ดอลลาร์อ่อนค่าท่ามกลางกระแสธนาคารกลางอื่นๆจะ "คุมเข้ม" เร็วกว่าเฟด
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงใกล้ต่ำสุดของกรอบล่างเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ หลังข้อมูลภาคการผลิตสหรัฐฯอ่อนแอ และตลาดตอบรับกับการที่ธนาคารกลางอื่นๆมีท่าทีจะปรับนโยบายการเงินสู่สภาวะปกติเร็วกว่าที่คาดการณ์
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่า 0.05% ที่ 93.894 จุด สัญญาณ Oscillators ชี้ดัชนีจะเคลื่อนระหว่าง 93.671 - 94.563 จุด
ภาพรวมแนวโน้มของดอลลาร์อยู่ในทิศทางอ่อนค่า ท่ามกลางเฟดที่ดูจะทำการ Tapering QE เร็วกว่าคาดที่อาจเกิดขึ้นในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า
การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของสินทรัพย์เสี่ยงที่เข้ากดดันค่าเงินดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven
ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางบีโออี มีการส่งสัญญาณจะทำการขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ก็เริ่มมีการหารือเพื่อปรับนโยบายการเงินสู่สภาวะปกติเร็วขึ้น ในการรับมือกับเงินเฟ้อที่อยู่สูงสุดรอบกว่า 10 ปี
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของอังกฤษและนิวซีแลนด์ ระยะสั้นมีการปรับตัวขึ้น จึงยังสร้างแรงกดดันกับดอลลาร์
เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.13% ที่ 1.37455 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังทำแข็งค่ามากสุดรอบ 1 เดือนที่ 1.3773 ดอลลาร์/ปอนด์
เงินยูโรขยับแข็งค่าขึ้น 0.09% ที่ 1.16205 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินเยนขยับเล็กน้อยที่ 114.275 เยน/ดอลลาร์ หลังอ่อนค่าไปมากสุดรอบ 3 ปีเมื่อคืนวันศุกร์ที่ระดับ 114.47 เยน/ดอลลาร์
ขณะที่ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นทำสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์แถว 1.1650 ดอลลาร์/ยูโร หลังดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอ่อนตัว
ค่าเงินยูโรเคลื่อนตัวในกรอบ 1.1560 - 1.1620 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลาง RSI ที่อยู่แถว 44 จุด แม้ว่าภาพโดยรวมจะอยู่ในสภาวะสะสมพลังใน และราคามีการปรับตัวเคลื่อนไหวแบบ Head-and-Shoulders แต่หากรายวันปิดได้เหนือเส้น Neckline บริเวณ 1.1625 ดอลลาร์/ยูโร ก็จะยิ่งคอนเฟิร์มการออกจากสภาวะนี้ได้ และมีโอกาสไปต่อแถว 1.1700 ดอลลาร์/ยูโร
ในทางกลับกัน หากค่าเงินล้มเหลวในการยืนเหนือ 1.1625 ดอลลาร์/ยูโร ก็มีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับแรกที่ 1.1562 ดอลลาร์/ยูโร และอาจไปได้ถึงต่ำสุดของวันที่ 12 ต.ค. ที่ 1.1524 ดอลลาร์/ยูโร
GBP/USD: ปอนด์แข็งค่าและยังยืนได้เหนือเส้น Descending แถว 1.3780 ดอลลาร์/ปอนด์
ด้านกราฟรายวันยังมีแนวต้านสำคัญที่ 1.3983 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่การที่ราคายืนได้เหนือระดับเส้น SMA ที่ 1.3716 ดอลลาร์/ปอนด์ จะยิ่งสะท้อนการฟื้นตัวของตลาดขาขึ้นได้
ดังนั้น หากราคายืนได้อย่างมั่นคงและสามารถทดสอบ 1.3800 ดอลลาร์/ปอนด์ที่เป็นระดับสำคัญทางจิตวิทยา รวมถึงสามารถ Break แนว SMA-100 วันที่ 1.3812 ดอลลาร์/ปอนด์ไปได้ ก็มีโอกาสไปถึง 1.3850 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่เป็นแนวต้านสำคัญได้
สำหรับเส้น MACD มีการเคลื่อนไหวในสภาวะ Oversold โดยที่ราคาจะมีระดับแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ 1.3900 ดอลลาร์/ปอนด์
หยวนแข็งค่าขึ้นมากสุดรอบ 4 เดือน ท่ามกลาตลาดลดความกังวลเรื่องปัญหาอสังหาริมทรัพย์จีน และความตึงเครียดจากปัญหาสหรัฐฯ-จีน
หยวนยังแข็งค่า แม้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนจะออกมาแย่กว่าคาด แต่ธนาคารกลางจีนก็ได้ช่วยผ่อนคลายตลาดหลังระบุว่า ผลกระทบจากปัญหาหนี้ของบริษัท China Evergrande Group นั้นสามารถควบคุมได้
ทั้งนี้ หยวนเปิดมาที่ 6.4250 หยวน/ดอลลาร์ หลังไปทำแข็งค่ามากสุดที่ 6.4105 หยวน/ดอลลาร์ นับเป็นระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 16 มิ.ย. โดยแข็งค่ามากขึ้นกว่า 189 ปิปส์ เมื่อเทียบกับระดับปิดวันก่อน