· ทองทำสูงสุดรอบ 2 เดือน ท่ามกลางนักลงทุนตอบรับท่าทีธนาคารกลาง Dovish
ราคาทองคำเปิดสัปดาห์ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 2 เดือนวันนี้ ท่ามกลางนักลงทุนที่มีท่าทีตอบรับกับบรรดาธนาคารกลางจะคงดอกเบี้ยต่ำ ประกอบกับความสนใจเรื่อง "เงินเฟ้อ" ช่วงปลายสัปดาห์
ทองคำตลาดโลกขยับขึ้น 0.2% ที่ 1,819.52 เหรีญญ หลังเช้านี้ทะยานทำสูงสุดตั้งแต่ 7 ก.ย.
สัญญาทองคำปรับขึ้น 0.3% เคลื่อนไหวแถว 1,822.1 เหรียญ
บรรดานักวิเคระาห์มองว่า แม้ข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯจะออกมาดีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่น่ามีแนวโฯ้มให้เฟดเปลี่ยนท่าที Dovish เวลานี้ได้ และนักลงทุนหันมาสนใจข้อมูล CPI สหรัฐฯคืนวันพุธ
นักวิเคราะห์จาก IG Market ระบุว่า ข้อมูลเงินเฟ้อดูเหมือนจะเห็นการปรับขึ้นสูงกว่าคาดการณ์ แต่ก็ไม่คิดว่าจะเห็นนักลงทุนมีภาวะ Panic มากนัก ซึ่งต้องลุ้นว่าหากทองคำยืนเหนือ 1,830 เหรียญได้ ก็อาจเห็นทองคำไปได้ไกลถึง 1,900 เหรียญ ประกอบกับอาจมีแนวโน้มในระยะยาวที่จะเห็นธนาคารกลางต่างๆคุมเข้มทางการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ "ลดน้อยลงไป"
นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ทองคำอาจขึ้นไปได้จากแรงหนุนของกลุ่มผู้ซื้อเวลานี้ ซแต่ถ้ามีการเข้าซื้อเข้ามามากก็อาจเห็นแรงขายตามมามาก และนั่นอาจเห็นทองคำปรับลงได้
ซิลเวอร์ปรับขึ้น 0.4% ที่ 24.27 เหรียญโดยประมาณ
แพลทินัมปรับขึ้น 0.7% ที่ 1,041.66 เหรียญ
พลาเดียม ขยับขึ้น 0.8% ที่ 2,050.78 เหรียญ
· Confluence Detector แนะจับตาทองคำที่อาจทะยานถึง 1,830 - 1,834 เหรียญ
ราคาทองคำวันนี้ยืนได้เหนือ 1,800 เหรียญ ก็ดูจะทำให้ภาพของตลาดสัปดาห์ที่แล้วกลับมาแข็.แกร่ง อันเนื่องจากสาเหตุสำคัญหลัก คือ
- ท่าที Dovish ของเฟดในเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย
- เฟดยังยืนใช้ดอกเบี้ยต่ำ
อย่างไรก็ดี การที่ดอลลาร์ และอัตราผลอตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯรีบาวน์ แม้จะเห็นถึงท่าทีระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่มากขึ้น ก็ดูจะมีผลต่อทิศทางขาขึ้นได้ก่อนถ้อยแถลงประธานเฟด
ระดับสำคัญของทองคำที่ต้องจับตา
ในทางเทคนิค เครื่องมือ Confluences Detector สะท้อนทองคำมีความท้าทายที่บริเวณ 1,821 เหรียญ และหากมีแรงซื้อเข้ามาหนุนก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะเห็นทองคำ Break ทดสอบแนวต้านแรก 1,830 เหรียญ และแนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ 1,834 เหรียญ ซึ่งเคยเป็นจุดสูงสุดเมือ่เดือนก.ย. ถ้าผ่านไปได้ ก็จะเผชิญกับแนวต้านแรกของภาพรายสัปดาห์บริเวณ 1,838 เหรียญ
ในทางกลับกัน ถ้าทองคำเผชิญแรงเทขายหลุดต่ำกว่าแนวรับ 1,817 เหรียญ ก็จะบดบังโอกาสขาขึ้น และมีโอกาสทดสอบ 1,814 เหรียญ รวมทั้งอาจกลับหาเส้น Fibonacci 23.6% ที่ระดับ 1,810 เหรียญ
นอกจากนี้ หากยังไม่สามารถยืนได้ ก็อาจปรับลงทดสอบ 1,805 เหรียญ ที่เป็นระดับแถว Fibonacci 23.6% และเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci 38.2% ของภาพรายวัน
· หยวนทรงตัวท่ามกลางดอลลาณ์แข็งรับข้อมูลการค้าจีน โดยหยวนเปิดแตะ 6.3975 หยวน/ดอลลาร์
