• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2564

    7 ตุลาคม 2564 | Gold News



ทองคำปรับตัวลงหลังจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาดีหนุน U.S. 10 Yield

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.3% ที่ 1,757.3 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.2ที่ 1,759.2 เหรียญ  

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิดปรับตัวลดลง เพราะได้รับแรงกดดันหลักจาก



1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาดีขึ้นเกินคา ปรับตัวลงมากสุดรอบ 3 สัปดาห์สะท้อนตลาดแรงงานแกร่ง



จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วปรับลงมาที่ 326,000 ราย หรือลดลงราว 38,000 รายเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน



จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องลดลงไม่น้อยกว่าช่วง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ที่แล้วปรับลง 97,000 ราย ที่ระดับ 2.71 ล้านราย

2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้น แม้ตลาดคลายกังวลเรื่องเพดานหนี้ และตลาดรับข้อมูลแรงงานล่าสุด ปิด +0.047% ที่ระดับ +1.5712%

3. ดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวรอจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ แต่ยังซื้อขายเหนือ 94 จุด ปิดตลาด 94.199 จุด

4. หุ้นสหรัฐฯปิดบวก นำโดยดาวโจนส์ปิดบวกกว่า 300 จุด ท่ามกลางนักลงทุนขานรับการแก้ไขปัญหาเพดานหนี้ระยะสั้น

5. เฟดอาจดำเนินการปรับนโยบายสู่ภาวะปกติเร็วกว่าคาด


·         นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco ระบุว่า รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานดูจะช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับขึ้น ประกอบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัว ถือเป็นปัจจัยสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ

นอกจากนี้ ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ดูจะมีแนวโน้มขยายเพดานหนี้ออกไปชั่วคราวได้จนถึง ธ.ค. จึงช่วยบรรเทาแรงกดดันตลาด ส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นแต่เป็นปัจัยลบต่อราคาทองคำ


·         นักวิเคราะห์จาก Julius Baer กล่าวว่า จำนวนการเปิดรับสมัครงานที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในสหรัฐฯ อาจทำให้เราเห็นจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯเซอร์ไพร์สตลาดด้วยการปรับขึ้น จึงอาจทำให้เราเห็นการปรับพอร์ตในตลาดทอง โดยปราศจากแรงเทขายอย่างหนักได้

 

·         ซิลเวอร์ปิดทรงตัวบริเวณ 22.59 เหรียญ

·         แพลทินัมปิด-0.2% ที่ 982.37 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด +3.7% ถือเป็นอัตราการปรับขึ้นรายวันที่มากสุดตั้งแต่ 22 ก.ย. ที่ระดับ 1,958.61 เหรียญ

 

·         Reuters ระบุว่า เฟดมีแนวโน้มจะทำการเริ่มต้นลดการเข้าซื้อพันธบัตร (QE) เร็วสุดน่าจะเกิดขึ้นช่วงเดือนพ.ย. และอาจเห็นการขึ้นดอกเบี้ยตามมา ซึ่งตลาดก็ดูจะสนใจกับข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯคืนนี้ โดยผลสำรวจ Reuters Poll คาดอาจเห็นจ้างงานเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นมาแถว 455,000 ตำแหน่ง

 

·         “ลอเร็ตตา เมสเตอร์” ประธานเฟดสาขาเคฟแลนด์ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ที่โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 จึงอาจเห็นการบรรเทาเมื่อเวลาผ่านไป

 

·         บรรดาส.ว.สหรัฐฯ เผย กลุ่มผู้นำวุฒิสภาเห็นพ้องขยายเพดานหนี้เพิ่ม 4.8 แสนล้านเหรียญ ไปจนถึง 3 ธ.ค.

 

·         ล่าสุด ส.ว. สหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายเพดานหนี้ระยะสั้น และสภาผู้แทนราษฎรจะทำการลงมติต่อ

นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คาดหวังว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะลงมติภายในอีกไม่กี่วัน

 

·         ข้อตกลงภาษีบริษัทขั้นต่ำ 15ทั่วโลกเข้าใกล้บรรลุข้อตกลงมากขึ้น หลังไอร์แลนด์ตกลงจะร่วมลงนามข้อตกลงดังกล่าว

 

·         สมาชิกอีซีบีเห็นต่างเรื่องประเด็นเงินเฟ้อ

สมาชิกอีซีบีบางส่วนกล่าวย้ำถึงการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่น่าจะเห็นการปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเห็นสถานการณ์เงินเฟ้อบรรเทาลงในปีหน้าอันเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์ Covid-19 ที่ผ่อนคลายลง

ขณะที่เจ้าหน้าที่อีซีบีบางรายที่เข้าร่วมรือประเด็นเศรษฐกิจในการประชุมบอร์ดบริหารอีซีบี แสดงความเชื่อมั่นว่า แนวโน้มเงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างถาวร

 

·         CEO จาก Soros Fund Management ยืนยันว่า “จอร์จ ซอรอส” มีการเข้าซื้อ Bitcoin

 

·         อังกฤษจะเริ่มทำข้อตกลงการค้าใหม่กับกลุ่มประเทศบริเวรอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ (GCC) โดยมีการสำรวจความเห็นภาคธรุกิจว่าต้องการให้เกิดความครอบคลุมในประเด็นใดบ้าง

