• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564

    11 พฤศจิกายน 2564 | Gold News

ทองขึ้นทำสูงสุดรอบ 5 เดือนรับ เงินเฟ้อสหรัฐฯแกร่ง

ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดรอบ 5 เดือนได้เมื่อคืนที่ผ่านมา อันเป็นผลจากข้อมูลเงินเฟ้อที่จุดประกายให้เกิดความต้องการสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

 

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.7% ที่ระดับ 1,843.31 เหรียญ
ในช่วงต้นตลาดทำสูงสุดนับตั้งแต่ 15 มิ.ย. บริเวณ 1,868.20 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +1% ที่ระดับ 1,848.3 เหรียญ

 

·         ซิลเวอร์ปิด +1.3% ที่ 24.59 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด +0.7% ที่ 1,066.05 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิด +0.4% ที่ 2,028.44 เหรียญ

 

·         กองทุนทองคำ SPDR ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมยังถือครองทองคำที่ระดับ 975.41 ตัน ต่อเนื่อง 5 วันทำการ

 

·         ปัจจัยสำคัญต่อราคาทองคำเมื่อวานนี้


- ดัชนีราคาผู้บริโภค (
CPI) สหรัฐฯสะท้อนภาพรายปีเพิ่มขึ้นทำสูงสุดรอบ 31 ปี


- ความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ


- ความต้องการทองคำในฐานะ
 Safe-Haven ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 วันทำการ


อัตราผลตอบแทนแท้จริงของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลดลง


สภาวะ
 Risk-Off ที่เกิดขึ้น เข้ากดดันตลาดหุ้นในเวลานี้


Dow Jones ดิ่งกว่า 240 จุด – Nasdaq ทรุด -1.7% เหตุเงินเฟ้อร้อนแรงหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ขยับขึ้นจากที่อยู่ในแนวโน้มขาลง

·         ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายจาก High Ridge Futures กล่าวว่า เป็นอีกครั้งที่การเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงของข้อมูลเงินเฟ้อ ได้ช่วยหนุนทองคำในฐานสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น และเงินเฟ้อดูจะช่วยหนุนตลาดทองคำไปได้อีกหลายสัปดาห์ รวมถึงเดือนต่อๆไป

แต่การปรับขึ้นของเงินเฟ้อก็อาจเป็นดาบสองคม เพราะหากข้อมูลเงินเฟ้อยังร้อนแรงแบบนี้ต่อไปมากกว่าคาดการณ์ ก็จะกลายมาเป็นความกังวลว่าเฟดจะยิ่งลด
 QE รวดเร็วมากขึ้นกว่าที่ประเมินไว้

·         นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered ระบุว่า หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือระดับแนวต้านสำคัญ 1,835 เหรียญ และปิดเหนือ 1,851 เหรียญได้ จะมีโอกาสสูงที่จะเห็นทองคำกลับมาที่ระดับ 1,900 เหรียญ โดยที่ภาพรวมทองคำยังแข็งแกร่ง และมีอุปสงค์ทองคำในอินเดียที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย


·         
รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาทำต่ำสุดตั้งแต่ช่วงไวรัสระบาดแตะ 267,000 ราย หรือลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4,000 ราย


ทั้งนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นการลดลงต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ และข้อมูลล่าสุดถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. ปี 2020 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาเปิดทำการ และการระบาดของ
 Covid-19 ชะลอตัวลง

·         ราคาก๊าซโซลีนและอาหารพุ่งสูงหนุนเงินเฟ้อทำภาพรายปีในเดือนต.ค. แตะสูงสุดรอบ 31 ปี สะท้อนสัญญาณเงินเฟ้ออาจยังอยู่ระดับสูงต่อไปจนถึงปี 2022 ท่ามกลางปัญหาห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) ออกมาปรับขึ้นแตะ 6.2% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ ธ.ค. ปี 1990 ขณะที่ข้อมูลรายเดือนพบขยายตัวเกินคาด 0.9%



ดัชนี
 Core CPI ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน พบขยายตัวรายเดือนเกินคาดที่ระดับ 0.6% ส่งผลให้ภาพรวมรายปีปรับขึ้นไปแตะ 4.6% สูงสุดตั้งแต่ส.ค. ปี 1991


·         บรรดานักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า เฟดจะเริ่มต้นขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2022

·         ดอลลาร์ปิดแข็งค่า +0.96% ที่ 94.858 จุด ระหว่างวันทำสูงสุดรอบ 15 เดือนที่ระดับ 94.879 จุด รับกระแสเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เพื่อสกัดเงินเฟ้อสูง

·         กังวลเงินเฟ้อหนุน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ทำสูงสุดตั้งแต่ 25 ก.พ. ที่ระดับ 1.592% ก่อนปิดที่บริเวณ  1.5733%

·         Bitcoin ยังทำ All-Time High ใหม่บริเวณ 69,000 เหรียญ หลังทราบข้อมูลเงินเฟ้อ ก่อนเผชิญแรงขายทำกำไรปิด -1% บริเวณ 66,221.75 เหรียญ

·         นางแมรี ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก มองเงินเฟ้อระยะปานกลางยัง “มีความไม่แน่นอน” และทำให้เฟดควรอดทนรอ เพราะยังเร็วเกินไปที่จะทำการขึ้นดอกเบี้ยเวลานี้ หรือแม้แต่การเร่งปรับลด QE