· ดอลลาร์ทรงตัวในทิศทางแข็งค่า รอข้อมูลเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ถึงจะเห็นดอลลาร์ขยับแข็งค่า แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางตลาดที่จับตาคาดการณ์ต่างๆที่ผันผวน ประกอบกับสมาชิกธนาคารกลางเริ่มมีสัญญาณ "Wait-and-See" เรื่องการขึ้นดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อจะสูง
ดัชนีดอลลาร์ขยับขึ้น 0.1% ที่ 94.308 จุด
ขณะที่คืนนี้ จะมีถ้อยแถลงของสมาชิกเฟด 6 ราย แต่โดยภาพรวมตลาดรอถ้อยแถลงของนายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด
Goldman Sachs เคยคาดการณ์โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยในช่วง Q3/2023 จนล่าสุดมาอยู่ที่เดือนก.ค. ปี 2022 และภาพรวมเชื่ออาจเห็นการขึ้นดอกเบี้ยได้ก่อน ที่อาจกลายมาเป็นปัจจัยหนุนดอลลาร์
· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากอีซีบี ระบุว่า ข้อมูลเงินเฟ้อยูโรโซนที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นเวลานี้เป็นเพียง "ชั่วคราว" และเชื่อว่าจะเห็นการอ่อนตัวลงต่อในปีหน้า โดยระยะกลางยังเห็นการอ่อนกำลังลงอย่างมาก
· สมาชิกบีโอเจประสานเสียง "จำเป็น" ต้องคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ท่ามกลางเงินเฟ้ออ่อนแอ และมีสัญญาณปรับขึ้นปานกลาง ขณะที่การขยายตัวด้านค่าแรงอ่อนตัว
สมาชิกบอร์ดบริหารบีโอเจ 9 คน ประสานเสียงและยังมองเชิงบวกต่อค่าเงินเยน และยังมีบางรายมองเห็นถึงความแตกต่างในอัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินของญี่ปุ่นกับประเทศอื่นๆ
ขณะที่ปัญหาด้านอุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ดูจะหนุนให้เงินฟ้อพุ่ง และธนาคารกลางหลายแห่งจึงต้องพึ่งพาการขึ้นดอกเบี้ยและอาจจะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ราคาพลังงานและอาหารกำลังเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น แต่เงิเนฟ้อของญี่ปุ่นก็ยัง "อยู่ต่ำกว่า" เป้าที่บีโอเจกำหนดไว้ที่ 2% จากการขาดแคลนกำลังใจในการอุปโภคบริโภค ตั้งแต่บริษัทต่าๆง ตลอดจนราคาสินค้าที่พุ่งกระทบภาคครัวเรือน
· การนำเข้าถ่านหินของจีนในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนจากวิกฤตขาดแคลนพลังงาน
โดยเดือนที่ผ่านมานำเข้าสูงถึง 26.9 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 96.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว แต่ลดลง 18.2% จากระดับ 32.9 ล้านตันในเดือน ก.ย.
· ญี่ปุ่นปรับลดมุมมองเศรษฐกิจหลังจากมีสัญญาณชี้นำสำคัญที่ร่วงลงต่ำสุดรอบ 1 ปี เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีในเดือนก.ย. ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นประเมินทิศทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น "อ่อนตัว" หลังจากที่ "ฟื้นตัว" เป็นครั้งแรกตั้งแต่ส.ค. ปี 2019
· ติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกพุ่งทะลุ 250 ล้านราย โดยเฉพาะทางตะวันออกของยุโรปที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากที่สุดครั้งประวัติการณ์
· ออสเตรเลียเริ่มต้นให้ประชาชนฉีดบูสเข็ม 2 ท่ามกลางการผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดในซิดนีย์