• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564

    16 พฤศจิกายน 2564 | Gold News
     

ทองคำขยับขึ้นจากกังวลเงินเฟ้อ เมินดอลลาร์-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขึ้น

ราคาทองคำในวันนี้ยังขยับขึ้น แม้ดอลลาร์ขยับแข็งค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น โดยตลาดยังได้รับอานิสงส์หลักจาก


- ความวิตกกังวลเงินเฟ้อระดับสูง
- ความต้องการสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
- อุปสงค์ทองคำเพิ่ม จีนมีการนำเข้าทองคำเฉลี่ยราว 25 ตัน


·         ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้น 0.2ที่ 1,865.81 เหรียญ

·         Gold Futures ปรับขึ้นมา 0.1% แถว 1,868.40 เหรียญ


·         ภาพรวมราคาทองคำตั้งแต่วันพุธที่แล้วขยับขึ้นมาได้ประมาณ +1.7อันเนื่องจากดัชนี CPI สหรัฐฯ ออกมาสูงเกินคาด ขณะที่ดอลลาร์ทำแข็งค่ามากสุดรอบ 16 เดือน และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น


·         นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก DailyFX กล่าวว่า เงินเฟ้อดูสูงก็ดูจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้เฟดอาจต้องทำการคุมเข้มทางการเงินเพิ่มเติม  แต่ท่าทีเฟดในการคุมเข้มทางการเงินก็ยัง “ไม่เพียงพอ” แต่กลับช่วยเพิ่มความต้องการสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างทองคำ แม้ว่าดอลลาร์จะปรับแข็งค่าขึ้นก็ตาม

จะเห็นได้ว่า หลังจากที่ทองคำ
 Breakout ระดับสำคัญได้ในคืนวันพุธที่แล้วรับตัวเลข CPI ก็จะเห็นแรงสะท้อนในสภาวะ Knee-Jerk ทำทองคำกลับมาเคลื่อนไหวในแดนบวกมากขึ้น


·         บรรดานักลงทุนจับตา “ข้อมูลค้าปลีกสหรัฐฯ” ที่จะประกาศ 20.30น.

 

·         นักวิเคราห์จาก ANZ กล่าวว่า การที่เฟดประกาศจะเริ่มต้นลด QE แต่ลดสัญญาณการเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ย ก็ดูจะเป็น “ผลดีต่อการลงทุนในทองคำ” ประกอบกับอุปสงค์ทองคำที่กำลังเพิ่มขึ้นจึงยิ่งเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อราคาทองคำ โดยเฉพาะการนำเข้าทองคำจากจีนเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 25 ตัน จากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วที่น้อยกว่า 10 ตัน

·         Gold Price Forecast: ทองคำขาขึ้น “ชะลอ” ตัวแถวเส้น Trend-Line


Technical outlook


นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ในทางเทคนิค ราคาทองคำมีการปรับขึ้นมาได้ จึงหนุนภาพระยะสั้นแกว่งตัวขึ้น และมีแนวโน้มขยายตัวได้ถึงระดับสูงสุดช่วงเดือนก.ย. ปี 2020

ด้านสัญญาณ
 RSI ในภาพรายวันเคลื่อนไหวในแดน Overbought  จึงอาจทำให้นักลงทุนควรต้องรอราคา Breakout ออกจากกรอบการแกว่งตัว เพราะหากผ่านแนวต้านสำคัญนี้ไปได้ มีลุ้นเห็นราคาแกว่งขึ้นอย่างรวดเร็วและอาจไปได้ถึงระดับ 1,900 เหรียญ ก่อนจะกลับไปแถวสูงสุดช่วงเดือนมิ.ย. บริเวณ 1,916 – 1,917 เหรียญ

ในทางกลับกัน หากราคาทองคำหลุดต่ำกว่า 1,850 เหรียญ ก็ยังมีโอกาสเห็น “แรงซื้อกลับเพื่อเก็งกำไร” จึงอาจช่วยจำกัดภาวะขาลงในทองคำ แต่หากไม่สามารถฟื้นตัวได้ ก็อาจกลับลงมาบริเวณ 1,834 – 1,832 เหรียญ

หากราคาล้มเหลวในการยืนเหนือระดับดังกล่าว อาจเห็นราคาปรับลงอย่างรวดเร็วมาที่แนวรับสำคัญ 1,800 เหรียญได้

ปัจจัยที่ต้องติดตาม
20.30น. - ค้าปลีกสหรัฐฯ


ข้อมูลนี้อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และดอลลาร์ รวมถึงความเชื่อมั่นของตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ที่อาจจะยิ่งเพิ่มโอกาสการทำเทรดในทองคำ

 

·         Gold Price Forecast: ทองคำยังมีแนวโน้มกลับยืนเหนือ 1,900 เหรียญ

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FXStreet กล่าวถึง กรณีที่ราคาทองคำว่ายังสามารถเคลื่อนไหวได้เหนือ 1,860 เหรียญ จะยิ่ง “สร้างแรงดึงดูด” แก่นักลงทุนในการเข้าถือครองสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

ความกังวล “เงินเฟ้อ” ถือเป็นปัจจัยช่วยจำกัดการปรับลงของราคาทองคำ

ภาพรวมตลาดการเงินต่างๆ กำลังประเมินถึงความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนก.ค. ปี 2022

