· ทองรีบาวน์ - ดอลลาร์อ่อนค่า หลังเฟดเผยทำ Tapering QE
ราคาทองคำดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากที่เฟดเผยแผนที่จะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนนี้ ขณะที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป
ราคาทองคำตลาดโลก +0.3% ที่ระดับ 1,774.11 เหรียญ หลังจากทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. ในช่วงก่อนหน้านี้
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. +0.7% ที่ระดับ 1,776.80 เหรียญ
ดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.2% มาแถว 93.847 จุด
นักลงทุนในตลาดกำลังให้ความสนใจกับการประชุมกำหนดนโยบายของบีโออี ว่าจะยังคงดอกเบี้ย All-Time Low หรือมั่นใจว่าเศรษฐกิจโตพอสำหรับการขึ้นดอกเบี้ย
กิจกรรมภาคบริการญี่ปุ่นโตขึ้นเป็นครั้งแรกรอบ 21 เดือน ในเดือนต.ค. จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังไวรัสระบาด จึงช่วยหนุนอุปสงค์ทองบางส่วน
ซิลเวอร์ขยับขึ้น 0.1% ที่ 23.52 เหรียญ
แพลทินัมปรับขึ้น 0.7% ที่ 1,036.48 เหรียญ
พลาเดียมปรับขึ้น 0.6% ที่ 2,012.15 เหรียญ
· ทองร่วงแถว 1,776 เหรียญ ท่ามกลางเฟด Hawkish ตลาดกังวล Tapering
นักวิเคราะห์จาก FX Leaders ระบุว่า ทองยังแกว่งตัวในกรอบ 29 เหรียญ หลังทำต่ำสุด 1,759 เหรียญ ก่อนจะทรงตัว ขณะที่ราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย DMAs สะท้อนทองคำเคลื่อนไหว Sideways
อย่างไรก็ดี ทองคำมีสัญญาณเชิงลบ หลังราคาหลุดเส้น DMA-ราย 200 วัน ที่ระดับ 1,800 เหรียญ หากทองกลับมายืนได้เหนือระดับนี้ มีลุ้นขึ้นไปทำสอบสูงสุดเมื่อ 15 ก.ค. ที่ 1,834 เหรียญ อาจเป็นแนวต้านแรกที่จะเห็นทองคำขึ้นไปถึง 1,900 เหรียญ
แต่หากทองหลุดต่ำสุดวานนี้ 1,759 เหรียญ มีโอกาสลงมาในกรอบล่าง 1,740 - 1,750 เหรียญ
· ปอนด์, ยูโร แข็งค่าเทียบดอลลาร์หลังเฟดประกาศ Tapering
ปอนด์แข็งค่าแตะ 1.3695 ดอลลาร์/ปอนด์ ในตลาดเอเชีย หลังจากที่เมื่อวานนี้แข็งค่าขึ้นได้ +0.51% จากท่าทีของเฟดที่ Dovish มากขึ้น
ยูโรแข็งค่ามาแถว 1.1614 ดอลลาร์/ยูโร
ตลาดให้ความสนใจกับการที่เฟดอาจมีการขึ้นดอกเบี้ย จากความกังวลเงินเฟ้อที่ดูจะนานกว่าที่เฟดประมาณการณ์ไว้
· โพเวลล์ VS ลาการ์ด: กับตลาดจับตาโอกาสขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและอีซีบีเป็นสำคัญ
ขณะที่โอกาสเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยจากผลสำรวจต่างๆ สะท้อนว่า อาจเห็นการขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 ครั้ง ช่วงสิ้นปี 2022
ขณะที่โอกาส 50 -50 อาจเห็นการขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ภายในสิ้นปีหน้า
ด้านประธานอีซีบี สะท้อนสัญญาณยังไม่แน่นอนที่จะดำเนินนโยบายตามเฟดที่เริ่ม Hawkish
· สหรัฐฯ เผยรายงานฉบับใหม่ จีนกำลังขยายการใช้อาวุธนิวเคลียร์ปืนใหญ่ คาดอาจมีหัวนิวเคลียร์นำวิถีมากถึง 1,000 ชิ้นภายในปี 2030
· รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน เผยถึง ราคาอาหารในจีนพุ่งขึ้นทุกสัปดาห์ในเดือนต.ค. จึงยิ่งกดดัน PBoC ในการเสริมความเติบโตทางเศรษบกิจให้มีเสถียรภาพ
· จีนได้ดำเนินการเฝ้าระวังอย่างสูงที่ท่าเรือขาเข้า โดยมีการบังคับใช้นโยบายที่เข้มงวดในการเดินทางเข้าออกประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดไวรัสโคโรนาก่อนโอลิมปิกฤดูหนาว
· ผู้ว่าการบีโอเจ ส่งสัญญาณ "ไม่เร่งรีบ" ออกจากนโยบายผ่อนคลายการเงินเหมือนเฟดที่เริ่ม Tapering QE
· สถาบัน EBRD ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรป ปี 2021 อาจขยายตัวได้ 5.5% แต่ "เตือน" ให้ระวัง เงินเฟ้อ จากราคาพลังงานสูง และการระบาดที่จะกลับมาระลอกใหม่ อันเป็นผลจากความคืบหน้าการฉีดวัคซีนชะลอตัว
· EBRD มองว่าเศรษฐกิจรัสเซียเติบโต 3% ในปี 2022 ท่ามกลางความเสี่ยงจากมาตรการคว่ำบาตร
· ยอดขายรถยนต์ใหม่ของอังกฤษดิ่งลงราว 25% ในเดือนมิ.ย. จากผลขาดแคลน ชิป Semi-Conuctor ที่กำลังกระทบทั่วโลก
· ยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคอุตสาหกรรมรีบาวน์น้อยกว่าคาดในเดือนก.ย. โดยขยายตัวได้เพียง 1.3% ขณะที่เดือนก่อนหน้าปรับทบทวนลงมาที่ 8.8%