ราคาทองคำปรับขึ้น หลัง U.S.10 Yield ปิดร่วง – ตลาดรอ NFP
ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.1% ที่ 1,760.78 เหรียญ ฟื้นกลับหลังทำต่ำสุดบริเวณ 1,744.84 เหรียญ
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.1% ที่ 1,761.8 เหรียญ
· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในกรอบแคบโดยตลาดให้ความสนใจกับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับตัวลดลงจากสูงสุดรอบ 3 เดือนวานนี้ที่ระดับ 1.573% สู่ระดับ 1.5206% อันเนื่องจากโอกาสที่สหรัฐฯจะสามารถขยายเพดานหนี้ได้
แต่การฟื้นตัวของราคาพลังงาน ที่มีโอกาสหนุนเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการขึ้นดอกเบี้ย และการแข็งค่าของดอลลาร์ ก็เป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้ราคาทองคำขยับขึ้นได้ไม่มากนัก
· นอกจากนี้ ADP ยังเผย การจ้างงานนอกภาคเอกชนสหรัฐฯเดือนก.ย. ปรับตัวสูงขึ้น จากยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่ลดลง
ข้อมูลล่าสุดออกมาดีขึ้นเกินคาดอย่างมากสู่ระดับ 568,000 ตำแหน่ง ขณะที่เดือนก่อนหน้าถูกปรับทบทวนขึ้นมาที่ 340,000 ตำแหน่ง
· หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดจาก Bank of China International กล่าวว่า หากข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ “ไม่ผิดไปจากที่ตลาดคาดการณ์” ก็ดูจะสนับสนุนมุมมองสมาชิกเฟดที่พร้อมสำหรับการทำ Tapering QE และนี่จะกลายมาเป็นปัจจัย “กดดันราคาทองคำ”
· นักวิเคราะห์จาก TD Securities กล่าวว่า สภาพคล่องในกองทุน ETF สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในตลาดที่ลดน้อยลง ส่งผลกระทบไปทั่วตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป
· ราคาซิลเวอร์ปิด -0.6% ที่ระดับ 22.52 เหรียญ
· พลาเดียมปิด -1.8% ที่ 1,879.42 เหรียญ
· แพลทินัมปิด +1.9% ที่ 980.50 เหรียญ
· Bitcoin พุ่งขึ้นทำสูงสุดรอบ 5 เดือน ทะยานเหนือ 55,000 เหรียญได้เมื่อวานนี้
· ส.ว.สหรัฐฯมีสัญญาณ ประนีประนอมเพดานหนี้ชั่วคราวร่วมกันได้ และน่าจะช่วยให้หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในอีก 2 สัปดาห์
· “มิทช์ แมคคอนแนล” ผู้นำเสียงข้างน้อยของวุฒิสภาสหรัฐฯ เสนอให้มีการขยายเพดานหนี้ระยะสั้น หลังเผชิญแรงกดดันจาก “ไบเดน”
· “ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตำหนิ “รีพับลิกัน” เป็น “ภัยอันตราย” ณ ที่ประชุมบรรดาผู้นำธุรกิจและธนาคาร หลังเผชิญปัญหาการเพิ่มเพดานหนี้
· “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ชี้ “วิกฤตหนี้การจำกัดหนี้สหรัฐฯ” ต้องได้รับการแก้ไขเดี๋ยวนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤตทางการเงิน ท่ามกลางสภาพคล่องด้านเงินสดของกระทรวงการคลังที่มีจำกัด จะหมดลงอย่างรวดเร็วหลัง 18 ต.ค.นี้
· “เยลเลน” กล่าวกับ รัฐมนตรีกระทวงการคลังของประเทศเอสโทเนีย โดยระบุว่า วข้อตกลงภาษีถือเป็นเรื่อง “สำคัญที่สุด” ที่จำเป็นต้องบรรลุข้อตกลงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีโลก
นอกจากนี้ ยังเป็นการรับประกันว่า บริษัทต่าๆงจะมีการจ่ายภาษีในสัดส่วนที่ยุติธรรม
ทั้งนี้ เอสโทเนีย คัดค้านการหารือประเด็นอัตราภาษีบริษัทขั้นต่ำ 15% ทั่วโลก และแสดงความเห็นต่างว่าภาษีดังกล่าวควรได้รับการยกเว้นจากระบบ
· “ไบเดน - สี” มีแผนจะประชุมร่วมกันก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อฝ่ายบรรลุข้อตกลงหลัก อันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการด้านการแข่งขันระหว่าง 2 ประเทศ
อย่างไรก็ดี การหารือดังกล่าวนั้น ยังไม่ถูกกำหนดว่าจะจัดขึ้น ณ การประชุมร่วมกัน หรือเป็นการประชุมแบบกลุ่ม โดยจะเห็นได้ว่า G20, COP26 และ APC ก็มีกำหนดการจะจัดประชุมในเร็วๆนี้
ขณะที่รายละเอียดอื่นๆ อาจจะสามารถเปิดเผยได้ภายในอีกไม่กี่วันนี้
· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไต้หวัน ระบุว่า ความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ “แข็งแกร่ง” หลัง “ไบเดน - สี” มีการตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน หรือ “Taiwan Agreement”
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ดูจะให้ความมั่นใจแก่ไต้หวันเพิ่มขึ้นว่า แนวทางต่อกรณีเกาะไต้หวันยัง “ไม่เปลี่ยนแปลง”
· CNBC เผยมุมมอง นักวิเคราะห์ที่ปรึกษาความเสี่ยงจาก Eurasia Group ชี้ กิจกรรมทางการทหารของจีนบริเวณหมู่เกาะไต้หวัน ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนถึง การต่อต้านความสัมพันธ์เชิงลึกของสหรัฐฯ-ไต้หวัน
ทั้งนี้ ตลอด 4 วันทำการที่ผ่านมา จีนมีการส่งกองทัพอากาศติดอาวุธมุ่งสู่น่านฟ้าของไต้หวันทั้งทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 148 ลำ
· รัฐสภาอินโดนีเซีย จะทำการลงมติยกเครื่องกฎหมายภาษีหลัก
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 432,000 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมล่าสุดทะลุ 237 ล้านราย ด้านยอดเสียชีวิตสะสมขยับมาที่ 4.83 ล้านราย
สหรัฐฯกลับมามีผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 101,986 ราย ส่งผลให้ยอดสะสมของประเทศล่าสุดแตะ 44.90 ล้านราย แต่ยอดเสียชีวิตใหม่ยังอยู่ในระดับต่ำ 2,010 ราย รวมสะสมราว 727,191 ราย
· ยอดติดเชื้อไทยวันนี้พบเพิ่มขึ้น 11,200 ราย เสียชีวิตใหม่ล่าสุดเพิ่ม 113 ราย
รวมไทยมียอดติดเชื้อสะสม 1.67 ล้านราย เสียชีวิตสะสมรวม 17,418 ราย
· สถานการณ์เงินบาทอ่อนยวบใกล้ 34 บาท/ดอลลาร์
ภาพรวมเงินบาทยังอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก หลังนักลงทุนหันกลับมาถือครองค่าเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น จึงกดดันให้ค่าเงินสกุลอื่นอ่อนค่าลง มองกรอบเงินบาทวันนี้ที่ 33.75 – 34.20 บาท/ดอลลาร์ หลังสัปดาห์ที่แล้วทดสอบ 34 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ามากสุดรอบกว่า 4 ปี จากแรงซื้อดอลลาร์หนาแน่น
ปัจจัยที่ตลาดให้ความสำคัญ คือ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ หากตัวเลขออกมาดี มีโอกาสเห็น “บาททะลุ 34 บาท/ดอลลาร์” ได้
ปัจจัยภายในประเทศ
- เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ การลงทุนโครงการต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญมาก
- ล่าสุด ครม.อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ย้ำ “แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ไม่ใช่การขอกรอบวงเงินกู้เพิ่มเติม”
- คาดการณ์หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 ภายใต้แผนบริหารหนี้สาธารณะนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ 62.69 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 70 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะกรอบใหม่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
- S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
- สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางเศรษฐกิจไทยก็ต้องได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้น เครื่องยนต์เศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศยังจำเป็น
· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
- หอการค้าไทย-จีน กังวลโควิด การเมือง ฉุดเศรษฐกิจทั้งปีติดลบ 1%
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ล่าสุด ไตรมาส 4 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทย ปีนี้ 2564 ติดลบ 1% จากปัจจัยแนวโน้มเงินบาทจะยังคงอ่อนค่าลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หนี้สะสมของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน และเสถียรภาพทางด้านการเมืองไทย ยังต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมจับตาวิกฤตพลังงานของจีน ส่งผลต่อการชะลอกำลังการผลิตและชะลอการนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์การผลิต