อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 2 ปีทำสูงสุดรอบ 18 เดือน ที่ระดับ 0.3560% ก่อนจะอ่อนตัวลงมาแตะ 0.3497% โดยเป็นผลมาจาก
- ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น
- ความกังวลเงินเฟ้อ
- แรงกดดันเฟดขึ้นดอกเบี้ยมีมากขึ้นจาก 2 ปัจจัยข้างต้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 5 ปี ปรับขึ้นมาเกือบ 1.095% ทำสูงสุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.พ. 2020
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ทำสูงสุดรอบ 5 เดือน ที่ 1.6310%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขึ้น - ราคาพลังงานทะยานต่อ กดดัน "เยนอ่อนค่า"
ค่าเงินเยนยังอ่อนค่าทำสูงสุดรอบ 3 ปีเดือนนี้ บริเวณ 113.49 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ธ.ค. ปี 2018 ก่อนจะทรงตัวที่ 113.33 เยน/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ค่าเงินเยนยังถูกกดดันจากกระแสบีโอเจที่อาจจะเริ่มต้นเดือนหน้าขึ้นดอกเบี้ยเหมือนธนาคารกลางหลักประเทศอื่นๆ
ขณะเดียวกัน เงินเยนยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่ารอบหลายเดือนเมื่อเทีบกับเงินปอนด์, ยูโร และออสเตรเลียดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 94.33 จุด ยังเคลื่อนไหวใกล้สูงสุดรอบ 94.504 จุด ที่ทำไว้ส่งท้ายเดือนก.ย. ซึ่งเป็นสูงสุดรอบ 1 ปี ท่ามกลางตลาดมองโอกาสเฟดจะทำการประกาศ Tapering QE ในการประชุมเดือนพ.ย. ประกอบกับยังมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะตัดสินใจหารือเรื่องขึ้นดอกเบี้ยปลายปี 2022 จึงอาจเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้นได้ต่อ และหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่า
ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และโอกาสที่บีโอีจะทำการขึ้นดอกเบี้ย หนุน "เงินปอนด์" แข็งค่าทำสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.3596 ดอลลาร์/ปอนด์ ก่อนที่จะทรงตัวบริเวณ 1.3598 ดอลลาร์/ปอนด์
ยูโรทรงตัวใกล้ต่ำสุดรอบ 1 ปี ที่ระดับ 1.1559 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงแตะ 1,200 วอน/ดอลลาร์ ครั้งแรกรอบ 14 เดือน หลังธนาคารกลางเกาหลีใต้คงดอกเบี้ย หลังประกาศขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา
Bitcoin อ่อนตัวลงจากสูงสุดรอบ 5 เดือน ประมาณ -1.3% ในตลาดเอเชีย ซื้อขายแถว 56,700 เหรียญ
Ether ปรับตัวลงมา -1.54% ที่ 3,489 เหรียญ