น้ำมันปรับลง รับความกังวลเงินเฟ้อจะเป็นอุปสรรคต่ออุปสงค์
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันนี้ โดยตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับ การเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ในประเทศจีน, อินเดีย และยุโรป ที่จะกระตุ้นเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ลดอุปสงค์น้ำมัน
ขณะที่ทิศทางการแข็งค่าของดอลลาร์ที่ยังเคลื่อนไหวแถวสูงสุดรอบ 1 ปี ก็ยังเป็นปัจจัยลบต่อราคาน้ำมันด้วย
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 71 เซนต์ หรือ -0.9% ที่ 79.93 เหรียญ/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 70 เซนต์ หรือ -0.8% ที่ระดับ 82.72 เหรียญ/บาร์เรล
ไอเอ็มเอฟปรับลดแนวโน้มการเติบโ๖ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ อันเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับ
- อุปสรรคจากห่วงโซ่อุปทาน
- เงินเฟ้อสูง
ซึ่งทั้งหมดนี้ อาจกลายมากดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นกลับจากการระบาดของ Covid-19
บรรดานักวิเคราะห์จาก Commonwealth Bank ย้ำว่า ความกังวลของไอเอ็มเอฟ เสะท้อนถึง ความอ่อนแอและความไม่แน่นอนที่กำลังเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี นักลงทุนในตลาดน้ำมันกำลังให้ความสนใจกับการเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซและถ่านหิน ที่อาจจะมีผลต่อให้เกิดอุปสงค์น้ำมันเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาเป็นพลังงานในการผลิตต่างๆ
ยอดนำเข้าน้ำมันจีนลดลง 15.3% เมื่อเทียบรายปีในเดือนก.ย. ขณะที่ยอดนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นมากสุดรอบ 9 เดือน
กรมศุลกากรเผย ข้อมูลนำเข้าน้ำมันตั้งแต่ ม.ค. - ก.ย. ปีนี้ พบว่า ลดลงไปราว 6.8% ที่ระดับ 387 ล้านตัน
บรรดาที่ปรึกษาภาคธุรกิจต่งๆ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทให้ชะลอตัวลงได้
IEA กล่าวเตือนถึง ความผันผวนของตลาดพลังงาน Volatile energy
รายงานจากองค์กรพลังงานระห่วางประเทศ (IEA) กล่าวถึง ราคาพลังงานที่กำลังปรับตัวขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ทั่วโลก ท่ามกลางวิกฤตพลังงานในยุโรปและเอเชีย กำลังเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนในเวลานี้
นอกจากนี้ ในรายงานประจำปี ยังเปิดเผยอีกว่า ณ ปัจจุบันการลงทุนเกี่ยวกับการใช้พลังงานในอนาคตเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและลดการปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์ ยังอยู่ระดับต่ำ และเป็นไปอย่างไม่มั่นคง ซึ่งในรายงานยังมีการบ่งชี้ถึง "ความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายและอุปสงค์* โดยเหตุผลหลักมาจากการลงทุนที่ยังอยู่ระดับต่ำมาก
ราคาถ่านหินในจีนพุ่งขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางการเผชิญปัญหา "น้ำท่วม" และความกังวลเรื่อง "อุปทาน"
ที่มา: CNBC, Reuters