• เงินบาทสัปดาห์นี้จับตา Fund Flow - แบงก์ชาติพัฒนา "บาทดิจิทัล" แล้ว!

    18 ตุลาคม 2564 | Economic News


นักบริหารการเงิน แนะนำจับตา  Fund Flow ไหลเข้าตลาดอาเซียนจึงอาจกดดันเงินบาทแข็งค่าต่อแถว 33 บาท/ดอลลาร์


ภาพรวมแบงก์ประเมินกรอบเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า 33.00-33.50 บาท/ดอลลาร์ จับตาตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ของจีน-ราคาพลังงานตลาดโลก-บอนด์ยีลด์พุ่ง คาดกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดอาเซียน-ไทย



อย่างไรก็ดี ประเมินว่าทิศทางฟันด์โฟลว์จะเห็นการไหลเข้าในตลาดหุ้นที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตร (บอนด์) เนื่องจากตลาดยังแฮปปี้กับผลรายได้ (Earnings) ของแต่ละบริษัทที่ทยอยรายงานงบการเงินหลักๆ แต่การแข็งค่าไม่มากหรือหลุดกรอบ 33 บาท/ดอลลาร์ได้ มาจากปัจจัยพื้นฐานของไทยยังไม่ดี และต้องติดตามการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศ



อย่างไรก็ดี “กระแสเงินทุนไหลเข้าในสัปดาห์ล่าสุดเกิดจากความหวังเรื่องการเปิดประเทศ และการพักฐานของดอลลาร์ในตลาดโลก ขณะที่ฟันด์โฟลว์สัปดาห์หน้าแนวโน้มผันผวนสูง ต่างชาติอาจชะลอการซื้อในระยะสั้น เรามองดอลลาร์พักตัวชั่วคราว โดยปัจจัยเงินเฟ้อยังหนุนการคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า



·         อ้างอิงจากแนวหน้า

- สรุปการประเมินภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ)


แบงก์ชาติได้พิจารณาข้อมูลรอบด้าน ทั้งจากแบบจำลองทางเศรษฐกิจมหภาค ข้อมูลรายสาขาเศรษฐกิจ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นโดยตรงจากผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศ และสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการประเมินภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ ครอบคลุมทุกมิติทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค

สรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้



1. เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว

กนง.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือการฟื้นตัวของอุปสงค์ที่เลื่อนมาจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) ในช่วงที่เหลือของปี 2564 จากพัฒนาการด้านวัคซีนที่ปรับดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด ซึ่งส่งผลให้ประมาณการเศรษฐกิจใกล้เคียงกับการประเมินครั้งก่อน แม้การส่งออกชะลอลง



2. ควบคุมโรค กับผ่อนคลายเพื่อเศรษฐกิจ ต้องสมดุล

กนง. เห็นว่า โจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน คือ การดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยควรมุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาด และความสามารถในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและครัวเรือน





3. มาตรการคลังคือกลไกสำคัญ ขยายเพดานหนี้สาธารณะจำเป็น

กนง. เห็นว่า มาตรการการคลังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งการเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจ โดยในระยะต่อไป ควรเน้นการสร้างรายได้และเตรียมมาตรการเพื่อฟื้นฟู และยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย




4. ควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุดและต่อเนื่อง

กนง.เห็นว่า นโยบายการเงินต้องสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายต่อเนื่อง โดยสภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่ยังมีปัญหาในการกระจายสภาพคล่องที่มีอยู่มากไปสู่ธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ


อ่านต่อhttps://www.naewna.com/politic/columnist/49374



·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- เปิดมุมมอง กูรูเศรษฐกิจ ส่องทิศทาง ‘ค่าเงินบาท’สิ้นปีนี้

ทิศทางเงินบาทสิ้นปีนี้ "กสิกรไทย-ซีไอเอ็มบี-กรุงไทย" คาดยัง "แข็งค่าขึ้น" ต่อที่ 32.50-33.00 บาท/ดอลลาร์ 



ฝั่ง"ทีทีบี-กรุงเทพ" ชี้กลับมา"อ่อนค่า"ที่ 33.00-34.50 บาท/ดอลลาร์ 



ขณะที่ "กรุงศรี" จับตาปัจจัยนอกประเทศ ยังกดดันบาทผันผวนที่ 32.50-33.80 บาท/ดอลลาร์





อ่านต่อhttps://www.bangkokbiznews.com/business/966180


 

วัด “เสถียรภาพเศรษฐกิจไทย”เทียบต่างประเทศ แกร่งแค่ไหน?

