· หุ้นเทคโนโลยีตลาดเอเชียพุ่ง- หุ้นอสังหาฯจีนขึ้น จาก Evergrande จ่ายหนี้
หุ้นเทคโนโลยีในตลาดเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ตามการปรับขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ ขณะที่หุ้นอสังหาริมทรัพย์จีนปรับขึ้นจากเหตุ “เซอร์ไพร์ส” ตลาด หลัง China Evergrande Group สามารถจ่ายชำระหนี้ดอกเบี้ยพันธบัตรก่อนครบกำหนดผ่อนผันชำระในวันที่ 23 ต.ค. นี้
ดัชนี HSI ปิด +0.44%
ดัชนี Shanghai Composite ปิดแดนบวก
ดัชนี Shenzhen Component ปิด +0.787%
· นิกเกอิปิดบวกรับข่าว Evergrande - ตลาดรอเลือกตั้งทั่วไปญี่ปุ่น และแนวโน้มผลประกอบการบริษัทที่ยังจำกัดการ “ปรับขึ้น”
ดัชนี Nikkei ปิด +0.69% ที่ 28,905.86 จุด หลังช่วงต้นตลาดปรับลง -0.56% และในสัปดาห์นี้ปรับลงแล้วประมาณ 0.55%
ดัชนี Topix ปิด +0.38% ที่ 2,008.34 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวกด้วยท่ามีระมัดระวัง - กังวลอสังหาฯจีนลดลง และตลาดสนใจประกาศผลประกอบการ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
ดัชนี Stoxx 600 เปิดขยับขึ้น +0.2% ตั้งแต่ช่วงต้นตลาด
หุ้นกลุ่มสินค้าครัวเรือน +0.9% แต่หุ้นกลุ่มเทเลคอมส์ ปรับลง -0.5%
อ้างอิงจากแนวหน้า
- เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้ารัฐยังต้องอัดฉีด
การปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลงเหลือ 1.0% และ 4.5% ในปี 2021-2022 โดย IMF สอดคล้องกับมุมมองของ Krungthai COMPASS ที่คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ 0.5% และ 3.9% ในปี 2021-2022 โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวได้ช้าเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จำนวนนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าไทยจะมีแผนการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2021 แต่จำนวนนักท่องเที่ยวไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากอัตราการติดเชื้อโควิด-19 รายวันของประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง ส่วนภาคส่งออกแม้จะฟื้นตัวได้แต่ยังมีปัจจัยลบที่เข้ามาชะลอการฟื้นตัวทั้งต้นทุนวัตถุดิบสำหรับภาคการผลิตและการขนส่งทางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
นอกจากนี้การคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะกลางของไทยอาจต้องพิจารณาdownside scenario ของการใช้ยุทธศาสตร์อยู่ร่วมกับโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น IMF คาดการณ์ว่าในระยะกลางเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวระหว่างปี 2023-2026 ที่ 3.5-4.0%แต่หากคำนึงถึงฉากทัศน์การอยู่ร่วมกับโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น ก็น่าจะทำให้การเติบโตของ GDP ของไทยในระยะกลางลดลงไปอีกราว 0.4-1.0% อันเกิดจากการสูญเสียผลิตภาพของภาคธุรกิจในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ การว่างงานที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว และการจำกัดการเดินทาง ดังนั้น จึงคาดว่า ธปท.จะยังไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของไทยที่ค่อนข้างน้อยจากความกังวลที่เศรษฐกิจไทยอาจเข้าสู่ภาวะชะงักงัน (Stagflation) อันเกิดจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ล่าช้า
- น้ำท่วมน้ำแล้ง ล้วนส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทย
น้ำท่วมเมืองไทยครั้งนี้ถูกประเมินเบื้องต้นว่าสร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจไทยอย่างน้อย 15,000 ล้านบาทโดยตัวเลขความเสียหายที่ถูกประเมินนี้มาจากการศึกษาโดยสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยโดยประเมินผลเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วมใน 31 จังหวัดในขณะนี้โดยประเมินตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2564 จนถึงช่วงปัจจุบัน
ที่มา: CNBC,Reuter