• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2564

    19 ตุลาคม 2564 | Gold News


อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีขึ้น “กดดันทอง”

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.1ที่ 1,765.14 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.2% ที่ 1,765.70 เหรียญ

 

·         แม้ตลาดทองคำจะมีสภาวะ Risk-Off แต่ราคาก็ขยับขึ้นได้อย่างจำกัด เนื่องจากราคาทองคำยังคงเผชิญกับรับแรงกดดันหลักจาก “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10  ปี” ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 1.6% ตั้งแต่ช่วงต้นตลาด รับกระแสข่าวเฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด

 

·         นักวิเคราะห์จาก OANDA กล่าวว่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปียังคงปรับตัวขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนแก่ทองคำ นอกเสียจากตลาดจะเริ่มรับรู้ข่าวร้ายเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจ และเฟดยังยืนกรานที่จะใช้นโยบายคุมเข้มในสภาวะที่เศรษฐกิจซบเซาและมีความเสี่ยงขาลงอย่างมีนัยสำคัญก็อาจช่วยหนุนราคาทองคำต่อได้

 

·         ความเชื่อมั่นในตลาดการเงินส่วนใหญ่ ยังคงรับข่าว
- การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีน
- ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จุดประกายความกังวลเงินเฟ้อสูง

 

·         ทองคำยังมีแรงหนุนบางส่วนจากความต้องการสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แต่โอกาสขึ้นดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ขยับขึ้นยังกดดันทอง

 

·         นักลงทุนเริ่มมีกระแสคาดการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับการที่เฟดจะเริ่มต้นทำการลดการเข้าซื้อพันธบัตร หลังข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนที่แล้ว

 

·         หัวหน้าฝ่ายการตลาดจาก Exinity กล่าวว่า ทองคำมีโอกาสปรับตัวลงต่อจากแนวทางคุมเข้มทางการเงินของเฟดและแนวโน้มการแข็งค่าของดอลลาร์

 

·         ซิลเวอร์ปิด -0.3% ที่ 23.21 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด -1.8% ที่ 1,035.29 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิด -3.3% ที่ 2,005.07 เหรียญ ทำต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์

 

·         ดอลลาร์อ่อนค่าหลังจากที่ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯอ่อนแอ ทำต่ำสุดรอบ 7 เดือนในเดือนก.ย. จึงบรรเทากระแสตลาดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด และดัชนีดอลลารืปิด -0.02% ที่ 93.95 จุด

ขณะที่ช่วงต้นตลาดรับกับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ที่ยืนเหนือ 1.6% จึงทำให้ดัชนีดอลลาร์ช่วงนั้นแกว่งไปแถว 94.17 จุด

 

·         ปอนด์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่าสูงสุดรอบ 20 เดือนเมื่อเทียบยูโร หลังจากผู้ว่าการธนาคารบีโออีส่งสัญญาณใหม่เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยอาจเห็นการขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดธ.ค. นี้ หรือช่วงต้นปีหน้า

 

·         CNBC ชี้ ปัญหาอุปทานโลกดูจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญจาก Moody’s Analytics ระบุว่า ปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มจะเข้าสู่จุด “เลวร้าย” ก่อนที่จะดีขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโลกก็ดูจะรับกับสภาวะดังกล่าวมากขึ้น ที่มาเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวในเวลานี้

 

·         การขาดแคลนชิป และผลกระทบจากพายุเฮอริเคนไอด้า กดดันข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ แม้อุปสงค์จะแข็งแกร่งก็ตาม โดยรายงานเดือนก.ย. พบขว่า Industrial Production ปรับลงมา -0.7%

 

·         สมาคมการก่อสร้างในสหรัฐฯ เผย ผลสำรวจความเชื่อมั่นกลุ่มผู้สร้างบ้านสหรัฐฯขยายตัวสูงขึ้นเกินคาดในเดือนต.ค. โดยดัชนี Housing Market Index ปรับขึ้นทำสูงสุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2020 ที่ระดับ 80 จุด

