• ภาคการผลิตภูมิภาคเอเชียซบเซา ท่ามกลางการชะลอตัวของจีน-ปัญหาอุปทาน

    1 ตุลาคม 2564 | Economic News

ภาคการผลิตภูมิภาคเอเชียซบเซา ท่ามกลางการชะลอตัวของจีน-ปัญหาอุปทาน

 

Reuters รายงานถึงผลสำรวจกิจกรรมการผลิตในแถบเอเชียประจำเดือนก.ย. ค่อนข้างซบเซา โดยได้รับผลกระทบจาก

การระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้ "โรงงานปิดทำการ"

สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน "กระทบเศรษฐกิจภูมิภาค"

 

หลายๆประเทศเองกำลังเผชิญการระบาดครั้งใหญ่จากสายพันธ์ุ Delta จึงส่งผลให้ การฟื้นตัวของกิจกรรมการผลิตนั้นอ่อนตัว อาทิ อินโดนีเซีย และอินเดีย

 

แต่กิจกรรมการผลิตที่ "หดตัว" ในแถบจังหวัดมาเลเซีย และเวียดนาม รวมทั้งกิจกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่ชะลอตัวลดลงมากสุดในรอบ 7 เดือน ท่ามกลาง การขาดแคลนชิป และอุปสรรคทางด้านอุปทานที่กำลังสร้างอุปสรรคเพิ่มในภูมิภาคที่ชะลอตัว เพราะได้รับผลกระทบจาก Covid-19

 

ขณะที่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนรอบใหม่ กำลังสะเทือนการเติบโตในระดับภูมิภาค หลังจากที่ข้อมูล PMI ภาคการผลิตของภาครัฐ สะท้อนถึงภาวะ "หดตัว" เกินคาดหมายในเดือนก.ย.

 

Caixin/Markit เผย ดัชนี PMI ภาคผลิตออกมาดีขึ้นกว่าคาดเล็กน้อย หลังจากปรับลงในเดือนส.ค. ท่ามกลางสัญญาณอ่อนตัวที่เพิ่มมากขึ้นของจีน ที่ดูจะกระทบกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย

 

ข้อมูล PMI จาก Jibun Bank Japan ในส่วนภาคการผลิตร่วงลงแตะ 51.5 จุดในเดือนก.ย. จึงถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ก.พ. โดยได้รับแรงกดดันจากมาตรการสกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาและอุปสรรคจากห่วงโซ่อุปทาน ควบคู่กับการขาดแคลนวัตถุดิบและการจัดส่งที่ล่าช้า

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตเกาหลีใต้  ปรับขึ้นแตะ 52.4 จุด ขยายตัวได้จากคำสั่งซื้อภาคการผลิตและสินค้าใหม่

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.ย. อ่อนตัวแตะ 54.7 จุด จาก 58.5 จุดในเดือนส.ค.

ดัชนี PMI ของประเทศเวียดนามจากเดือนส.ค. ที่ 40.2 จุด ซึ่งการร่วงลงต่ำกว่า 50 จุด ถือเป็นสัญญาณหดตัว

 

ดัชนี PMI การผลิตประเทศอินโดนีเซียปรับขึ้นแตะ 52.2 จุด จาก 43.7 จุด เดือนก.ย.

 

ดัชนี PMI ภาคผลิตอินเดียปรับขึ้นมาแถว 53.7 จุดในเดือนก.ย. จาก 52.3 จุด เดือนก่อนหน้า

 

อย่างไรก็ดี "ภาคการผลิต" ถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ขณะที่เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคในแถบเอเชียดูจะฟื้นตัวได้ชะงักงัน อันเนื่องจากการเลื่อนการฉีดวัคซีน และการเพิ่มขึ้น Delta Covid-19 จึงกระทบภาคการอุปโภคบริโภคและการผลิตต่างๆ

 

ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com