ทองพุ่งขึ้น - ดอลลาร์อ่อนค่า
· ราคาทองคำปรับตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นช่วงที่ 3 เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
· ราคาทองคำตลาดโลก +0.2% ที่ระดับ 1,784.96 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค.ทรงตัวแถวบริเวณ 1,784.60 เหรียญ
· ราคาทองคำแท่งมีการซื้อขายระหว่าง 1,759 ถึง 1,788 เหรียญในสัปดาห์นี้
· สมาชิกเฟด 2 ราย กล่าวว่า เฟดควรเริ่มผ่อนคลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็เร็วเกินไปสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
· บีโออีอาจจะเป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งแรกที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบหลังเกิดการระบาดไวรัสโคโรนา แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่สำรวจโดย Reuters คาดว่า การปรับขึ้นครั้งแรกจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงต้นปีหน้า ซึ่งช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
· ธนาคารกลางรัสเซีย เปิดเผยว่า ทองคำสำรองของรัสเซียอยู่ที่ 73.9 ล้านทรอยออนซ์ ณ ต้นเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
· ราคาซิลเวอร์ +0.3% ที่ระดับ 24.33 เหรียญ
· ราคาแพลิตันม +0.1% ที่ระดับ 1,051.12 เหรียญ
· ราคาพลาเดียม -0.3% ที่ระดับ 2,066.53 เหรียญ
· Nornickel ของรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตพลาเดียมรายใหญ่ที่สุดของโลกกล่าวว่า การผลิตพลาเดียมในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น 9% เป็น 598,000 ทรอยออนซ์ ขณะที่ผลผลิตแพลตินัมเพิ่มขึ้น 8% เป็น 145,000 ทรอยออนซ์
· Gold Price Forecast: ทองคำจะกลับไปแถว 1,791 เหรียญได้หรือไม่?
ด้านสัญญาณ RSI มีการปรับตัวลดลงแต่ทรงตัวได้เหนือค่ากลาง จึงยังบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นและยังคงเคลื่อนไหวในระยะสั้นๆ ด้านเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 21 วัน ที่มีการตัดกับเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วัน ยังสะท้อนภาวะราคาขาขึ้น และคาดอาจเห็นราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อ
อย่างไรก็ดี แรงเทขายในทองคำที่เกิดขึ้นก็อาจกดดันทำให้ราคาทองคำอ่อนตัวกลับลงมาบริเวณ 1,775 เหรียญได้ และอาจจะเห็นราคาเคลื่อนตัวแถวแนวรับ 1,771 เหรียญ ท่ามกลางราคาที่จะมีแนวรับขาลงที่เส้น SMA ราย 200 วัน ที่ระดับ 1,769 เหรียญ หากต่ำกว่า มีโอกาสทดสอบเส้น SMA 100 วัน บริเวณ 1,764 เหรียญ ที่อาจกลายมาเป็นจุดที่นักลงทุนฝั่งซื้อรออยู่ก็เป็นได้
· ดอลลาร์แข็งค่า - ปอนด์ยังแกร่ง จากบีโออีส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย
ดอลลาร์แข็งค่า ขณะที่ปอนด์แข็งค่าจากกระแสบีโออีตัดสินใจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้ ในเดือน มิ.ย.
ขณะค่าเงินในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ปรับขึ้นเข้าใกล้สูงสุดรอบหลายเดือน ท่ามกลางราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงเริ่มเพิ่มจึงทำให้นักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์ที่อยู่ในสถานะ Safe-Haven
ดัชนีดอลลาร์ขยับขึ้นเล็กน้อย 0.02% ที่ 93.558 จุด
ค่าเงินเยนอ่อนค่า 0.1% ที่ 114.14 เยน/ดอลลาร์
ออสเตรเลียดอลลาร์ขยับแข็งค่าและนิวซีแลนด์ดอลลาร์อ่อนค่าลง
หยวนอ่อนค่า 0.02% ที่ 6.3925 หยวน/ดอลลาร์
ปอนด์อ่อนเล็กน้อย 0.05% ที่ 1.3817 ดอลลาร์/ปอนด์
ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า คาดว่าจะเริ่มต้นลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรในการประชุมพ.ย. นี้ แต่ไม่คิดว่าจะเห็นการเริ่มขึ้นดอกเบี้ย จนกว่าจะถึงปี 2022
· World Bank ปรับเพิ่มการคาดการณ์จีดีพีของ 6 ประเทศในคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกเป็น 5.9% ในปีนี้ หลังจากการหดตัว 3.1% ในปี 2020 อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่เตือนว่าการฟื้นตัวยังคงเปราะบาง
· สำนักงานคุ้มครองด้านการเงินของผู้บริโภคสหรัฐ (CFPB) เตรียมตรวจสอบบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างเฟซบุ๊ก, แอมะซอน และกูเกิลเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลด้านการเงินของผู้บริโภคภายในสัปดาห์นี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันในภาคธุรกิจการเงิน
· อังกฤษสั่งซื้อยาต้านโควิดจากทั้งเมอร์ค-ไฟเซอร์ หวังสกัดโควิดพุ่ง
รัฐมนตรีสาธารณสุขของอังกฤษ กล่าวว่า รัฐบาลได้ทำข้อตกลงซื้อยาต้านโควิด-19 ของบริษัทเมอร์ค แอนด์ โค และบริษัทไฟเซอร์ อิงค์ ซึ่งต่างก็เป็นผู้ผลิตยารายใหญ่ของสหรัฐ โดยหวังว่าจะสามารถนำมารักษาผู้ป่วยโควิด-19 ภายในปลายปีนี้ หากได้รับการอนุม้ติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
· Reuters Poll เผยมุมมองนักวิเคราะห์ ชี้ 6 ประเทศเศรษฐกิจของสภาด้านการจัดการอ่าวอาหรับสะท้อนว่า อาจเห็นเศรษฐกิจในแถบนี้ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วในปีหน้า พร้อมเตือนถึงภาวะน้ำมันและก๊าซที่อาจปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ที่จะกลายเป็นความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโต
· บีโอเจ ระบุว่า ระบบภาคธนาคารญี่ปุ่นมีเสถียรภาพ แต่ก็เตือนถึงความเสี่ยงที่ต้องเผชิญจากความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน ที่อาจกระทบให้เกิดการเลื่อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