• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564

    17 พฤศจิกายน 2564 | Gold News



ทองลง – ค้าปลีกสหรัฐฯแกร่ง หนุนดอลลาร์แข็ง

 

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.6% ที่ระดับ 1,851.80 เหรียญ
หลังจากที่ช่วงต้นตลาดทำสูงสุดตั้งแต่ 14 มิ.ย. ที่ระดับ 1,876.90 เหรียญ


·         
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.7% ที่ระดับ 1,854.10 เหรียญ

 

·         ราคาทองคำปิดปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดรอบ 5 เดือน โดยได้รับแรงกดดันจาก

- ยอดค้าปลีกสหรัฐฯเดือนต.ค. ปรับขึ้น 1.7% ถือเป็นระดับการขยายตัวได้มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หลังจากที่เดือนก่อนหน้าขยายตัวได้ 0.8% ยังคงเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน

Core Retail Sales ขยายตัวได้ 1.6% ในเดือนต.ค. จากระดับ 0.5% ในเดือนก่อนหน้า

- ดอลลาร์ทำแข็งค่ารอบ 16 เดือน ระหว่างวันทำสูงสุดที่ 95.928 จุด สูงสุดตั้งแต่ ก.ค. ปี 2020 ก่อนจะปิดตลาด +0.38
ที่ระดับ 95.898 จุด

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นแตะ 1.63
%

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นแข็งแกร่ง รับข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการบริษัท
 Q3/2021 ที่แข็งแกร่ง
 

·         นักวิเคราะห์ระดับอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ขยยายตัวอย่างรวดเร็ว สะท้อนถึงการอุปโภคบริโภคที่สามารถรับมือกับราคาสินค้าสูงได้ และทำให้สินทรัพย์เสี่ยงได้รับผลเชิงบวกจากข้อมูลแข็งแกร่งล่าสุดนี้  

แต่ภาพรวมทองคำยังอยู่ในทิศทางค่อยๆปรับตัวสูงขึ้น และเชื่อว่ามีโอกาสจะเห็นทองคำไปถึง 1,900 เหรียญได้

 

·         หัวหน้านักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดจาก Exinity กล่าวว่า ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯที่ยังอยู่ระดับสูงมากยังช่วยให้ตลาดทองคำยังมีแรงซื้อ และตราบเท่าที่เฟดจะอดทนรอในการขึ้นดอกเบี้ย ยังถือเป็นปัจจัยบวกต่อตลาด

 

·         ซิลเวอร์ปิด -0.9ที่ 24.81 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด -2.2ที่ 1,063.50 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิด +0.5ที่ระดับ 2,163.93 เหรียญ ถือเป็นสูงสุดรอบ 1 เดือน

 

·         Bitcoin วานนี้ดิ่งแรงหลุด 60,000 เหรียญ ตามการร่วงลงของค่าเงิน Cryptocurrency อื่นๆในตลาด

 

·         นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯควรขยายเพดานหนี้ เพื่อจำกัดการผิดนัดชำระหนี้ภายในกำหนดเส้นตาย 15 ธ.ค. นี้ และต้องให้สภาคองเกรสได้มีเวลา “มากกว่านี้” ในการจัดการรายละเอียดข้อตกลง

 

·         สมาชิกเฟดบางส่วน กำลังพิจารณาเรื่อง “เงินเฟ้อสูง” จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างไร และจำเป็นต้องมีการควบคุมหรือไม่

ทั้งนี้ สมาชิกเฟดบางรายมองว่าเงินเฟ้อสูงอาจส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนสหรัฐฯ และอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผุ้บริโภค ซึ่งอาจต้องจัดการให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้
 

·         ท่ามกลางกระแสเฟดที่หารือเรื่อง “เงินเฟ้อร้อนแรง” - นายไบเดน ก็เข้าใกล้การเลือกประธานเฟดคนต่อไปว่าจะเป็น “นายโพเวลล์” ประธานเฟดคนปัจจุบัน หรือเป็น “นางลาเอล เบรนาร์ด” ผู้ว่าการเฟด 

ตลาดยังให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งประธานเฟดคนต่อไปของ “นายไบเดน” ในเร็วๆนี้

นักวิเคราะห์จาก Commonwealth Bank ระบุว่า ถ้าหากนายโพเวลล์ ได้รับเลือกอีกครั้ง ก็จะไม่มีผลต่อดอลลาร์มากนัก แต่หากเป็น “นางเบรนาร์ด” ก็อาจลดท่าทีการขึ้นดอกเบี้ย และกระทบดอลลาร์ เนื่องจากนางเบรนาร์ด ดูจะมีท่าทีเป็น Dovish มากกว่าสมาชิกเฟดคนอื่นๆ

 

·         ไบเดน เผยจะตัดสินใจเลือกประธานเฟดในอีก 4 วัน ท่ามกลางการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย

 

