• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2564

    3 ธันวาคม 2564 | Gold News



ทองลงกว่า 1% จากกระแสเฟด Hawkish และอาจหันมาใช้มาตรการต้านเงินเฟ้อ

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -1.1% ที่ 1,764 เหรียญ หลังไปทำต่ำสุดตั้งแต่ พ.ย.

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ปิด -1.2% ที่ 1,762.70 เหรียญ



·         กองทุน SPDR เมื่อวานนี้เทขายทองคำออกอีก 4.65 ตัน โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 986.17 ตัน



·         นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายของเฟดและผลสะท้อนความกังวลเงินเฟ้อที่น้อยกว่าคาด ดูจะทำให้ตลาดทองลดภาวะ Bullish ลง  แต่ราคาน้ำมันสูงอาจกลับมาคุกคามและสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดขึ้น ก็อาจมีผลต่อราคาทองคำ

ขณะที่กระแสที่มากขึ้นว่าจะเห็นเฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ก็ยังคงกดดันทองคำเวลานี้ ประกอบกับการรีบาวน์ของตลาดหุ้นที่อาจบ่งชี้ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงขึ้น แต่ความไม่แน่นอนของไวรัส
 Omicron ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนทองคำ Safe-Haven


 

·         หัวหน้านักวิเคราะห์จาก CMC Market ระบุว่า โอกาสที่เฟดจะเร่งลด QE ถือเป็นหนึ่งในเหตุผลที่กดดันทองคำเวลานี้  ขณะที่ถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ส ว่า ในการประชุมเฟดรอบหน้าน่าจะเห็นความชัดเจนว่าเงินเฟ้อสูงอาจไม่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ และไม่มีแนวโน้มจะเกิดปัญหา Wage-Price Spiral เหมือนในปี 1970


 

·         ซิลเวอร์ปิดทรงตัวที่ 22.31 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด +0.3% ที่ 936 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิด +1.8% ที่ 1,778.68 เหรียญ


 

·         รายงานผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯออกมาแย่กว่าคาด แต่ยังสะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่เข้ากใล้ช่วงก่อนไวรัสระบาด



รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วออกมาแย่กว่าคาดเล็กน้อยที่ระดับ 222,000 ราย และสูงกว่าสัปดาห์ก่อนที่ทำไว้บริเวณ 194,000 ราย ที่ถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่ปี 1969  



ภาพรวมการขอรับสวัสดิกรว่างงานต่อเนื่องลดลงไปราว 107,000 ราย สู่ระดับต่ำกว่า ล้านรายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไวรัสระบาด โดยล่าสุดลงมาที่ 1.96 ล้านราย ต่ำสุดตั้งแต่ 14 มี.ค. ปีที่แล้ว

 

·         CNBC เผยมุมมองแพทย์บางส่วน มอง Omicron มีแนวโน้มจะระบาดไปทั่วโลกในอีก 3-6 เดือน


 

·         บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ชี้ Omicron มีโอกาสแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและอยู่เป็นเวลานานกว่าที่ประเมินไว้


 

·         เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ มอง Omicron อาจเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก 


 

·         ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ขณะที่เทรดเดอร์สนใจ  Non-Farm Payrolls สหรัฐฯ คืนนี้

ดัชนีดอลลาร์ปิด +0.1% ที่ 96.131 จุด หลังจากที่ทำสูงสุดรอบ 16 เดือน ช่วงปลายเดือนที่แล้วบริเวณ 96.938 จุด

บรรดาเทรดเดอร์กำลังรอคอยความชัดเจนว่าเฟดจะเร่งยุติ QE หรือไม่ ท่ามกลางเฟดที่อาจดำเนินการเร่งดำเนินการเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

โดยนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวย้ำเรื่องดังกล่าว ณ การกล่าวถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสเมื่อวันพุธ ว่าเขาและประธานเฟดอาจตัดสินใจเร่งยุตินโยบายผ่อนคลายในการประชุม 14-15 ธ.ค.

ขณะที่เมื่อวานนี้ บรรดาสมาชิกเฟดหลายราย ก็ดูจะกล่าวในทำนองเดียวกันกับนายโพเวลล์ ไม่ว่าจะเป็น ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า, ริชมอนด์ หรือซานฟรานซิสโก

 

·         นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดแอตแลนต้า ระบุว่า ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากสายพันธุ์ล่าสุดของ Covid-19 และเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้น ดูจะสร้างความกังวลและอาจทำให้ยุติ QE เร็วกว่าคาดประมาณ มี.ค. พร้อมกับอาจอนุญาตให้มีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับเงินเฟ้

 

·         นางแมรี ดาร์ลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ระบุว่า สมาชิกเฟดอาจจำเป็นต้องเริ่หารือแผนสำหรับการขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมาย

 

 

·         นายแรนดัล ควอเลส อดีตประธานเฟดด้านการกำกับดูแลภาคะนาคาร ชี้ นโยบายที่เข้มงวดอาจสกัดความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมของ Stable Coins

 

·         บรรดานักลงทุนมีการเทขายพันธบัตรตราสารหนี้ จากมุมมองเงินเฟ้อและความกังวลด้าน Omicron

 

·         กองทุน Junk Bond สหรัฐฯมีเม็ดเงินไหลออกมากสุดรอบ เดือน ในเดือนพ.ย.




 

·         ส.ว.สหรัฐฯ พร้อมลงมติคืนนวันพฤหัสบดี (เช้าวันนี้) สำหรับร่างกฎหมายเลี่ยง Shutdown รัฐบาล หลังส.ส. 221-212 เพื่อให้ร่างกฎหมายจัดหาทุนชั่วคราวขยายเวลาออกไปจนถึง 18 ก.พ. (มีเพียงสมาชิกพรรครีพับลิกันเพียงคนเดียวที่สนับสนุนมาตรการนี้)


 ·         อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ  33.88 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับอ่อนค่าสุดรอบ 2 เดือน จากระดับปิดวันก่อนหน้า มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.75-33.95 บาท/ดอลลาร์ โดยนักลงทุนในตลาดการเงินเริ่มกลับมาทยอยเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หนุนโดยมุมมองในตลาดที่ต่างคาดหวังว่าโอไมครอน แพร่ระบาดได้เร็วกว่าเดลต้า แต่ก็อาจจะไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าและวัคซีนที่มีในปัจจุบันยังสามารถรับมือได้


สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท มองว่ายังมีโอกาสเผชิญความผันผวนในฝั่งอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะ บอนด์ระยะสั้นตามการปรับสถานะเก็งกำไรเงินบาทของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งล่าสุดนักลงทุนต่างชาติได้ขายบอนด์ระยะสั้นมาตลอดทั้งสัปดาห์กว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยแรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่านั้นมาจากความกังวลปัญหาการระบาดของโอไมครอนเป็นหลัก


นอกจากนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคระยะสั้นยังคงชี้ว่าเงินบาทยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า ทำให้ผู้เล่นต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า


อย่างไรก็ดี เชื่อว่าจังหวะกลับตัวมาแข็งค่าของเงินบาทอาจเกิดขึ้นในอีก สัปดาห์ข้างหน้า


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com