ทองขึ้น – ดอลลาร์อ่อน ตลาดรอเฟด!
ราคาทองคำปิดปรับตัวสูงขึ้นเมื่อคืนที่ผ่นามา อันเป็นผลหลักจาก
- ดอลลาร์อ่อนค่า
- ตลาดหุ้นอ่อนกกำลัง
- นักลงทุนให้ความสนใจกรอบเวลาการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดในสัปดาห์นี้
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.6% ที่ 1,793.48 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.7% ที่ 1,795.80 เหรียญ
· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของราคาทองคำขึ้นอยู่กับดอลลาร์ และเราจะเห็นได้ถึงแรงทำสถานะที่เป็นไปอย่างจำกัดจากเฟด ขณะที่สัญญาณขาขึ้นเวลานี้ดูจะบ่งชี้ว่าอาจเป็นบวกต่อราคาทองคำในระยะยาว
· ตลาดสนใจประชุมเฟดช่วง 2 วันนี้ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นเฟดทำการลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตร ประกอบกับการเล็งเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ตลาดมองหานัยยะสำคัญต่อการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
· หัวหน้านักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์จาก Saxo Bank ระบุว่า ตลาดกำลังรอสัญญาณใหม่ๆจากประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ จนกว่าจะเห็นถึงความชัดเจนต่างๆที่มากขึ้น
· นักวิเคราะห์ จาก Stone X กล่าวว่า ความต้องการทองคำในกลุ่มค้าปลีกยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในอินเดียและจีน จึงยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนทองคำได้เป็นอย่างดี
· กองทุนทองคำ SPDR เปิดเดือนพ.ย. ขายออก 2.62 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 979.52 ตัน ถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ 6 เม.ย. ปี 2020
หลังจากที่เดือนต.ค. ขายออก 7.89 ตัน ถือเป็นการขายต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อ ขณะทีตั้งแต่ม.ค. - ต.ค. ขายออกสุทธิ 191.22 ตัน
· ซิลเวอร์ปิด +0.7% ที่ 24.01 เหรียญ
· แพลทินัมปิด +4.4% ที่ 1,062.56 เหรียญ
· พลาเดียมปิด +2.6% ที่ระดับ 2,054.69 เหรียญ หลังช่วงต้นตลาดปรับขึ้นได้มากถึง 3%
· สถานการณ์ขาดแคลนชิปยังเลวร้าย ขณะที่ราคาวัตถุดิบยังอยู่ระดับสุงกระทบต่อกิจกรรมการผลิตในสหรัฐฯ ช่วงเริ่มต้นไตรมาสที่ 4
อันจะเห็นได้จากข้อมูล ISM ที่เผยถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนต.ค. ชะลอตัวลงจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน แตะ 60.8 จุด จาก 61.1 จุดใ นเดือนก.ย.
ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ร่วงลงทำต่ำสุดรอบ 16 เดือน แม้จะเห็นความต้องการในสต็อกน้ำมันดิบค่อนข้างแข็งแกร่ง
· ข้อมูลค่าใช้จ่ายภาคการก่อสร้างปรับตัวลงเกินคาดในเดือนก.ย.ทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้โดยรวมลดลงไป -0.5% หลังขยายตัวได้ 0.1% เมื่อเดือนส.ค.
ภาพรวมค่าใช้จ่ายภาคการก่อสร้างรายปี ขยายตัวได้ 7.8% ในเดือนก.ย.
· ดอลลาร์อ่อนค่า “รอเฟด” ตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงิน
โดยสัปดาห์นี้ ตลาดการเงินให้ความสนใจกับแนวทางการดำเนินนโยบายของเฟด, ออสเตรเลีย และอังกฤษ ซึ่งตลาดโดยส่วนใหญ่คาดหวังจะเห็นเฟดดำเนินการประกาศทำ Tapering QE
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.321% ที่ 93.894 จุด
CME Futures เผยมุมมอง ตลาดการเงินส่วนใหญ่เริ่มประเมินเห็นโอกาส 50% ที่เฟดจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือนมิ.ย. ปีหน้า เมื่อเทียบกับโอกาส 15% ช่วงต้นเดือน
เฮดจ์ฟันด์ เมเนเจอร์จาก SLJ Capital มีการระบุกับกลุ่มลุกค้าว่า ตลาดค่าเงินดูเหมือนจะตอบรับกับท่าที Hawkish ที่มากขึ้นของอีซีบี มากกว่าท่าที Dovish ที่มากขึ้นของเฟด
ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าทำต่ำสุดรอบกว่า 2 สัปดาห์เมื่อเทียบดอลลาณ์ โดยได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของท่าทีบีโออี และความตึงเครียด Post-Brexit ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิการทำประมง
ขณะที่โดยส่วนใหญ่ ตลาดคาดหวังจะเห็นบีโออีทำการขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.15% สู่ระดับ 0.25% ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ แม้ว่าจะมีแนวโน้มการลงมติที่แตกต่างกันของสมาชิกในเรื่องสำคัญอื่นๆ รวมถึงสัญญาณคุมเข้มทางการเงิน
· “นางเจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ร้อนแรงเกินไปหรือเผชิญกับ Overheating ขณะที่เงินเฟ้อมีโอกาสสูงขึ้นในปีหน้า สอดคล้องกับผลกระทบของ Covid-19
· “เยลเลน” เปิดเผยว่า มีการหารือกับ “ไบเดน” เรื่องผู้มาดำรงตำแหน่งประธานเฟด พร้อมย้ำว่า “นายเจอโรม โพเวลล์” มีการดำเนินหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
· “ชัคส์ ชูมเมอร์ส” ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวถึงการหารือตามแผนของ “ไบเดน” มีความคืบหน้าเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายทางสังคม หรือร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ แม้ว่าจะมีความกังวลบางส่วนของสมาชิกเดโมแครตบางราย
· “ไบเดน” มีการหารือกับผู้นำทั่วโลก โดยระบุถึงสหรัฐฯจะดำเนินการตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือครึ่งหนึ่งภายในช่วง 10 ปีนี้ แม้จะยังมีความไม่แน่นอนในการได้รับเสียงสนับสนุนของสภาสหรัฐฯ เวลานี้
· กระทรวงการคลังสหรัฐฯมีการปรับเพิ่มประมาณการณ์การกู้ยืมช่วงไตรมาสที่ 4/2021 สู่ระดับ 1.015 ล้านล้านเหรียญ สูงกว่าที่เคยประเมินไว้ในช่วงเดือนส.ค. ที่ระดับ 7.03 แสนล้านเหรียญ
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อ Covid-19 สะสมทั่วโลกแตะ 247.82 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมทะลุ 5 ล้านราย ยอดรักษาหายสะสมทั่วโลกแตะ 224.5 ล้านราย
ไทยยังรั้งตำแหน่งติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นมากสุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก โดยล่าสุดมียอดติดเชื้อรวมสะสมในประเทศสูงกว่า 1.92 ล้านราย เสียชีวิตรวมสะสมแถว 19,000 ราย แต่ภาพรวมสถานการณ์ในไทยลดลงต่อเนื่อง! โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 7,574 ราย เสียชีวิตอีก 78 ราย
· CEO ของ NOVAVAX เผยว่า วัคซีนของบริษัทจะได้รับการอนุมัติเป็นครั้งแรกภายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้
· ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ "แข็งค่า" ที่ระดับ 33.31 บาท/ดอลลาร์ โดยมีกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.40 บาท/ดอลลาร์
นักบริหารการเงิน ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ซึ่งเราคาดว่าผู้เล่นต่างรอคอยที่จะขายทำกำไร หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้แนวต้านแถว 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์
อย่างไรก็ดี เงินบาทอาจเผชิญความผันผวนได้จากแรงขายทำกำไรหุ้นไทยออกมาบ้าง เนื่องจากเราเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการลงทุนในไทยไปก่อน จนกว่าจะมองภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังการทยอยเปิดประเทศในเดือนนี้ ได้อย่างชัดเจนก่อน อีกทั้งในระยะนี้ นักลงทุนต่างชาติมีตัวเลือกที่หลากหลายในการลงทุนโซนเอเชียหรืออาเซียน เช่น ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ตลาดหุ้นเวียดนาม เป็นต้น ทำให้โดยรวมฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติยังมีความผันผวนและไม่ได้มีทิศทางการไหลเข้าหรือออกของฟันด์โฟลว์ที่ชัดเจน
· อ้างอิงจากโพสต์ทูเดย์
เปิดประเทศวันแรก นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 1.5 หมื่นคน จาก 27 สายการบินทั่วโลก
· อ้างอิงจากไทยรัฐ
ท่องเที่ยวคึกคักรับเปิดประเทศ ททท.คาดปีนี้ต่างชาติเข้าไทย 7 แสนคน
· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
สัญญาณเศรษฐกิจไทยฟื้นช้า เปิดประเทศ 1 พ.ย. แค่ “ซ้อมใหญ่” ขณะที่ “การปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” ทำให้ช่วงนี้เริ่มเห็นสำนักวิจัยเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เริ่มปรับประมาณการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทย ในปี 2564 และ 2565 ใหม่อีกครั้ง
กระทรวงการคลังไทย มองจีดีพีปีนี้โตได้ 1%
กระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล มองภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศค่อนข้างเป็นบวก โดยคาดว่าจีดีพีไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะโตได้ 3% ซึ่งจะทำให้จีดีพีทั้งปีโตได้ที่ 1% ต่อปี (ช่วง 0.5-1.5%) แม้ว่าไตรมาส 3 เศรษฐกิจจะหดตัว
ปีงบ’64 รัฐกู้ชดเชยขาดดุลพุ่ง 7.36 แสนล้านบาท ส่งผลให้มีเงินคงคลังแตะ 5.88 แสนล้านบาท