U.S.10 Yield – รายงานผลประกอบการจำกัดการรีบาวน์ของทองคำ
ราคาทองคำปรับขึ้นได้เพียงเล็กน้อย หลังจากที่ปรับขึ้นไปมากกว่า 1% ในช่วงต้นตลาด เนื่องจากความต้องการสินทรัพย์ Safe-Haven ลดลง อันเป็นผลจาก
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดตั้งแต่มิ.ย. ที่ 1.6302%
- รายงานผลประกอบการบริษัทสหรัฐฯแกร่ง หนุนตลาดหุ้นปิดแดนบวก
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.3% ที่ 1,769.94 เหรียญ
ช่วงต้นตลาดปรับขึ้นได้กว่า 1.2% อันเป็นผลจากดอลลาร์อ่อนค่า
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.3% ที่ 1,770.5 เหรียญ
· สัญญาทองคำ TFEX Gold Futures ซีรีย์ V จะหมดอายุลง 28 ต.ค.นี้
· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ความเชื่อมั่นในตลาดทองคำเวลานี้มีไม่มากนัก และยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากเฟดหรือไม่ ท่ามกลางรายงานผลประกอบการบริษัทที่ยังคงสร้างความประทับใจให้แก่ตลาด จึงช่วยหนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงให้แข็งแกร่งอยู่ในเวลานี้
· นักลงทุนในตลาดต่างๆกำลังให้ความสนใจกับคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเริ่มต้นทำการ Tapering QE เร็วๆนี้ ท่ามกลางฤดูกาลประกาศผลประกอบการที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุน ประกอบกับข้อมูลเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
· ราคาซิลเวอร์ปิด +2.7% ที่ 23.80 เหรียญ และเป็นระดับสูงสุดรอบกว่า 1 เดือน
· ราคาแพลทินัมปิด +0.6% ที่ 1,041.50 เหรียญ
· ราคาพลาเดียมปิด +4.2% ที่ 2,100.15 เหรียญ
· นักวิเคราะห์จาก UBS กล่าวว่า ราคาแพลทินัมและพลาเดียมมีแนวโน้มได้รับแรงสนับสนุนจากการทำ Short-Covering ในตลาด แต่กระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการขาดแคลนชิปที่ดูมีโอกาสเข้าสู่จุดพีคไปแล้ว หากเห็นข้อมูลสะท้อนผลเช่นนั้น ก็อาจทำให้การฟื้นตัวของกำลังการผลิตรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น
· Bitcoin ปรับขึ้นหาสูงสุดประวัติการณ์ได้จากการเริ่มต้นเทรด Bitcoin Futures ETF ครั้งแรก
· ข้อมูลการก่อสร้างบ้านสหรัฐฯร่วง จากปัญหาการขาดแคลนอุปทาน
ข้อมูลการขออนุมัติการก่อสร้างบ้านร่วงลงไปกว่า -7.7% แตะ 1.589 ล้านยูนิตในเดือนก.ย.ถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่ก.ย. ปีที่แล้ว
ข้อมูลการเริ่มต้นสร้างบ้านในสหรัฐฯเดือนก.ย. ออกมาแย่เกินคาดทำต่ำสุดรอบ 1 เดือน โดยลดลงไป 1.6% แตะ 1.555 ล้านยูนิตเมื่อเทียบรายปี (ต่ำสุดตั้งแต่เม.ย.) จากการขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน จึงยังสนับสนุนกระแสคาดการณ์ทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอในไตรมาสที่ 3 ขณะที่ข้อมูลการเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนส.ค. ถูกปรับทบทวนลงมาที่ 1.580 ล้านยูนิต จากเดิมที่รายงานครั้งก่อนทีร่ะดับ 1.615 ล้านยูนิต
· ดอลลาร์อ่อนค่า ขณะที่ปอนด์และนิวซีแลนด์แข็งค่า
ดอลลาร์ยังคงปรับอ่อนค่าแม้จะเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางปอนด์ที่ได้รับแรงหนุนจากโอกาสจะเห็นบีโออีขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
ดัชนีดอลลาร์ปิด -0.22% แตะ 93.70 จุด โดยช่วงต้นตลาดทำอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ 28 ก.ย. บริเวณ 93.50 จุด
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังถูกกดดันจากข้อมูลการสร้างบ้านสหรัฐฯที่แย่กว่าคาด ตอกย้ำโอกาสเศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสที่ 3 ชะลอตัว
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.25% ที่ 1.1640 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินนิวซีแลนด์แข็งค่า ได้รับอิทธิพลหนุนจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ที่อาจตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย
ค่าเงินปอนด์ แข็งค่าขึ้น +0.51% ที่ 1.3798 ดอลลาร์/ปอนด์ ท่ามกลางตลาดการเงินที่คาดว่าอาจเห็นบีโออีตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยช่วงสิ้นปีนี้อีก 0.35%
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 4 เดือนในช่วงต้นตลาดรับกระแสเฟดขึ้นดอกเบี้ย แต่การที่นักลงทุนลดมุมมองโอกาสที่บรรดาธนาคารกลางต่างๆจะตัดสินใจคุมเข้มทางการเงิน
· เครื่องมือ Fed Fund Futures มองโอกาส 64% ที่จะเห็นเฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในเดือนก.ค. ปีหน้า ลดลงจากโอกาส 82% ในผลสำรวจวันจันทร์
เทรดเดอร์ยังคาดว่าอาจมีโอกาสเพียง 46% ที่จะเห็นเฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเดือนมิ.ย. ปีหน้า หลังจากที่ผลสำรวจวันก่อนมองโอกาสสูงกว่าที่ 60%
· บรรดานักวิเคราะห์ ระบุว่า ถ้อยแถลงเชิงผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกเมื่อวานนี้ หนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯช่วงต้นตลาดปรับตัวขึ้น
· ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกำหนดนโยบายของอีซีบี ระบุว่า “ยังไม่มีเหตุผลที่อีซีบีจะทำการขึ้นดอกเบี้ยในระหว่างนี้จนถึงสิ้นปี 2022” ท่ามกลางข้อมูลเงินเฟ้อยูโรโซนที่ถูกคาดไว้ว่าจะอ่อนตัวลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของอีซีบี
· รายงานการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลียประจำเดือนต.ค. ระบุว่า การระบาดของ Delta Covid-19 กำลังเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมย้ำว่าจะยังไม่ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.1% จนกว่าจะถึงปี 2024 เพื่อให้ค่าแรงและเงินเฟ้อชะลอตัวลง
· นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการของเฟด มองว่า เฟดอาจต้องใช้นโยบายการตอบสนองในเชิง “เข้มงวดมากขึ้น” หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ระดับสูงต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้
ถ้อยแถลงของเขาทำให้ U.S.10 Yield ปรับตัวลงเมื่อคืนนี้
· นางมิเชลล์ โบว์แมน ผู้ว่าการอีกหนึ่งรายของเฟด กล่าวว่า อาจเห็นเงินเฟ้ออยู่ระดับสูงนานกว่าที่คาดหวังไว้ ท่ามกลางปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เป็นปัจจัยหนุนนำให้เงินเฟ้ออยู่ระดับสูง
· นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ระบุว่า การขาดแคลนแรงงานและปัญหา Covid-19 ล่าสุด ดูจะจำกัดภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เว้นแต่ว่าจะมีการปรับปรุงด้านระบบการศึกษา, สุขภาพ และนโยบายสวัสดิการเด็กให้ดียิ่งขึ้น จึงจะช่วยหนุนให้ประชาชนมีความมุ่งมั่นและสามารถปฏิบัติงานได้
· นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตั้งเป้าที่จะตกลงเรื่องแพ็คเกจค่าใช้จ่ายในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่ามกลางสมาชิกเดโมแครตที่เข้าใกล้ข้อตกลงขอบเขตแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สำคัญ และคาดว่าอาจจะประนีประนอมกันได้ภายในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ได้เริ่มต้นเจรจากันเมื่อวานนี้
· IMF ประกาศปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ “เอเชีย” จากปัญหา Covid-19 ระบาด สั่นคลอนการเติบโตของภูมิภาค พร้อมกล่าวเตือนถึงความเสี่ยงจากภาวะห่วงโซ่อุปทาน
· เกาหลีเหนือยืนยันการทดสอบขีปนาวุธตัวใหม่เมื่อวานนี้ ในขณะที่บรรดานักวิเคราะห์ มองว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กับเป้าหมายการลงจอดเรือดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วมากขึ้น
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่ายอดรักษาหายรายใหม่ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเกือบ 430,000 ราย สูงกว่ายอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นแถว 400,000 ราย ทำให้ภาพรวมของยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกยังแตะ 242.29 ล้านราย ขณะที่ยอดรักษาหายสูงขึ้นมาที่ 219.63 ล้านราย ในส่วนของเสียชีวิตสะสมแตะ 4.92 ล้านราย
· สถานการณ์ติดเชื้อในไทยวันนี้ยังลดลงต่ำกว่าหมื่นราย โดยพบติดเชื้อใหม่เพิ่ม 8,918 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 79 ราย
· นักบริหารการเงิน ระบุว่า ต่างชาติขายทิ้งหุ้นไทยฉุดบาทอ่อน
ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.37 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลง เหตุนักลงทุนเทขายหุ้นไทยทำกำไร- เล็งซื้อทองคำแนวรับช่วง 1,760-1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จับตารายงานงบไตรมาส 3/64
ระยะสั้นมองเงินบาทยังมีโอกาสผันผวนจากทิศทางของดอลลาร์, การเก็งกำไรในทองคำ และ Fund Flow ต่างชาติ ซึ่งมองว่าสภาวะการเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะยังกดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่าต่อได้
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า นักลงทุนบางส่วนมีการขายตามข่าว Reopening จากนักลงทุนต่างชาติ โดยมีแรงขายหุ้นไทยสุทธิราว 1.6 พันล้านบาทในวันก่อน ดังนั้น Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติอาจกดดันบาทผันผวนได้
อย่างไรก็ดี หากการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยดีขึ้นต่อเนื่อง เราเชื่อว่าจะเห็นนักลงทุนต่างชาติทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยและช่วยให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง
· IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย คาดปีนี้โตได้ 1% จากเดิมมอง 2.1% ก่อนจะฟื้นตัวได้ในปีหน้าราว 4.5%
นอกจากนี้ ยังมองว่า ไทยจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2023 – 2026 อยู่ที่ 3.5% - 4.0% พร้อมมองเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 0.9% ในปีนี้ และปีหน้าคาดเงินเฟ้ออาจปรับขึ้นมาที่ 1.3%
สำหรับมุมมองของบัญชีเดินสะพัด คาดจะเห็นการขาดดุล 0.5% ของจีดีพีในปีนี้ และจะกลับมาเกินดุลราว 2.1% ของจีดีพีในปี 2022
· Krungthai COMPASS ระบุว่า มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย สอดคล้องกับทิศทางของ IMF โดยระบุว่าคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ 0.5% และ 3.9% ในปี 2021-2022 โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวได้ช้าเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จำนวนนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าไทยจะมีแผนการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2021