยังกดดันบาทให้อ่อนค่าต่อ
ทั้งนี้ ประธานธปท. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยัง "เปราะบาง" และยังมีเม็ดเงินทุนจำกัด จากสถานการณ์ Covid-19 ระบาด
· หยวนรีบาวน์จากอ่อนค่ามากสุดรอบ 1 เดือน แต่ปิดเดือนในทิศทางอ่อนค่า
· ดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อ - ขณะที่ประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯดูจะคุกคามให้รัฐบาลจ่อเผชิญ Shutdown
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 94.327 จุดหลังไปทำแข็งค่ามากสุดที่ระดับ 94.435 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงปลาย ก.ย. ปีที่แล้ว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ทรงตัวที่ 1.5341% หลังวันอังคารทำสูงสุดตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย. บริเวณ 1.5670%.
เยนอ่อนค่าต่อไปที่ 111.97 เยน/ดอลลาร์ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากระดับที่เคลื่อนไหวเมื่อวานนี้มากนัก แต่การขึ้นไปถึง 112.05 เยน/ดอลลาร์ ถือเป็นการอ่อนค่ามากสุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 และปิดเดือนก.ย. ในทิศทางที่อ่อนค่ามากสุดตั้งแต่มี.ค.
ยูโรค่อนข้างทรงตัวบริเวณ 1.15995 ดอลลาร์/ยูโร ทรงตัวใกล้ต่ำสุดรอบ 14 เดือนที่ 1.15895 ดอลลาร์/ยูโร
ปอนด์แข็งค่า 0.1% ที่ 1.34357 ดอลลาร์/ปอนด์ แต่ยังคงเคลื่อนไหวใกล้ต่ำสุดรอบ 9 เดือน ที่ 1.3412 ดอลลาร์/ปอนด์ จากความกังวลเรื่อง การเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซธรรมชาติ และการขาดแคลนน้ำมันปิโตรเลียมในอังกฤษ
Bitcoin ปรับขึ้น 5% มาแถว 43,567 เหรียญ
Ether ปรับขึ้น 6.4% มาที่ 3,034.09 เหรียญ
โดยค่าเงินกลุ่ม Cryptocurrency ทั้ง 2 ดูจะมีการปรับตัวลดลงไปราว 20% - 27% จากสูงสุดที่ทำไว้ในเดือน ก.ย. นี้
ที่มา: Reuters