· Reuters | "ประธานเฟดคนต่อไป" คือ สิ่งที่นักลงทุนกำลังสนใจ
การปราศจากข่าวเกี่ยวกับการเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไปจาก นายโจ ไบเดน ประธานเฟด กำลังส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์กันอย่างหนักในตลาดเวลานี้ ท่ามกลางเฟดที่เตรียมจะเริ่มลด QE และแนวโน้มการจะเริ่มต้นขึ้นดอกเบี้ย
นักลงทุนหลายรายๆ อาจคาดหวังที่จะเห็น นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดคนปัจจุบัน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายทรัมป์ ในปี 2017 และเขาก็อาจได้รับเลือกให้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานเฟด "สมัยที่ 2"
ทีมบริหารไบเดน เผยว่า ณ เวลานี้ นายไบเดนกำลังประเมินว่า จะเลือก "นายโพเวลล์" หรือ "นางลาเอล เบรนาร์ด" ผู้ว่าการเฟดมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไปดี
หนึ่งในกระแสคาดการณ์บนโลกออนไลน์ มีการคาดการณ์กันว่า
- นายโพเวลล์ มีโอกาสมากถึง 74% ที่จะได้รับการยืนยันจากส.ว.สหรัฐฯ
- นางเบรนาร์ด มีโอกาสเพียง 26%
ทั้งนี้ ไม่ว่าใครจะได้รับเลือกจากนายไบเดน ก็ต้องได้รับเสียงรับรองจากคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภาสหรํฐฯ ก่อนจะส่งต่อไปให้บรรดาสมาชิกวุฒิสภาลงมติต่อ และจำเป็นต้องได้รับเสียงข้างมาก
ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อตลาดต่างๆ?
ผู้ที่จะมาเป็นประธานเฟดคนต่อไป "มักจะสำคัญต่อตลาดเสมอ" และการตัดสินใจของนายไบเดน ในปีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่เฟดมีการประกาศแผนการเริ่มต้นลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน 1.2 แสนล้านเหรียญ ณ ปัจจุบัน
ณ ช่วงเวลาเดียวกัน เฟดก็กำลังตัดสินใจต่อเรื่องเงินเฟ้อสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ยังดำเนินต่อไปจากภาวะ Covid-19 ระบาด
การดำรงตำแหน่งของนายโพเวลล์ ประธานเฟดคนปัจจุบัน จะสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนก.พ. ปี 2022 โดยที่ นายโพเวลล์ ดูจะ "เป็นมิตร" ต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นได้กว่า 74.5% นับตั้งแต่ที่นายโพเวลล์ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 ก.พ. ปี 2018 และก็ยังคงทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ยาวนานอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการฉุกเฉินของเฟดเพื่อรับมือกับการระบาดของ Covid-19
สิ่งที่จะสะท้อนนโยบายการเงินของเฟด?
นางลาเอล เบรนาร์ด คือคนที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในผู้ว่าการธนาคารของเฟดในยุคของนายโอบามา เมื่อปี 2014 ที่ ณ ขณะนี้ดูเหมือน "จะมีท่าที Dovish มากขึ้น หรือใช้นโยบายผ่อนคลายมากกว่า" นายโพเวลล์ ประธานเฟดคนปัจจุบัน เพราะจะเห็นได้ว่า เธอมักผลักดันให้มีการคงนโยบายผ่อนคลายการเงินฉบับพิเศษไว้จนกว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้น หรือการจ้างงานฟื้นตัว
อย่างไรก็ดี การมี "นโยบาย Dovish มากขึ้น" อาจเป็นเรื่องที่ดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ ตลาดหุ้นต่างๆ
นักลงทุนในตลาดกำลังแสดงท่าที "ระมัดระวัง" ต่อการเปลี่ยนแปลงผู้นำเฟดในครั้งนี้ ในภาวะการแข่งขันกันฟื้นตัวจากไวรัสระบาด โดยบางส่วนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ อาจสร้างความเสี่ยงต่อการตีความนโยบายการเงิน "อย่างผิดๆ" รวมถึงอาจสร้าง "ความผันผวน" ต่อตลาดการเงินได้
มีอะไรที่อาจเปลี่ยนแปลงได้บ้าง?
- อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎระเบียบของภาคธนาคารในสหรัฐฯ ตั้งแต่เงินทุนธนาคาร ตลอดจนการปล่อยสินเชื่ออย่างเป็นธรรม
- อาจเห็นเรื่องความเสี่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและค่าเงินดิจิทััล
ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา "นางเบรนาร์ด" มีการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์หลายประการ ภายใต้การดูแลของ นายแรนดัล ควอเลส รองประธานเฟดด้านการกำกับดูแลภาคธนาคาร ที่ได้รับการสนับสนุนของประธานเฟด โดยที่ธนาคารหลายๆแห่งมีการคาดการณ์กันว่า นางเบรนาร์ด อาจมีท่าทีเข้มงวดมากขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรม หากเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานเฟด
นักวิเคราะห์จาก Societe Generale กล่าวว่า การแทนที่นโยบายผ่อนคลาย Dovish อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงิน แต่อาจให้ความสำคัญกับแง่มุมต่างๆ อาทิ กฎระเบียบภาคธนาคาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่มา: Reuters