 

·         ภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯตึงตัว จุดประกายแรงงานออกประท้วงเรียกร้อง “ค่าแรงเพิ่ม”

 

·         เดโมแครตกำลังเจรจาแผนการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานฉบับมูลค่า 3.5 ล้านล้านเหรียญ เพื่อผลักดันให้สามารถผ่านไปได้ ท่ามกลางข้อเสนอความจำเป็นในการลดมลพิษทางอากาศ

 

·         “เยลเลน” ยันเดินหน้าขยายมาตรการจัดการหนี้สินประเทศฉบับพิเศษจนถึง 3 ธ.ค.

นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แถลงต่อบรรดาผู้นำสภาคองเกรส โดยระบุว่า เธอจะทำการขยายมาตรการพิเศษด้านการจัดการกับกระแสเงินสดครั้งใหญ่ ภายใต้กฎหมายเพดานหนี้ที่ขยายระยะเวลาจนถึง 3 ธ.ค. หลังมีการประกาศขยายเพดานหนี้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

·         ทีมบริหารไบเดนจะเดินหน้า “ปรับทบทวน” มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมือเสริมนโยบายการต่างประเทศของสหรํฐฯ และมีการกล่าวเตือนถึงจะเพิ่มมาตรการป้องกันหากมีภัยคุกคามใดๆเพิ่มขึ้นจาก Cryptocurrency

 

·         ธนาคารกลางอินเดีย ชี้ อาจต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินนานขึ้น ตามความจำเป็นในการรักษาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

 

·         การผิดนัดชำระหนี้ในบริษัทนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนเพิ่มขึ้นสั่นคลอนกลุ่มนักลงทุน


·         CFTC เผยรายงาน บรรดาเฮดจ์ฟันด์มีการเทขายทำกำไรในสถานะ Long ของสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าและออพชัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราว 16 ล้านบาร์เรล หลังจากที่มีการเข้าซื้อต่อเนื่องตอลดช่วง 7 สัปดาห์ รวมกว่า 194 ล้านบาร์เรล


·         วิกฤตก๊าซ – การขาดแคลนแรงงาน - ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน กำลังสร้างความยากลำบากให้แก่อังกฤษที่ก้าวสู่ช่วงฤดูหนาว และ Post Brexit


·         การขาดแคลนวัคซีนพาสปอร์ตของญี่ปุ่น กำลังเป็นภัยคุกคามที่เป็นบททดสอบสำคัญของญี่ปุ่นสำหรับการเปิดทำการของประเทศ

 

·         COVID-19 UPDATES:

ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 4 แสนราย ล่าสุดพบเพิ่มขึ้น 325,164 ราย ส่งผลให้ยอดรวมสะสมแตะ 241.83 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตใหม่ลดลงต่อเนื่อง ทั่วโลกพบรวมกัน 4,677 ราย ส่งผลให้ยอดเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ระดับ 4.91 ล้านราย

ขณะที่ยอดรักษาหายรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าการพบยอดติดเชื้อใหม่ โดยวานนี้พบยอดรักษาหายใหม่ 394,045 ราย รวมสะสม 219.10 ล้านราย





ไทยยังรั้งอันดับ 8 ที่พบยอดติดเชื้อใหม่มากสุดของโลก ขณะที่ล่าสุดวันนี้พบติดเชื้อใหม่ 9,122 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 71 ราย

 


·         รายงานฉีดวัคซีนไทย พบว่า คนไทยฉีดวัคซีนพุ่ง 66.7 ล้านโดสแล้ว ครึ่งหนึ่งเป็น AstraZeneca


·         ด้าน “อนุทิน” ย้ำ ไทยต้องสู้โควิดอีกปี แนะให้รับสภาพ เร่งบูสต์ "เข็ม 3" กระตุ้นภูมิ

 

·         นักบริหารการเงิน ระบุว่า ต่างชาติแห่เก็งกำไรหุ้นไทยรับเปิดเมืองดันบาทแข็ง

