ตลาดหุ้นเอเชียแกว่งขึ้น ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้น แม้ราคาน้ำมันจะเผชิญกับความผันผวน จากความพยายามของสหรัฐฯและนานาประเทศที่จะร่วมมือกันลดราคาน้ำมัน
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปิด -0.24% ขณะที่หุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงแดนลบหลังกลับมาเปิดทำการตามปกติวันนี้
· Nikkei ปรับตัวลงจากกระแสเฟด Hawkish กระตุ้นความกังวลนักลงทุน
ดัชนี Nikkei 225 ปิด -1.58% ที่ 29,302.66 จุด
ดัชนี Topix ปิด -1.16% ที่ระดับ 2,019.12 จุด
ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ก็ปิดลบที่ -0.1% บริเวณ 2,994.29 จุด
· หุ้นจีนทรุด จากความากังวลเรื่องราคาพลังงานรอบใหม่และบริษัทด้านเกษตรกรรม
ดัชนี HSI ปิด +0.54% ในช่วงปลายตลาดซื้อขาย
ดัชนี Shanghai Composite ปิด +0.1% ที่ 3,592.70 จุด
ดัชนี Shenzhen ปิด -0.118% บริเวณ 14,887.60 จุด
ดัชนี STI ของสิงคโปร์ขยับขึ้น +0.12% รับข่าวจีดีพีสิงคโปร์ขยายตัวได้ 7.1% ช่วงไตรมาสที่ 3/2021 สูงกว่าประมาณการณ์ครั้งก่อนที่อยู่ที่ระดับ 6.5% เมื่อเทียบรายปี
· หุ้นออสเตรเลียปิดร่วงจากดอลลาร์แข็งและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกดดัน ปิด -0.15% ที่ 7,399.40 จุด
· ฟิลลิปปินส์สั่งระงับนำเข้าข้าวจากเวียดนามเป็นการชั่วคราว จากภาวะอุปทานเพียงพอเวลานี้ โดยที่เวียดนามมีการส่งออกข้า่วให้แก่ฟิลิปปินส์มากถึง 40% ของการขนส่งทางเรือ
· หุ้นยุโรปขยับขึ้นเล็กน้อย นักลงทุนรับข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนและรายงานสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อ Covid-19 ล่าสุด
· ตลาดยุโรปยังคงให้ความสนใจกับสถานการณ์วิกฤต Covid-19 ในภูมิภาคสัปดาห์นี้ จากนานาประเทศในแถบนี้ที่กำลังพิจารณาจะใช้มาตรการเข้มงวด และบางส่วนเริ่มมีการ Lockdown เพื่อจำกัดการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น
· เยอรมนี ถูกคาดว่าจะตัดสินใจเรื่องมาตรการคุมเข้มเพิ่มเติมในวันนี้ ท่ามกลางยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น
· ฝรั่งเศส พบติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่มทะลุ 30,000 รายครั้งใหม่ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ส.ค. ที่ผ่านมา
· ค่าเงินในเอเชีย "แข็งค่า" แม้ดอลลาร์จะแกร่ง - หุ้นไทยทำสูงสุดรอบ 2 ปี
สกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ของเอเชีย ปรับแข็งค่าขึ้น แม้ดอลลาร์จะอยู่ในทิศทางแข็งค่ารับกระแสเฟดขึ้นดอกเบี้ย
ด้านหุ้นไทยปรับขึ้นหลังรัฐมนตรีกระทรวงการคลังไทย ระบุว่า "นโยบายการเงินต้องเป็นไปในเชิงผ่อนคลายต่อไป" เพื่อช่วยสนับนุนมาตรการทางการเงิน ขณะที่มาตรหารต่างๆ ของภาครัฐบาลจะเป็นไปในเชิงบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 ระบาด และไทยจะต้องเปลี่ยนมามุ่งเน้นเรื่อง "เศรษฐกิจภายในประเทศ"
ดัชนี SET ไทย ปรับขึ้นทำสูงสุดนับตั้งแต่ ก.ย. ปี 2019
ค่าเงินบาทอ่อนค่ามากสุดของปีนี้วันนี้ปรับอ่อนค่าอีก 0.6%
นักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดประจำกรุงไทย ระบุว่า การที่เงินบาทอ่อนค่า ได้ช่วยหนุนภาคการส่งออก ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่่หนุนหุ้นไทยในวันนี้ให้ปรับขึ้นด้วย
อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
- ผู้ว่าฯ ธปท. เผย 3 ข้อปลดล็อกนโยบายการเงิน-การคลัง เน้น “ประสานความร่วมมือ-ทำนโยบายยืดหยุ่น อย่ายึดติด-คำนึงถึงขีดจำกัด อย่าทำอะไรสุดโต่ง
ลั่น “นโยบายการคลัง” ช่วยพยุงเศรษฐกิจ-ประชาชน K ขาล่าง หลังมาตรการคลังเบ็ดเสร็จช่วยพยุงจีดีพี 2 ปี กว่า 10.8%
อ้างอิงจากสำนักข่าวบ้านเมือง
- ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มกลับสู่ระดับก่อนการระบาดในช่วงครึ่งหลังปี 65 โดยเศรษฐกิจในปี 64 คาดว่าจะขยายตัว 1.2% (เดิมคาด 0.6%) จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ราว 1.5% QoQ (จาก -1.1% ในไตรมาส 3) หรือ +0.8% YoY
ปัจจัยหนุนจากการปรับดีขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนที่เร่งขึ้น บวกกับยังมีแรงส่งจากมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายและท่องเที่ยวในประเทศ รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ทั้งปีคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 0.35 ล้านคน อีกทั้งการส่งออกยังเติบโตดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า
รวมทั้ง การผ่อนคลายลงของภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค ส่งผลให้การส่งออกในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวสูงที่ 16.5% (เดิมคาด 15.0%)
อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- สนพ. เผย 9 เดือนแรก ยอดใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มเพียง 0.01% จากเศรษฐกิจที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในช่วงต้นปี โดยคาดการณ์ว่าการใช้พลังงานขั้นต้นทั้งปีจะเพิ่มเพียง 0.2% ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3
อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์
- รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด มองว่า ในปี 65 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงและปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะสร้างความผันผวนต่อตลาด
ทั้งนี้ ธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มลดนโยบายการเงินผ่อนคลาย และลดการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม โดยนโยบายทางการคลังยังคงหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ขนาดและความสำคัญจะน้อยลงกว่าในปี 2021 ส่วนมูลค่าของสินทรัพย์สูงเป็นประวัติการณ์ การเติบโตของกำไรบริษัทจะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดต่อไป
ส่วนปัจจัยที่ต้องให้น้ำหนักและจับตามองในปี 65
1.การกระจายวัคซีนและประสิทธิภาพสำหรับ Herd Immunity รวมถึงความคืบหน้าของยารักษาโควิด
2.อัตราเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวเพิ่มสูงขึ้นนานกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก
3.ปัญหาติดขัดด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้ภาคการผลิตฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ และส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในวงกว้าง
4.การปรับลดมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ และการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาด อาจทำให้ตลาดตอบรับในเชิงลบ
5.อัตราภาษีที่สูงขึ้นจะเป็นปัจจัยกดดันผลตอบแทนของตลาดในระยะถัดไป
6.ความเสี่ยงจากประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยี หรือทรัพย์สินทางปัญญา