ด้านนักวิเคราะห์ Daily FX วิเคราะห์ราคาทองคำ “ภาวะตลาดหมียังอยู่”
ราคาทองคำยังไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1,800 เหรียญไปได้ โดยหากราคาสามารถ Break หลุดแนวรับ 1,750 เหรียญ และอาจไปถึง 1,717.89 เหรียญ รวมไปถึงมีลุ้นต่ำกว่าระดับสำคัญ 1,700 เหรียญได้
ขณะที่แนวต้านทองเริ่มขยับขึ้นมาแนว 1,808.16 เหรียญ หากผ่านได้มีลุ้นทดสอบกรอบ 1,834.14 เหรียญ ที่เป็นแนวต้านสำคัญด้านบน หากยืนเหรือจุดนี้ได้ มีโอกาสลุ้นไปต่อ
· Business Recorder ระบุว่า หากทอง Break แนวต้าน 1,788 เหรียญไปได้ ก็อาจแกว่งขึ้นสู่กรอบ 1,795-1,798 เหรียญ
· Gold Price Forecast: จับตาทองอาจฝ่า 1,795 เหรียญไปได้ ท่ามกลางความกังวลเรื่องเงินเฟ้อมากขึ้น
นอกจากนี้ บรรดาธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกก็ดูจะตอกย้ำถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ท่ามกลางการปรับขึ้นต่อเนื่องของราคาพลังงานทั่วโลก ที่ช่วยหนุนทองคำขาขึ้นได้ในบางช่วง โดยที่ทองคำมักเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ดี
· Gold Price Chart - Technical outlook
นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ในทางเทคนิค ราคาทองราย 4 ชั่วโมง ดูจะเห็นถึงการปรับตัวสูงขึ้นได้ และระดับแนวต้าน 1,795 เหรียญ ก็ดูจะเป็นจุดสนใจของกลุ่มผู้ซื้อ แต่ถ้าผ่านไปได้ก็มีโอกาสเปิดกว้างขยับขึ้นไปที่ 1,801 เหรียญได้
ดัชนี RSI ค่อนข้างทรงตัวเหนือระดับกลาง และบ่งชี้ถึงการยังปรับขึ้นต่อได้เวลานี้
ด้านเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 21 วัน และ SMA 50 วันที่ตัดกัน ก็ยังสะท้อนโอกาสทองคำขาขึ้นอยู่
อย่างไรก็ดี อาจเห็นทองคำปรับลงได้ กรณีที่ขึ้นมาถึงเส้น SMA ราย 21 วัน บริเวณ 1,779 เหรียญ เพราะหากไปต่อไม่ได้ อาจลงมาแนวเส้น DMA ราย 50 วัน ที่ระดับ 1,777 เหรียญ
จากกราฟราย 4 ชม. ถ้าราคายืนเหนือระดับข้างต้นไม่ได้ มีโอกาสเห็นทองกลับมายังแนวรับบริเวณเส้น SMA ราย 200 วันที่ 1,769 เหรียญ รวมถึงมีโอกาสทดสอบเส้น SMA ราย 100 วัน ที่ 1,767 เหรียญได้
· ค้าปลีกอังกฤษปรับลงเกินต้านในเดือนก.ย. -0.2% ตอกย้ำสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอ่อนแอ
· บรรดารัฐมนตรีกลุ่ม APEC เห็นพ้องสนับสนุนความพยายามจัดหาวัคซีน
· ยอดขายที่ในจีนปรับตัวลดลงเดือนที่สอง จากการขาดกลุ่มนักพัฒนาอสังหาฯสนับสนุน
· Reuters Poll มอง ผลผลิตญี่ปุ่นเดือนก.ย. มีแนวโน้มลดลงจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานกระทบบรรดาผู้ผลิตรถยนต์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง -3.2% ในเดือนก.ย. หลังร่วงลง -3.6% ในเดือนส.ค.
ด้านข้อมูลค้าปลีกมีแนวโน้มหดตัวลง -2.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังลงไป -3.2% ในเดือนส.ค.
ขณะที่รัฐบาลจะประกาศข้อมูลข้างต้น โดยค้าปลีกประกาศ 28 ต.ค. และข้อมูลผลผลิตอุตสาหรรมจะประกาศ 29 ต.ค. นี้
ที่มา: Daily FX, FXStreet, Brecorder, CNBC, Reuters