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.46 บาท/ดอลลาร์ โดยยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า หลังนักลงทุนแห่เก็งกำไรหุ้นไทยรับเปิดประเทศ มองแนวโน้มผันผวนจากการเปิดรับความเสี่ยงของตลาดกดดอลลาร์อ่อนค่า คาดวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 33.10 – 33.50 บาท/ดอลลาร์

นอกจากนี้ อาจเห็นผู้ค้าทองคำบางส่วนทยอยเข้ามาซื้อทองคำ หลังราคาทองคำปรับตัวลงใกล้แนวรับหลัก และนอกจากโฟลว์เก็งกำไรทองคำ เรามองว่า ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงอยู่ จากปัญหาการระบาดระลอกใหม่ รวมถึงโอกาสเกิดภาวะน้ำท่วม ซึ่งต้องจับตาแนวโน้มความรุนแรงของพายุที่จะเข้ามา ในเดือนนี้และเดือนหน้า

 

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- ธปท. จับตา 3 ปัจจัย ฟื้น-ฉุดเศรษฐกิจไทยปี65

ธปท.เผยแม้เศรษฐกิจพ้นจุดต่ำสุดไตรมาสที่ 3 แต่ยังเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำ พร้อมเกาะติด 3 ปัจจัยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการคุมระบาดในประเทศ-แรงสนับสนุนจากภาครัฐ-ปัจจัยต่างประเทศ ด้านตลาดแรงงานยังเปราะบาง คนว่างงาน-เสมือนว่างงานพุ่ง 3.4 ล้านคน

ภาพรวมแบงก์ชาติยังมั่นใจจีดีพีปีนี้ยังโตได้ 0.7% และขยายตัว 3.7% ในปี 65 ตามอุปสงค์ภายในประเทศ ลั่น ยังไม่รวมปัจจัยการเลือกตั้ง พร้อมทบทวนในการประชุมกนง.ต่อไป

อย่างไรก็ดี มองไปข้างหน้ายังคงมีความเสี่ยงด้านต่ำ แม้ว่าจะดีขึ้น ทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวจำเป็นต้องติดตามใน 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ

1.พัฒนาการของมาตรการควบคุมการระบาดระบาด ซึ่งการเปิดเมืองมากขึ้นยังคงจำเป็นต้องติดตามความเชื่อมั่นผู้บริโภค และการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

2.ความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ โดยจะเห็นว่าอัตราการใช้จ่ายภาครัฐต่ำกว่าคาดในปีนี้ แต่ในปี 2565 น่าจะมีแรงกระตุ้นต่อเนื่องจากเม็ดเงินคงเหลือของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้วงเงิน 5 แสนล้านบาท น่าจะเป็นแรงสนับสนุนได้

3.ปัจจัยต่างประเทศ ในส่วนของ Travel restriction โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มปรับลดลงจากการะบาดของโควิด-19 ที่ทำให้แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวล่าช้า โดยปีนี้คาดว่าจะเหลือ 1.5 แสนคน จากเดิมอยู่ที่ 7 แสนคน และในปี 2565 จาก 10 ล้านคน เหลือ 6 ล้านคน ส่วนหนึ่งมาจากคาดว่ายังไม่สามารถเปิดให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ได้ปกติภายในปี 2565 รวมถึงปัญหา Supply Disruption การขาดแคลนตู้คอนเทรนเนอร์ การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงผลกระทบชั่วคราวจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ทั้งในการปิดโรงงานและขาดแคลนแรงงาน

 

·         อ้างอิงจากไทยโพสต์

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยันรัฐจำเป็นกู้ 1.5 ล้านล้าน!เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

 

·         อ้างอิงจากฐานเศรษฐกิจ
- นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการบริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) เตือน รัฐบาลอย่าชะล่าใจ ห่วงไทยขาดดุลบัญชีฯ พุ่ง

เพราะถึงแม้เปิดประเทศจะทำให้รายได้เข้าเพิ่ม แต่ยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันสูง


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com