ทางด้าน
 Fed Fund Futures ก็สะท้อนโอกาสเห็นการขึ้นดอกเบี้ยได้อีกหนึ่งครั้ง ราวช่วงเดือนพ.ย. ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

 

ทั้งนี้ การปรับขึ้นของราคาทองคำหากสามารถผ่าน 1,900 เหรียญไปได้ ก็มีหวังเห็นทองคำกลับมาบริเวณสูงสุดช่วงมิ.ย. บริเวณ 1,916 – 1,917 เหรียญ และเช่นเดียวกัน หากทองคำหลุด 1,850 เหรียญ ก็อาจเห็นทองคำกลับทดสอบ 1,834  - 1,832 เหรียญ รวมไปถึงอาจผันผวนกลับลงมาบริเวณ 1,800 เหรียญได้

 

·             Credit Suisse คาดการณ์ทองคำอาจกลับมาระดับสูงสุดประวัติการณ์ 2,075 เหรียญอีกครั้ง หากสามารถ Breakout เหนือ 1,917 เหรียญ

 

·         ซิลเวอร์วันนี้ปรับขึ้นเล็กน้อย 0.1% มาแถว 25.06 เหรียญ

·         แพลทินัมปรับลง 0.2% บริเวณ 1,085.28 เหรียญ

·         พลาเดียมอ่อนตัวลงอีก 0.9% มาที่ 2,133.89 เหรียญ

 

·         ดอลลาร์ขยับอ่อนค่าเทียบ “หยวน” ที่แข็งค่าทำสูงสุดรอบ 5 เดือน รับท่าที “ไบเดน - สี” ในเชิงเป็น “มิตร”

 

·         Bitcoin ดิ่งเกือบ -7% แถว 60,000 เหรียญ ท่ามกลางตลาด Cryptocurrency ทรุด

·         ราคาทองแดงปรับขึ้นท่ามกลางนักลงทุนตอบรับท่าที “ไบเดน-สี” เจรจา - ดอลลาร์อ่อนค่า ขณะที่เชื่อมั่นสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว

สัญญาทองแดงตลาด LME ปรับขึ้นไปกว่า 0.7% แถว 9,742 เหรียญ/ตัน ก่อนจะอ่อนตัวลงมา -0.6% ที่ 9,616 เหรียญ/ตัน

สัญญาซื้อขายทองแดงในตลาด
 Shanghai Futures Exchange ปิด -0.8ที่ระดับ 70,360 หยวน/ตัน หรือคิดเป็น 11,031.5 เหรียญ/ตัน หลังจากที่ช่วงต้นตลาดทะยานไปกว่า +0.4%

 

·         “สี จิ้นผิง” ผู้นำจีน ใช้เวทีประชุมครั้งนี้ เป็นการเตือนสหรัฐฯ “อย่าเล่นกับไฟ” ต่อกรณีไต้หวัน ด้วยการสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นอิสระจากจีน

 

·         ประชุม “ไบเดน-สี” ผ่าน Virtual Meeting จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายเรียกร้อง “ความร่วมมือร่วมกัน” มากขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสองประเทศ

การประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ร่วมกับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในหลายประเด็น ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯญประเด็นไต้หวัน และประเด็นสิทธิมนุษยชน

เรียกได้ว่าการพบกันของ 2 ผู้นำเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่นายไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯเมื่อเดือนม.ค. ท่ามกลาง 2 ประเทศที่ยังมีท่าทีตึงเครียด แต่ในการประชุมวาระนี้ “ต่างฝ่ายต่างย้ำ” ถึงการจะหาวิธีหลีกเลี่ยงข้อพิพาท

ในการประชุมครั้งนี้ นายไบเดน กล่าวกับนายสีว่า สหรัฐฯจะต่อต้านความพยายามที่จะบ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน พร้อมกับแสดงความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนด้วยการกดขี่ข่มเหงชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง รวมทั้งการที่จีนกวาดล้างผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง แต่นายไบเดน ก็ให้คำมั่นว่า  “สหรัฐฯจะผลักดันเสรีภาพและการเปิดกว้างในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกให้มีความคืบหน้ามากขึ้น” พร้อมสนับสนุน “นโยบายจีนเดียว” โดยจีนจำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงรุก หากพบว่ามีกองกำลังสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราชของไต้หวันกำลังก้าวก่าวกิจการภายในของจี

 

·         วลีเด็ด “เพื่อนเก่า” ในการหารือ “ไบเดน-สี”  โดยทั้งสองฝ่ายมีท่าทีหลีกเลี่ยงข้อพิพาทในการประชุมวาระนี้  โดย “ไบเดน” ย้ำว่า ประเด็นเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองประเทศไม่ควรถูกนำมาขยายผลเป็นประเด็นทางการเมือง และทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องร่วมมือกันมากขึ้น

·         “สตีเฟน รอช” อดีตนักเศรษฐศาสตร์ของเฟด กล่าวว่า “เฟดควรขึ้นดอกเบี้ยทันที” เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะ STAGFLATION

เพราะหากไม่รีบดำเนินการ ก็อาจส่งผลเสียให้เศรษฐกิจสหสรัฐฯเผชิญสภาวะ Shockwaves ได้

 

·         บีโอเจ ตัดสินใจพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือธนาคารต่างๆในภูมิภาค

 

·         ธนาคารกลางออสเตรเลียสร้างความ “ผิดหวัง” แก่ตลาดอีกครั้ง ด้วยการเรียกร้องขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com