·         นายจิม เครเมอร์ ผู้สื่อข่าวสายลงทุนชื่อดังของ CNBC เล็งเห็นสัญญาณแรงกดดันเงินเฟ้อที่กำลังอ่อนตัวลง และเชื่อว่าเฟดจะดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสม

 

·         ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา ไม่คิดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

·         ถ้อยแถลงเรื่องดอกเบี้ยล่าสุดของอีซีบีกำลังกดดันยูโรให้ทำต่ำสุดรอบ 16 เดือนเมื่อเทียบดอลลาร์แถว 1.13 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดที่ไม่ได้เห็นมาตั้งแต่ Covid-19 เริ่มต้นระบาด

ทั้งนี้ ยูโรอ่อนค่าต่อเนื่อง หลังจากคืนวันจันทร์ที่ นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี ย้ำว่า การขึ้นดอกเบี้ยอาจเป็นการทำลายสัญญาณเชิงบวกที่มีมากขึ้นในเวลานี้ สะท้อนการมีแนวทาง Dovish สวนทางกับธนาคารกลางขนาดใหญ่หลายแห่งๆที่มีท่าทีจะเป็นไปแบบ Hawkish มากขึ้น


·         ค่าเงินลีราทำอ่อนค่ามากสุดครั้งประวัติศาสตร์บริเวณ 10.35 ลีรา/ดอลลาร์ ลดลงกว่า 2.8% ถือเป็นอัตราการอ่อนค่ามากสุดรอบ 1 เดือน จากนักวิเคราะห์คาด ธนาคารกลางตุรกีจะทำการหั่นดอกเบี้ยท่ามกลางแรงกดดันทางการเมือง

 

·         COVID-19 UPDATES:

สถานการณ์ในยุโรปเวลานี้ กำลังกลายเป็น “ศูนย์กลางการระบาด” ของ Covid-19 อีกครั้ง จึงยิ่งสนับสนุนให้บรรดารัฐบาลบางแห่งในภูมิภาค ตัดสินใจกลับมา “Lockdown” อีกครั้ง

 

ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกยังคงเพิ่มเกือบ 500,000 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมอยู่สูงกว่า 255 ล้านราย ด้านเสียชีวิตสะสมแตะ 5.12 ล้านราย สำหรับรักษาหายทั่วโลกสะสมล่าสุดทะลุ 230 ล้านรายแล้ว



 

·         สถานการณ์ในไทย:
รายงานวันนี้พบติดเชื้อเพิ่ม 6,524 ราย ตาย 56 ราย ATK อีก 2,029 ราย

 


·         อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ "อ่อนค่า" ที่ระดับ 32.76 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารการเงิน ระบุว่า แนวโน้มค่าเงินบาทอาจมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลว์เล่นรอบเก็งกำไรทองคำ แต่เงินบาทยังพอได้แรงหนุนจากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเข้ามาเก็งกำไรแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ผ่านการซื้อบอนด์ระยะสั้น



นอกจากนี้ ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็วทำให้ผู้ส่งออกบางรายยังคงรอทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่ ซึ่งเราคาดว่า ผู้ส่งออกที่มีความจำเป็นต้องแลกเงิน อาจทยอยขายเงินดอลลาร์ เมื่อเห็นเงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งทำให้แนวต้านของเงินบาทจะอยู่ในโซนแถว 32.90-33.00 บาท/ดอลลาร์  



 สำหรับวันนี้ คาดกรอบเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 32.70-32.85 บาท/ดอลลาร์

 

·         มุมมองเศรษฐกิจไทย:

- EIC มองเศรษฐกิจไทยปี 65 ฟื้นอัตราเร่ง แรงหนุนในปท.-ท่องเที่ยว จ่อทบทวนGDP


SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยปี 65 ฟื้นตัวในอัตราเร่ง แรงหนุนการใช้จ่ายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวโลก จ่อทบทวนประมาณการเศรษฐกิจใหม่ ต้นเดือนธันวาคมนี้ หลังล่าสุดคาดจีดีพีปี 64 และ 65 โต 0.7% และ 3.4% ตามลำดับ



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะเติบโตได้ 4%

หากมองไปในปีหน้า สิ่งที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่องจากปีนี้ คือ ภาคการส่งออกที่ยังมีขีดความสามารถสูง ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีหน้า


นอกจากนี้ ในปี 2565 ยังมีเม็ดเงินจากภาครัฐที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกเกือบ 4 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากเงินงบประมาณรายจ่าย 3.1 ล้านล้านบาท รวมกับเม็ดเงินอีก 3 แสนล้านบาท ที่จะนำออกมาใช้ในปี 65 จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท และยังมีงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอีก 3 แสนล้านบาท ซึ่งรวมเป็นทั้งหมด 3.7 ล้านล้านบาท


ขณะเดียวกัน ในปี 2565 ก็จะเริ่มเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของ 5G



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com