 

·         แหล่งข่าวเผย กองทัพสหรัฐฯ เคลื่อนพลเข้าร่วมฝึกซ้อมรบกับกองทัพไต้หวันเป็นการชั่วคราว

 

·         COVID-19 UPDATES:

 


ยอดติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นสูงกว่า 450,000 ราย นำโดยเอเชียที่ยังเพิ่มขึ้นมากสุดเกือบ 130,000 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกสูงกว่า 237.51 ล้านราย และเสียชีวิตสะสม 4.84 ล้าน

 

·         ไบเดนเรียกร้องภาคธุรกิจร่วมเรียกร้องการฉีดวัคซีน Covid-19 ให้แก่พนักงงานบริษัท

 

·         รายงานยอดติดเชื้อ Covid-19 ล่าสุดในวันนี้พบ ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 11,140 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 116 ราย

 



·         เงินบาทวันนี้เปิดทรงตัวที่ 33.80 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่ามากขึ้น หากตลาดมีการเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ดอลลาร์เริ่มอ่อนค่าจากตลาดรับรู้โอกาสจ้างงานสหรัฐฯ (NFP) จะเป็นไปตามที่ตลาดประเมิน

 

นักบริหารการเงินคาด วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.75 – 33.90 บาท/ดอลลาร์

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติ
- ผู้ว่าการแบงก์ชาติชำแหละ 3 จุดอ่อนเศรษฐกิจไทย

ผู้ว่าธปท. มองเศรษฐกิจไทยเปราะบางมาก โดยจะเห็นได้ว่า ภายใต้เศรษฐกิจมหภาคที่ดูมั่นคง เศรษฐกิจไทยกลับไม่ resilient และมีความเปราะบางมาก วิกฤตโควิด-19 ได้ตอกยํ้าว่า นิยามของคําว่า “เสถียรภาพ” จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ต้องมองในมุมที่กว้างขึ้น และครอบคลุมถึงปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะมีความสําคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมากขึ้นเรื่อยๆ

ในบริบทโลกใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนสูง เศรษฐกิจไทยจะ resilient ได้ ต้องมีลักษณะที่สําคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ

(1) ความสามารถในการหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (ability to avoid shocks)

(2) ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น (ability to withstand shocks)

(3) ความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบดังกล่าว (ability to recover from shocks)

 

·         อ้างอิงจากไทยโพสต์

- ดัชนีผู้บริโภคขยับ ลุ้นเลือกตั้ง‘อบต.’ กระตุ้นเศรษฐกิจ


ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ก.ย.64 ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 7 เดือน อานิสงส์จากคลายล็อก-ฉีดวัคซีนทั่วถึง สวนทางกับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ยังลดต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 33 เดือน กังวลสถานการณ์ระบาดโควิด-น้ำท่วม-ราคาน้ำมัน หวังเลือกตั้ง อบต.เงินสะพัด 2-3 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ


ผลของการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม 35.5 ปรับตัวดีเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนสิงหาคม ที่อยู่ในระดับ 33.8 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม อยู่ที่ระดับ 37.8 เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมา ที่อยู่ในระดับ 36.3 และ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 50.8 เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมา ที่อยู่ในระดับ 48.6

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- โควิด-19 น้ำท่วม กับการช่วยเหลือแบบยิงตรงกลุ่มเป้าหมาย

ในเชิงเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจจังหวัด ผลกระทบเกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะอย่างภาคการเกษตร ส่วนภาคการค้าการขาย คมนาคมขนส่ง และที่พักแรมและร้านอาหาร น่าจะได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะได้ผลกระทบจากโควิด-19 เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว





ฉะนั้น ถ้าเราตั้งต้นจากการบูรณาการด้านข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เราจะได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบทั้ง 7 กล่องสีข้างต้น เป็นรายบุคคล แล้วนำมาจัดสูตรความช่วยเหลือร่วมกันแบบ “ถูกฝาถูกตัว ถูกที่ ถูกเวลา”

 

·         อ้างอิงจากฐานเศรษฐกิจ

- บล.ดีบีเอสเตือนระเบิดเวลา 12 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา


บล.ดีบีเอสประเมินเฟดปรับลดวงเงิน QE ในเร็วๆนี้ แต่ยังดอกเบี้ยต่ำถึงไตรมาส 3 ปีหน้า มั่นใจหุ้นไทยยังสดใส ปีหน้าดัชนีทะยาน 1848 เหตุเร่งกระจายวัคซีน เปิดประเทศ ดันเศรษฐกิจฟื้น พร้อมเตือนระเบิดเวลา 12 ปัจจัยเสี่ยงในประเทศที่ต้องจับตา

1. วิกฤตโรคระบาด

2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจ

3. วิกฤตคนตกงาน

4. การขยายตัวของคนจน

5. วิกฤตการเมือง

6. วิกฤตทหาร

7. วิกฤตความเชื่อในสังคมไทย

8. ระเบิดรัฐธรรมนูญ

9. วิกฤตจากภายนอก (สงครามการค้า การเมือง การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ/การออกมาตรการใหม่ๆ ของประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ จีน ยุโรป)

10. ความเปลี่ยนแปลงของอากาศ

11.  วิกฤตภาพลักษณ์

12. วิกฤตศรัทธา


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com