ทองคำขยับขึ้น รับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและดอลลาร์ที่ปรับตัวลง
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.2% ที่ระดับ 1,796.55 เหรียญ
หลังจากที่ช่วงต้นตลาดปรับลงไปมากกว่า -0.6%
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +5.3 เหรียญ หรือ +0.3% ที่ระดับ 1,798.8 เหรียญ ระหว่างวันทำสูงสุดทดสอบ 1,801 เหรียญ
· กองทุนทองคำ SPDR ยังซื้อทองคำต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยเมื่อวานนี้ซื้อเพิ่ม 3.2 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำเพิ่มมาที่ 983.01 ตัน ถือเป็นระดับสูงสุดรอบ 10 วันทำการ
· ราคาทองคำปิดปรับขึ้น โดยมีลักษณะการซื้อขายที่ค่อนข้างแกว่งตัวในตลาดวานนี้ ซึ่งภาพรวมทองคำได้รับอานิสงส์จาก
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลดลงทำต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.52% และปิดตลาดที่ 1.5378%
- ดอลลาร์ปิด -0.1% ที่ 93.824 จุด หลังค่าเงินแคนาดาดอลลาร์, เยน และยูโรแข็งรับกระแสการคุมเข้มทางการเงินของธนาคารกลางต่างๆ
- ข้อมูลยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯออกมาแย่ลงน้อยกว่าคาดในเดือนก.ย. แม้จะมีค่าใช้จ่ายด้านภาคธุรกิจที่แข็งแกร่ง แต่ปัญหาห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนกลุ่มรถยนต์ ก็ดูจะส่งสผลให้ยอดส่งออกของประเทศหดตัว และมีแนวโน้มกระทบภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาที่ 3 ได้
- CNBC เผยมุมมองนักวิเคราะห์ ปัญหาห่วงโซ่อุปทานอาจไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และบริษัทต่างๆก็มีค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งทางสายการบินสูงขึ้น
- กองทุนทองคำ SPDR มีการซื้อทองคำเพิ่ม
- ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดลง
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลดลง โดย S&P500 ปิดร่วงจาก Record Highs จากฤดูกาลประกาศผลประกอบการที่เริ่มต้นทยอยออกไปจากตลาด
· นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ตลาดทองคำเคลื่อนไหวสะสมพลัง ท่ามกลางแนวทางกำหนดนโยบายคุมเข้มทางการเงินและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ที่ยังถือเป็นปัจจัยที่เป็นบวกต่อทองคำ ขณะเดียวกันการประกาศผลประกอบการที่เริ่มทยอยลดลง ก็ดูจะส่งผลให้เห็นความต้องการทองคำเพิ่มสูงขึ้นในเวลานี้
· World Gold Council เผย อุปสงค์ทองคำลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3/2021 จากนักลงทุนที่เริ่มมีการปิดสถานะถือทองในกองทุน ETFs จากภาวะดอลลาร์แข็งค่าและการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
อุปสงค์ทองคำไตรมาสที่ 3/2021 ทรงตัวที่ 831 ตัน ลดลงไปราว 7% เมื่อเทียบกับปีก่อน และลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 2/2021
อย่างไรก็ดี แม้จะเห็นความต้องการทองคำโดยองค์รวมปรับตัวลดลง แต่แนวโน้มอุปสงค์ทองคำในรูปจิวเวลรีปรับเพิ่มขึ้น และธนาคารกลางต่าๆงยังคงเพิ่มการถือครอง ขณะที่นักลงทุนมีการถือครองทองคำแท่งและเหรียญทองเพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้น ทำให้ภาพรวมของทองคำมีแนวโน้มเป็นบวกจากเม็ดเงินต่าๆงที่ไหลเข้ามาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2/2021 แต่ไตรมาสที่ 3/2021 จะเห็นถึงอุปสงค์ทองคำลดลงไป 26.7 ตัน
· บรรดานักลงทุนต่างกำลังให้ความสนใจกับการประชุมของอีซีบี และโดยเฉพาะการประชุมเฟดที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยตลาดสนใจว่า 3 พ.ย. นี้จะมีสัญญาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ในเรื่องกรอบเวลาทำ Tapering QE
· วันนี้อีซีบีถูกคาดว่าจะยังคงนโยบายและตัดสินใจใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจนถึงเดือน ธ.ค.
