ทองคำปิดปรับขึ้น จากความกังวล “เงินเฟ้อ” กดดันดอลลาร์อ่อน
· ราคาทองคำตลาดโลกปิดปรับขึ้น +0.9% ที่ระดับ 1,785.25 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.8% ที่ 1,784.90 เหรียญ
· ราคาทองคำเมื่อวานนี้ปรับตัวสูงขึ้นได้ อันเนื่องจากดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลง ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและภาวะห่วงโซ่อุปทาน ที่สนับสนุนให้เกิดความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย
ทั้งนี้ นักลงทุน กำลังให้ความสนใจกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มจะเริ่มต้นขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
· ดัชนีดอลลาร์ปิด -0.24% ที่ 93.57 จุด
· ตลาดสนใจกับโอกาสเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง ภายในปี 2022
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 5 เดือน ที่ 1.673% ท่ามกลางการประมูลพันธบัตรอายุ 20 ปี ที่อ่อนตัวลง หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้นต่อเนื่อง 2 วันทำการ
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี ทำสูงสุดรอบ 7 เดือน ที่ระดับ 1.193%
· ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆมีการปรับตัวสูงขึ้น นำโดย ซิลเวอร์ปิด +2.9% ที่ 24.34 เหรียญ ระหว่างวันทำสูงสุดรอบกว่า 1 เดือน ขณะที่แพลทินัมปิด +1% ที่ระดับ 1,050.50 เหรียญ
· แพลทินัมปิด -1.2% ที่ระดับ 2,072.71 เหรียญ
· นักกลยุทธ์อาวุโส RJO Futures กล่าวว่า ภาวะความกังวลทั่วโลกและเหตุการณ์วิกฤตด้านอุปทานที่กำลังดำเนินไป และปราศจากการดำเนินการใดๆของเฟด และดูเหมือนเฟดจะยังให้การหนุนเงินเฟ้อที่ปรับขึ้น และภาพรวมเชื่อว่าน่าจะเห็นความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง “ทองคำ” อยู่ในช่วง 2-3 เดือนนี้
· นักวิเคราะห์จาก StoneX ระบุถึงการที่อาจจะเห็นทองคำเปลี่ยนมาเคลื่อนไหวในกรอบ หลังไปทดสอบ 1,800 เหรียญได้ ท่ามกลางความเสี่ยงที่จะเห็นทองคำเริ่มปรับตัวขึ้น จากช่วงเทศกาลดิวาลีของอินเดีย และอุปสงค์ทองคำที่เริ่มทรงตัวในจีน
· นายแรนดัล ควอเลส หนึ่งในผู้ว่าการเฟด ระบุว่า การทำ Tapering QE จะเป็นบททดสอบในการประชุมเดือนพ.ย. แต่จะยังไม่พิจารณาถึงการขึ้นดอกเบี้ย
ทั้งนี้ การจะเริ่มต้นปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีขึ้นเมื่อเผชิญเงินเฟ้อในระดับสูง ขณะที่เฟดยังประเมินเงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในปีหน้า
· รายงานประชุมเฟด สะท้อนถึง แรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ท่ามกลาง การขายตัวที่เพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง
นอกจากนี้ ในรายงานการประชุมยังมีการระบุถึงสัญญาณการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและค่าแรง แม้ว่าจะเห็นการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงต้นเดือนต.ค.นี้ ในช่วงที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับปานกลางเมื่อเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่การจ้างานเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงาน
· แหล่งข่าวจากสภาคองเกรส เผยว่า ทางทำเนียบขาว ยังไม่มีแนวโน้มจะทำการปรับขึ้นภาษีนิติบุคคล ตามที่นายไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยเสนอจะเพิ่มขึ้นจากระดับ 21% เป็น 28%
· อีซีบีมีท่าที “คุมเข้มทางการเงิน” ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอมนีประกาศลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของเยอรมนี เผยมุมมองเศรษฐกิจเชิงบวก และแนวโน้มเงินเฟ้อที่ดูจะยังอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางภาษีรายได้ที่สูงขึ้น 23.1% สู่ระดับ 7.82 หมื่นล้านยูโรในเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
· ยอดนำเข้าเยอรมนีเดือนม.ค. - ส.ค. ลดลงแตะ 7.1% ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันช่วง 8 เดือนในประเทศลดลงสู่ระดับ 51.9 ล้านตัน จาก 55.8 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
· สหรัฐฯ - เกาหลีเหนือ เผยถึงช่วงเวลาสำคัญที่ควรจะดำเนินการเจรจาที่สำคัญต่อ
· เกาหลีเหนือ ระบุว่า ปฏิกิริยาการตอบสนองจากสหรัฐฯเป็นเรื่องเกินจริง ในการที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธใต้น้ำ
· COVID-19 UPDATES:
· ยอดติดเชื้อสะสมล่าสุด 242 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมแตะ 4.9 ล้านราย
· FDA สหรัฐฯ อนุมัติชัดการใช้วัคซีนหนุน Moderna และ J&J ที่แตกต่าง
· เมลเบิร์น เตรียมยกเลิกขยาย Lockdown
· WHO เตือน ยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นในยุโรป ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ ท่ามกลางการผ่อนคลายมาตรการ
· ยอดติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่ม 9,727 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 73 ราย
· นักบริหารการเงิน ระบุว่า เงินบาทเปิดตลาด 33.35 บาท/ดอลลาร์ฯ จับตาฟันด์โฟลว์ต่างชาติ
ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.35 บาท/ดอลลาร์ จับตาฟันด์โฟลว์ต่างชาติ ชี้นักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงหนุน Bitcoin ปรับตัวขึ้นแตะจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด-รายงานงบไตรมาส 3/2021
สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ซึ่งบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ได้ให้สัมภาษณ์ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ต่างสนับสนุนการลดคิวอีในเดือนหน้า และยังคงมองว่า เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงชั่วคราว แต่ถ้าเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด ก็อาจทำให้เฟดจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางของตลาดการเงินในระยะนี้ เพราะหากงบของบรรดาบริษัทจดทะเบียนต่างออกมาดีกว่าคาดหรือมีแนวโน้มจะเติบโตได้ในอนาคตและดีกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ ก็จะช่วยให้ตลาดทยอยเปิดรับความเสี่ยงต่อได้ติดตามข่าวอื่นๆเพิ่มเติม