แม้เศรษฐกิจไทย จะถูกผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 มาเกือบสองปี ทำให้เศรษฐกิจไทยถูกกระทบหนัก โดยเฉพาะจากโควิด-19 ระลอก3 ที่ตอกย้ำผลกระทบที่มีให้หนักหน่วงมากขึ้นไปอีก





แต่หากดูภาพรวมด้าน “เสถียรภาพเศรษฐกิจไทย”แม้เศรษฐกิจจะถูกกระทบหนัก แต่ก็ยังถือว่ายังมี “เสถียรภาพ” ในมุมมองจากนักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการ กระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ทั้งผ่าน หนี้สาธารณะที่ยังอยู่ระดับต่ำแม้จะสูงขึ้น ทุกสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ระดับสูง หรือหนี้ต่างประเทศที่ไทยมีหนี้ค่อนข้างน้อยหากเทียบกับวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540


อ่านต่อhttps://www.bangkokbiznews.com/business/966289


 

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ไทย ชี้ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ไม่น่าไว้วางใจ

เนื่องด้วย แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในปีหน้าจึงน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดว่าจีดีพีของไทยจะขยายตัวได้ประมาณ 3-4% หรือไม่



แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกในปีหน้านั้นไม่น่าจะสดใสมากเท่ากับปีนี้ โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง ในขณะที่เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงเกินกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้เดิมและหากอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวที่ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในอนาคตจะสูงขึ้นต่อไปอีก ก็จะเป็นการกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นเร็วเกินคาด อันจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกแผ่วลงต่อไปอีกได้


 

สภาวการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้อาจเกิดขึ้นได้ในครึ่งหลังของปีหน้า กล่าวคือเราจะต้องติดตามและประเมินสภาวการณ์อย่างใกล้ชิดใน 2-3 เดือนข้างหน้าเพื่อให้สามารถมีข้อสรุปที่แม่นยำว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะมีแนวโน้มที่เอื้ออำนวยหรือเป็นแรงต้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

 

·         อ้างอิงจากไทยรัฐ

เงินบาทดิจิทัล มาแล้ว!?

วารสารการเงินการธนาคาร ประจำเดือน ต.ค. เปิดเผยว่า ในที่สุด “เงินบาทดิจิทัล” Central Bank Digital Currency (CBDC) ที่พัฒนาโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อใช้เป็นเงินสดแทนธนบัตรในยุคดิจิทัล กำลังจะเป็นจริงขึ้นมาแล้ว



นอกจากนี้ รายงานความคืบหน้าการพัฒนาเงินบาทดิจิทัลว่า จะเริ่มทดลองใช้จริงในไตรมาส 2 ปี 2565 ทั้ง ระบบออนไลน์ และ ระบบออฟไลน์ สามารถเปลี่ยนเงินฝากเป็นเงินดิจิทัลได้ และเงินดิจิทัลเป็นเงินฝากได้ เหมือนกับ “เงินหยวนดิจิทัล” ของจีน



ในอนาคต การถือเงินสดเพื่อใช้จ่าย จะมีความปลอดภัยและคล่องตัวมากขึ้น

คุณวชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ ให้สัมภาษณ์ “การเงินธนาคาร” ถึงการพัฒนาเงินบาทดิจิทัลว่า เริ่มต้นได้พัฒนาเงินบาทดิจิทัล สำหรับใช้ในสถาบันการเงิน เพื่อทำธุรกรรมการเงินระหว่างธนาคารแบบเรียลไทม์ เป็น Wholesale CBDC ด้วยเทคโนโลยี Blockchain และ Distributed Ledger Technology (DLT) ภายใต้ “โครงการอินทนนท์” และได้พัฒนาต่อเนื่องมาเป็น Retail CBDC หรือ “เงินบาทดิจิทัล” เพื่อใช้กับประชาชนทั่วไป



จากการทดลองเงินดิจิทัลพบว่า เทคโนโลยี DLT สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้จริงและสามารถใส่ฟังก์ชัน Programmability บางอย่างเข้าไปในเงินดิจิทัลได้



อ่านต่อhttps://www.thairath.co.th/business/finance/2221202


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com