· ซิลเวอร์ปิด -0.1% ที่ 24.10 เหรียญ
· นักวิเคราะห์จาก StoneX กล่าวว่า ความน่าสนใจในซิลเวอร์กำลังเพิ่มมากขึ้นในตลาด และถือว่าเป็นผลดีต่อราคาทองคำ
· แพลทินัมปิด -1.4% ที่ 1,013.5 เหรียญ
· พลาเดียมปิด -2.6% ที่ 1,959.17 เหรียญ
· NRF รายงาน ยอดขายช่วงวันหยุดในสหรัฐฯอาจเพิ่มขึ้นมากสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 10% ปีนี้ สู่ระดับสูงกว่า 8 แสนล้านเหรียญ
ภาพรวมคาดหวังว่าจะเห็นยอดขายเพิ่มขึ้นในกรอบระหว่าง 8.5% - 10.5% หรือระหว่าง 8.434 -8.59 แสนล้านเหรียญ ช่วงเดือนพ.ย. และธ.ค. นี้ เมื่อเทียบกับมูลค่า 7.773 แสนล้านเหรียญในปีที่แล้ว
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 2 ปี ทำสูงสุดรอบ 19 เดือน จากกระแสคาดการณ์เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า
· ธนาคารกลางแคนาดา แถลงถึงการที่ “อาจจะเริ่มประเมินโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก” ส่งผลให้ตลาดเล็งเห็นถึงความพยายามที่จะลดการใช้นโยบายผ่อนคลายของธนาคารกลางต่างๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
· ธนาคารกลางออสเตรเลียจะทำการปรับลดเป้าหมายการซื้อพันธบัตรจนถึง เม.ย. ปี 2024 แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศจะอยู่ระดับสูง
นอกจากนี้ ธนาคารกลางออสเตรเลียยังมีแนวโน้มจะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์ด้วย
· ประชุมบีโอเจวันนี้ คาดอาจเห็นการคงนโยบายการเงิน และคาดการณ์เงินเฟ้อที่ยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ไปอย่างน้อยอีก 2 ปี
ขณะเดียวกัน บรรดานักวิเคราะห์ไม่คาดว่าจะเห็นบีโอเจจะปรับเพิ่มเป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับปีงบประมาณ 2022 ที่ระดับ 0.9% และปีต่อไปที่ 1%
· ประชุมอีซีบีวันนี้ มีแนวโน้มหนุนโอกาสขึ้นดอกเบี้ย แต่ภาพรวมจะยังคงแนวทางการดำเนินนโยบายต่อไป
· ไอเอ็มเอฟ เล็งเห็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก ภาพรวมยังเห็นความเสี่ยงขาลงครั้งใหญ่อยู่
· สมาชิกเดโมแครตเล็งเห็นโอกาสไม่ลงรอยเรื่อง “การขึ้นภาษีคนรวย” ในการระดมทุนเข้าภาครัฐ ตามแผนของ “ไบเดน”
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ ให้คำมั่นจะทำการเพิ่มค่าใช้จ่าย ท่ามกลางแผนการเร่งออกจากวิกฤตไวรัสระบาดเวลานี้
· รายงานผลประกอบการ CME รายไตรมาสยังสูงขึ้น ท่ามกลาง Bitcoin Futures ที่เพิ่มสูงขึ้น
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 469,035 ราย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเชื้อไวรัส Delta Plus ในเวลานี้ ส่งผลให้ยอดรวมสะสมทั่วโลกพุ่งแตะ 245.74 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมเพิ่มมาที่ 4.98 ล้านราย
จำนวนการรักษาหายทั่วโลกเมื่อวานนี้เพิ่มน้อยกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่ 376,300 รายส่งผลให้ยอดรักษาหายสะสมทั่วโลกเพิ่มแตะ 222.72 ล้านราย
· สำหรับสถานการณ์ในไทยวันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ 9,658 ราย เสียชีวิต 84 ราย
· นักบริหารการเงิน ระบุว่า วันนี้ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ 33.30 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่จะหนุนขึ้นกับ แรงขายทำกำไรทองคำ แนวต้านสำคัญอยู่ในโซน 33.40-33.50 บาท/ดอลลาร์ ส่วนแนวรับอยู่โซน 32.90-33.00 บาท/ดอลลาร์
ภาพรวมบรรยากาศการลงทุนที่เริ่มกลับมาไม่ค่อยสดใส อาจกดดันตลาดเอเชียและกดดันให้ เงินบาทอาจผันผวนในด้านอ่อนค่า จากแรงขายทำกำไรหุ้นไทยโดยนักลงทุนต่างชาติ
· ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ สัญญาณดี! เปิดประเทศรับต่างชาติ 1 พ.ย.นี้ หนุนเศรษฐกิจไทยปี 65 โตไกล 3.7% รับอานิสงส์ต่างชาติเที่ยวไทยทะลัก 2 ล้านคน ภาพรวมแนะนำจับตาราคาน้ำมันแพงกระทบค่าครองชีพประชาชน
นอกจากนี้ ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยไม่เกิดภาวะ Stagflation แม้เผชิญความเสี่ยงด้านพลังงานและเงินเฟ้อ พร้อมปรับเป้าจีดีพีปีนี้บวก 0.2% รับการกระจายวัคซีน และคลายล็อกาวน์เร็วกว่าคาด หากฉีดวัคซีนครอคลุมประชากรทั่วประเทศอาจเห็นจีดีพีปีหน้าโตได้ 3.7% ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในไทยมีโอกาสฉุดจีดีพีไทยมากถึง 0.16%
· กระทรวงการคลังคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 เติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 1% โดยคาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจไทยโตได้ 1.3% หวังเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้หลังเปิดประเทศ โดยคาดจะเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยได้มากถึง 6 ล้านคนในปีหน้า พร้อมแจงเหตุราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว
· ธนาคารโลกเมินจีดีพีเศรษฐกิจไทยถดถอยที่สุดในอาเซียน ผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีเพียงเวียดนามกับเมียนมาที่ยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่