• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564

    26 พฤศจิกายน 2564 | Gold News
  

ทองคำแกว่งขึ้นเหนือ 1,800 เหรียญอีกครั้ง รับกังวล Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ หนุน Safe-Haven เพิ่ม


·         ราคาทองคำวันศุกร์แกว่งตัวขึ้น โดยเป็นผลมาจาก

ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัส Covid-19 สายพันธ์ใหม่ที่กำลังระบาดมากขึ้น หนุนความต้องการ Safe-Haven แม้ทองคำรายสัปดาห์จะร่วงลงจากกระแสเฟดทำ Hawkish เพิ่มมากขึ้น
ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุน
- U.S. Yield สหรัฐฯปรับตัวลดลง
- ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังจากไปแถว 96.94 จุดโดยประมาณ  ซึ่งเป็นสูงสุดนับตั้งแต่รอบเกือบ 17 เดือน  ล่าสุดเทรดบริเวณ 96.707 จุด
ตลาดหุ้นเอเชียทรุด กังวล Covid-19 กดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน

·         ทองคำปรับขึ้นราว +0.6% มาที่ 1,798.20 เหรียญ

·         U.S. gold futures ปรับตัวสูงขึ้น +0.8% ที่ระดับ 1,798.30 เหรียญ

 

·         ภาพรวมตลาดทองคำยังคงปิดสัปดาห์เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ ส.ค. จากกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่องเฟดจะเร่งทำการลด QE และอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย

 

·         การระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ในแอฟริกาใต้ อาจหลีกเลี่ยงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้อังกฤษและหลายๆประเทศ มีการเร่งเพิ่มคำแนะนำข้อจำกัดด้านการเดินทางไปยังประเทศแอฟริกาอย่างเร่งด่วน

 

·         นักวิเคราะห์จาก SPI Asset Management ระบุว่า วัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยโดยทั่วไปเป็น “ลบ” ต่อราคาทองคำ แต่สถานการณ์ Covid สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังเป็นที่จับตาในเวลานี้ หากระบาดไปยังสหรัฐฯ ก็อาจยิ่งตอกย้ำให้เศรษฐกิจอ่อนแอมากขึ้น และ เฟดอาจไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ในสภาวะเช่นนี้   

 

 

·         ผู้อำนวยการที่ปรึกษาสถาบัน  AirGuide คาดว่าทองคำจะปรับตัวลดลงจากโอกาสที่เฟดจะเร่งลด QE แต่การที่เฟด “ไม่มีแนวโน้ม” ถึงกรอบเวลาที่จะเร่งดำเนินการ ประกอบกับรัฐบาลเริ่มขาดความเชื่อมั่นที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มการเลือกตั้งกลางเทอม ก็ดูจะช่วย “จำกัดการปรับตัวลดลงของราคาทองคำ”

 

·         ซิลเวอร์ทรงตัวแถว 23.57 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปรับลงมา -1.2% ที่ 983.22 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปรับขึ้น +0.8% ที่ 1,874.60 เหรียญ

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอ่อนต่อในตลาดเอเชีย

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯค่อยๆอ่อนตัวลง ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยครั้งใหม่ ที่ช่วยลดกระแสเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้าลงไป

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปี ที่มักตอบรับกับกระแสตอบรับของเฟด ปรับลงมาแถว 0.5767% ถือเป็นการปรับลงทำต่ำสุดตั้งแต่ มี.ค. ปี 2020

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ทำต่ำสุดตั้งแต่ก.ค. แตะ 1.5601%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ ปี ปรับตัวลดลงมาที่ 1.2565%

·         เยนแข็งค่า - แรนด์ และออสซี่ทรุดจากการระบาดของ Covid สายพันธุ์ใหม่ กระตุ้นให้เกิดความต้องการ Safe-Haven

ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิค่าเงินเยน จึงทำให้เราเห็นเงินเยนกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง ใขณะที่ค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้ และค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ทรุด จากนักลงทุนสนใจและวิตกกังวลต่อการค้นพบการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจ “ต่อต้าน” ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้

 

ค่าเงินเยนแข็งค่ากว่า 0.64% ไปที่ 114.595 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินสวิสฟรังก์ แข็งค่าขึ้น 
0.33% ที่ 0.933 ดอลลาร์/สวิส

รายงานการค้นพบ “คลัสเตอร์” สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกาใต้ ดูจะเป็นสายพันธุ์ที่ “อาจหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกาย” ที่ได้รับจากวัคซีน รวมไปถึง อาจทำให้ “มีการแพร่เชื้อได้มากขึ้น” ล่าสุดมีการค้นพบว่าระบาดในบอตสวานา และฮ่องกงแล้ว

ค่าเงินแรนด์อ่อนค่ากว่า 1.62% ทำอ่อนค่ามากสุดรอบ ปีที่ 16.24 เมื่อเทียบดอลลาร์
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ทำต่ำสุดรอบ 
เดือนแตะ 0.7135 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย
ค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ทำต่ำสุดรอบ 
เดือนเช่นกันที่ 0.6818 ดอลลาร์/กีวี

สหราชอาณาจักรเร่งประกาศ “แนะนำข้อจำกัดด้านการเดินทาง” สำหรับแอฟริกาใต้ และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง บอตสวานา, นามิเบีย, ซิมบับเวย์, เลโซโท และ เอสพวาทินี

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าทำต่ำสุดใหม่รอบ 11 เดือนที่ 1.3299 ดอลลาร์/ปอนด์

อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรขยับแข็งค่าขึ้น 0.15% ที่ 1.1222 ดอลลาร์/ยูโร หลังไปทำต่ำสุดรอบเกือบ  17 เดือนในช่วงต้นสัปดาห์บริเวณ 1.1186 ดอลลาร์/ยูโร

ขณะที่เยอรมนีตัดสินใจใช้มาตรการ
 Full Lockdown ตามออสเตรีย เพื่อจำกัดการระบาดที่ส่งผลให้ยุโรปกลายเป็น “ศูนย์กลางการระบาดของไวรัส” ในเวลานี้

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยหลังไปทำสูงสุดรอบ 17 เดือน แต่ภาพรวมสัปดาห์นี้ปรับแข็งค่าขึ้นได้ 0.72% ถือเป็นการปรับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สัปดาห์ติดต่อกัน


บรรดาเทรดเดอร์ มองโอกาสเฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยกลางปีหน้ากันมากขึ้น สวนทางกับการดำเนินมาตรการของอีซีบีและบีโอเจ ที่ดูจะเป็นไปในเชิง “ผ่อนคลาย” ทางการเงินมากกว่า

 

·         CNBC  เผยมุมมองนักวิเคราะห์ เฟดดูจะมีแนวโน้มหารือด้วยท่าทีคุมเข้มทางการเงินมากขึ้น และอาจสิ้นสุดการซื้อพันธบัตรได้ในเร็วๆนี้

 

·         Money Markets  ประเมินโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดมิ.ย. นี้ จากเดิมที่เคยคาดไว้ในเดือนก.ค. ปีหน้า

 

 

·         ผลสำรวจ Reuters Poll ชี้ มีโอกาสเห็นผลผลิตญี่ปุ่นขยายตัวได้เป็นครั้งแรกรอบ เดือน ท่ามกลางสภาวะคอขวดที่ผ่อนคลายลงไป

 

·         “คิชิดะ” นายกฯญี่ปุ่น เรียกร้องให้นานาบริษัทปรับขึ้นค่าแรงเพิ่มประมาณ 3%  หรือสูงกว่านั้น

 

ที่มา: CNBC, Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com