·         อดีตนักเศรษฐศาสตร์ระดับสูงของนายโอบามา วิเคราะห์ว่า “เงินเฟ้อสูง” จะเป็นตัวเปลี่ยนแผนการกำหนดนโยบายของเฟด ให้ต้องหารือถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย

·         “ไบเดน” ชี้ ราคาสินค้าต่างๆที่เพิ่มสูงเกินไป เป็นอุปสรรคต่อการต่อสู้กับเงินเฟ้อ พร้อมแสดงถึงความตั้งใจจะสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในรอบกว่า 30 ปี

·         “นายโจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะทำการลงนามโครงสร้างพื้นฐาน 1 ล้านล้านเหรียญในวันจันทร์หน้า

·         “นายสี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีน เผย พร้อมที่จะดำเนินการร่วมกับสหรัฐฯ ภายใต้เงื่อนไข “การเคารพซึ่งกันและกัน”

·         สหรัฐฯ - จีน ให้คำมั่นร่วมสนับสนุนการดำเนินการร่วมกันในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

 

·         COVID-19 UPDATES:

 


ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 524,128 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นแตะ 252.09 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 5.08 ล้านราย ทางด้านรักษาหายทั่วโลกสะสม 228.15 ล้านราย

 

·         สถานการณ์ในไทย

โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 7,496 ราย เสียชีวิต 57 ราย ป่วยสะสมเฉียด 2 ล้าน



ภาพรวมแนวโน้มผู้ติดเชื้อใหม่มีจำนวนลดลงอยู่ในหลักพัน และยอดผู้เสียชีวิตต่ำกว่าร้อยติดต่อกันหลายสัปดาห์ และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้รักษาหายป่วยกลับบ้านมากกว่ายอดผู้ป่วยติดเชื้อรายวัน ถึงแม้การติดเชื้อในต่างจังหวัด ยังพบ "คลัสเตอร์ใหม่" เพิ่มขึ้นไม่หยุด ขณะที่ อัตราการฉีดวัคซีนในประเทศไทยทะลุ 70% ในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

 

ไทยรัฐรายงานว่า เปิดประเทศ 7 วัน พบ นทท.ติดโควิดฯ ห่วงต่างด้าวลอบเข้าไทยอื้อ-เชื้อปะทุ

สถานการณ์โควิดไทย หลังเปิดประเทศครบ 7 วัน ภาพรวมครึกครื้น-คาดเศรษฐกิจปลายปีคึกคัก นายกฯ ปลื้มสัญญาณดีขึ้น-ไทยฉีดวัคซีนอันดับ 18 โลก เผยหลังเปิดประเทศ 1 สัปดาห์ พบ นทท.ต่างชาติติดโควิดเกือบทุกวั

 

·         ‘เงินบาท’ วันนี้เปิด’อ่อนค่า’ ที่32.87บาท/ดอลลาร์

“กรุงไทย” ชี้แนวโน้มเงินบาทผันผวน จากแรงขายทำกำไรทองคำและฟันด์โฟลว์ต่างชาติไหลเข้า หลังกนง.มองเศรษฐกิจฟื้นดีและดอลลาร์แข็งค่าสุดรอบปี จับตาโควิดระบาดหนักช่วงฤดูหนาวเห็นยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทั้งยุโรปและจีน มองกรอบเงินบาทวันนี้ 32.70-32.90 บาท/ดอลลาร์

 

·         สรุปประชุมกนง.
- กนง. มีมติคงดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี ชี้ เศรษฐกิจไทยพ้นจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3  และทยอยเห็นการฟื้นตัวได้ตามการคลาย
 Lockdown และการเปิดประเทศ รวมถึงการฉีดวัคซีนที่ช่วยให้ความเสี่ยงลดต่ำลง

ขณะที่แนวโน้มการฟื้นตัวของไทยยังคงมีความ “เปราะบาง” และ “ไม่แน่นอน” อยู่ในเวลานี้ ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวเป็นผลจากราคาพลังงานโลกเป็นหลัก

กนง. เชื่อว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ประกอบกับมาตรการทางการเงินการคลังที่มีความต่อเนื่อง เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง โดยเศรษฐกิจไทยปี 2564 และปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับที่คาดไว้ในการประชุมครั้งก่อน

สำหรับสภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่ความเสี่ยงด้านเครดิตยังเป็นอุปสรรคต่อการกระจายตัวของสินเชื่อ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ 
SMEs และภาคครัวเรือน ซึ่งมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้บางส่วน

ทั้งนี้ กนง. เครื่องมือจะติดตามปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อกแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่


1) พัฒนาการของการระบาดหลังเปิดประเทศ


2) ความพอเพียงของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ


3) การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานโลก

อย่างไรก็ดี กนง. ส่งสัญญาณพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติม “หากจำเป็น”

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- “วิจัยกรุงศรี” ห่วงค่าครองชีพพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจฟื้นช้า แนะรัฐกระตุ้นการบริโภค




ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน (KR-ECI) ล่าสุดชี้ว่า ในเดือนตุลาคม 2564 ครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพ เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้ราคาพืชผักสูงขึ้น


ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงชี้ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในส่วนของการบริโภคยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดำเนินการเปิดประเทศด้วยมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่ชัดเจน


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com