ราคาทองขึ้นรับถ้อยแถลง “เงินเฟ้อ” ของโพเวลล์
· ราคาทองคำปรับตัวขึ้นหลังจาก นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่ระบุถึง คาดการณ์เงินเฟ้อที่อ่อนตัวในปีหน้า ประกอบกับเฟดที่จะเริ่มต้นถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
· ราคาทองตลาดโลกปิด +0.6% ที่ 1,793.82 เหรียญ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดปรับขึ้น +1.7% ปิดสัปดาห์ +1.4%
· สัญญาทองคำปิด +0.8% ที่ 1,795.80 เหรียญ
· กองทุน SPDR เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม ปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 978.07 ตัน
· ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แต่การลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการขึ้นดอกเบี้ย ที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กลายมาเป็นปัจจัยกดดันความต้องการทองคำ
· นอกจากเฟดแล้ว การที่เงินเฟ้อในยูโรโซนที่เพิ่มสูงขึ้นรอบหลายปีก็ยังกดดันอีซีบีที่ตัดสินใจใช้มาตรการผ่อนคลาย ณ ปัจจุบันให้เปลี่ยนมาเข้มงวดขึ้น
· ซิลเวอร์ปิด +0.8% ที่ 24.34 เหรียญ
· แพลทินัมปิด -0.7% ที่ 1,041.52 เหรียญ
· พลาเดียมปิด +0.6% ที่ 2,029.18 เหรียญ
· ดอลลาร์อ่อนค่าต่อ แม้โพเวลล์ส่งสัญญาณลด QE
ดอลลาร์อ่อนค่าหลังจากที่นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่าจะเริ่มทำการลด QE ในเร็วๆนี้ แต่ไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย
บรรดานักลงทุนมีการเทขายสินทรัพย์เพื่อทำกำไร นับตั้งแต่ที่ดัชนีดอลลาร์มีการทำสูงสุดรอบ 1 ปีไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลเรื่องเงินเฟ้อจะอยู่ระดับสูงเป็นเวลานานที่อาจจะเป็นตัวยำให้เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงปิด -0.1% ที่ 93.64 จุด ขณะที่สัปดาห์ที่แล้วทำสูงสุดรอบ 1 ปีที่ 94.56 จุด
ค่าเงินยูโรปิด +0.09% ที่ 1.1636 ดอลลาร์/ยูโร
ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนต.ค. บ่งชี้ ถึงการขยายตัวอย่างแข็งแรงตั้งแต่เริ่มไตรมาสที่ 4/2021 ขณะที่ยังมีการติดเชื้อ Covid-19 แม้ว่าจะยังมีการขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงานในภาคการผลิต
· ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 57.3 ในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 55.0 ในเดือนก.ย. และยังทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 เดือน
ดัชนี PMI ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐมีการขยายตัว โดยมีปัจจัยกดดันอยู่บ้างจากปัญหาคอขวดในภาคการผลิต
สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 58.2 ในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.9 ในเดือนก.ย. และทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 เดือนเช่นกัน
· นางเจเนต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า การใช้จ่ายในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการ "Build Back Better" ซึ่งริเริ่มโดยนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯนั้น จะมีการจัดสรรในอีก 10 ปีข้างหน้า และเธอคิดว่าการใช้จ่ายในโครงการเหล่านี้จะไม่ทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อย่ำแย่ลง
· ทูตสหรัฐเรียกร้องเกาหลีเหนือยุติการยั่วยุ,ยอมรับเจรจาทางการทูต
นายซุง คิม ผู้แทนพิเศษสหรัฐ เปิดเผยว่า การทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นการต่อต้านความพยายามในการลดความตึงเครียด และเกาหลีเหนือควรเปิดรับการเจรจาทางการทูต
· อินเดียจะเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติด้านสภาพอากาศ ขณะที่แสดงจุดยืนของประเทศในประเด็นสำคัญ ๆ ซึ่งจะมีการเจรจาในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอกาศ COP26 ของสหประชาชาติที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-12 พ.ย.นี้
COVID-19 Updates:
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
กสิกรฯ คาดบาทสัปดาห์นี้ 32.80-33.80 จับตา flow ตปท.-ยอดส่งออกก.ย.
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสำหรับสัปดาห์ (25-29 ต.ค.) ที่ 32.80-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ตัวเลขการส่งออกและเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนก.ย.
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย รายได้/รายจ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core Price Index เดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. และจีดีพีไตรมาส 3/64 (advance) นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามผลการประชุม ECB และ BOJ ข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.จีน และจีดีพีไตรมาส 3/64 ของยูโรโซน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
ส่อง พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้าน ล่าสุดรัฐบาลอนุมัติแล้ว 2.37 แสนล้าน เหลือใช้เพียง 2.6 แสนล้านบาท รอลุ้นจะใช้พอในปี 2565 หรือต้องกู้เพิ่ม
วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยอดการใช้จ่ายเงิน พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ล่าสุด ได้มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติจาก ครม.แล้ว 237,000 ล้านบาท ส่งผลให้จะมีวงเงินเหลือใช้ในปี 2565 เพียง 263,000 ล้านบาทโดยโครงการที่มีการอนุมัติส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยเป็นหลัก เช่นมาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิต นักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน 10,000 ล้านบาท โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 13,230 ล้านบาท