· ทองมีแนวโน้มปิดสัปดาห์แดนลบ จากกระแสเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
ราคาทองคำวันนี้แกว่งตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่มีแนวโน้มปิดสัปดาห์แดนลบครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ จากเงินเฟ้อพุ่ง หนุนโอกาสเฟดทำการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด จึงเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ
นายชาร์ล อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก หนึ่งในสมาชิกเฟดที่มีสิทธิโหวตนโยบายในปีนี้ กล่าวว่าเมื่อวานถึงการ “เปิดกว้าง” ต่อการปรับนโยบายการเงินในปีหน้า หากเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง
· สวิสเซอร์แลนด์มีการส่งออกทองคำไปยังจีนในเดือนต.ค. “เพิ่มขึ้น” นับตั้งแต่ก.ค. ปี 2018 ขณะที่การส่งออกทองไปอินเดีย “ลดลง” จากเดือนก.ย.
· Kitco ระบุว่า ทองคำเดือนพ.ย. ปรับขึ้นได้กว่า 100 เหรียญ แต่ ณ ขณะนี้ราคากำลังเคลื่อนไหวสะสมพลัง
สำหรับความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทองคำปรับขึ้นมายืนเหนือ 1,800 เหรียญได้ และบรรดานักวิเคราะห์หวังเห็นทองไปสู่เป้าหมาย 1,900 เหรียญ
· Capital Economics คาด “ท่าทีเฟด” จะเป็นตัวกดดันทองลงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
รายงานจาก Capital Economics ระบุว่า แม้จะมีความวิตกกังวลเรื่องเงินเฟ้อ แต่ทองคำก็ไม่มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นได้ต่อในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ท่ามกลางเฟดที่เริ่มต้นคุมเข้มทางการเงิน
ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อสูง ของสหรัฐฯ อาจเป็ฯอุปสรรคต่อตลาดที่จะทำให้เราเห็นอุปสงค์สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เชื่อว่า การคุมเข้มที่เพิ่มมากขึ้นของเฟดจะเป็นตัวทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะมีผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
· นักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก Commerzbank ชี้ ซิลเวอร์เผชิญภาวะขาดแคลนอุปทาน
อ้างอิงรายงานจาก Silver Institute ที่ระบุภาวะอุปทานซิลเวอร์ลดลงเมื่อไม่นานมานี้ และมีแนวโน้มจะเห็นอุปทานซิลเวอร์ลดลงมาแถว 7 ล้านออนซ์อีกครั้งในปีนี้ ซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกที่อยู่ระดับดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 2015
ขณะที่ภาพรวมของอุปสงค์ซิลเวอร์ ถูกคาดว่าจะโตดไ 15% ที่ระดับ 1.29 พันล้านออนซ์ ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี
· เศรษฐกิจสหรัฐฯปรับขึ้นแข็งแกร่ง ท่ามกลางจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ลดลง และการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
· สภาผู้แทนสหรัฐฯ เลื่อนลงมติร่างโครงสร้างพื้นฐาน 1.75 ล้านล้านเหรียญของไบเดน
การเลื่อนโหวตร่างงบประมาณจะเป็นคืนวันศุกร์นี้ 20.30น. (ตามเวลาประเทศไทย)
· “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ “ยัน” แผนค่าใช้จ่ายด้นาสังคมและภูมิอากาศ 1.75 ล้านล้านเหรียญ ต้องได้รับการอนุมัติ “เต็มจำนวน”
ทั้งนี้ กฎหมาย "Build Back Better" อาจเป็นตัวช่วยสำคัญในการลดระดับหนี้สหรัฐฯ จากการประเมินสำนักงานงบประมาณสหรัฐฯ(CBO), คณะกรรมาธิการร่วมด้านการจัดเก็บภาษี และกระทรวงการคลัง ประกอบกับแผนดังกล่าว อาจสร้างรายได้ให้แก่สหรัฐฯมากกว่า “2 ล้านล้านเหรียญ” ที่จะมีการได้รับส่วนแบ่งที่ยุติธรรมร่วมกันจากประชาชนที่ร่ำรวยของสหรัฐฯ และบริษัทขนาดใหญ่
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ อาจมีการเพิ่มทุนมากขึ้นสำหรับการต่อสู้กับผู้เสียภาษีที่ไม่ใช่ภาษีของรัฐบาล เพื่อให้เกิดรายได้รัฐฯเพิ่มอีก 4 แสนล้านเหรียญ แม้ว่ารายละเอียดนี้จะไม่ได้ถูกรวมในการประเมินของ CBO ก็ตาม
· Reuters เผย มุมมองบรรดาบริษัทจัดอันดับ ชี้ แผนค่าใช้จ่ายไบเดนจะไม่เป็นการเพิ่มแรงกดดันด้าน “เงินเฟ้อ”
· เยอรมนีประกาศใช้ “มาตรการเข้มงวดรอบใหม่” สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ท่ามกลางยอดติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศที่ทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์
· ญี่ปุ่นเผยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินสูงเป็นประวัติการณ์ 4.90 แสนล้านเหรียญ ท่ามกลางทั่วโลกที่มีแนวโน้มยุติ QE
· Reuters Poll เผย แนวโน้มดัชนี Core CPI ของญี่ปุ่น มีแนวโน้มสะท้อนเงินเฟ้อขยายตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 1 ปี
· ธนาคารกลางจีน (PBoC) คงดอกเบี้ยเงินกู้ แม้บรรดาสมาชิกธนาคารจะให้ความสนใจเรื่อง “ความเสี่ยงภาคอสังหาริมทรัพย์”
· การอุปโภคบริโภคอุตสาหกรรมไฟฟ้าในจีนเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบรายปี นับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนของปีนี้
· Reuters Poll สะท้อนมุมมอง ยอดส่งออกไต้หวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20
· สภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของอินเดีย คาด เศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวได้ 7% - 7.5% ในช่วงปี 2022 – 2023
· ยอดงบดุลไตรมาสที่ 3/2021 ของอินโดนีเซีย มียอดเกินดุลมากสุดรอบ 12 ปี
· การส่งออกก๊าซของเยอรมนีไปยังท่อส่งน้ำมัน Yamal ยังคงที่ แม้ระดับราคาจะผันผวน
· ราคาน้ำมันมีสเถียรภาพมากขึ้น แม้ตลาดจะแกว่งตัวตามโกอาสการปล่อยน้ำมันสำรองด้านยุทธศาสตร์ นำโดยสหรัฐฯ และจีน เป็นต้น
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 28 เซนต์ หรือ +0.3% บริเวณ 81.52 เหรียญ/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 19 เซนต์ บริเวณ 79.20 เหรียญ/บาร์เรล
ที่มา: Kitco, CNBC, Reuters