• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 10 ธันวาคม 2564

    10 ธันวาคม 2564 | Gold News


ทองปิดแดนลบ จากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ - ตลาดรอเงินเฟ้อคืนนี้

 

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.3% ที่ระดับ 1,776.56 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือน ธ.ค. ปิด -0.5% ที่ระดับ 1,776.70 เหรียญ

 

·         ทองคำปิดแดนลบ เพราะได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลักๆได้แก่

1) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ ยังทำต่ำสุดรอบ 52 ปี




โดยสัปดาห์ที่แล้วมีคนขอรับสวัสดิการลดลง
 43,000 ราย สู่ระดับ 184,000 ราย ซึ่งถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่ก.ย. ปี 1969 และภาพรวมทำต่ำสุดอย่างมากเมื่อเทียบกับสูงสุดประวัติการณ์ที่ทำไว้ช่วงต้นเม.ย. ปี 2020 ที่ 6.149 ล้านราย สะท้อนเงื่อนไขตลาดแรงงงานยังแกร่ง แม้จะเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่บ้างเวลานี้

2) นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังและรอคอยข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้ ที่อาจมีผลต่อการวางกลยุทธ์เฟด ในการประชุมระหว่าง 14-15 ธ.ค. นี้

3) ดอลลาร์แข็งค่า โดยดัชนีดอลลาร์ปิด +0.27% ที่ 96.214 จุด 
ขณะที่ยูโรอ่อนค่า 
-0.42% ที่ 1.1294 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินเยนปิดอ่อนค่า 0.21% ที่ 113.42 เยน/ดอลลาร์

4) ราคากลุ่มโลหะมีค่าปิดแดนลบ

 

·         ซิลเวอร์ปิด -1.7% ที่ระดับ 22.02 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิดร่วง -1.9% ที่ 938.50 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิดทรุด -2% ที่ 1,817.68 เหรียญ

 

·         นักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก RJO Futures ระบุว่า ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการที่แข็งแกร่ง ควบคู่กับดอลลาร์เป็นปัจจัยฉุดทอง แต่นักลงทุนบางส่วนก็ยังเลือกที่จะรอคอยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในค่ำคืนนี้ เพราะอาจยังปรับขึ้นได้ต่อ และทองคำก็อาจปรับขึ้นไปหา 1,800 เหรียญได้ หากเงินเฟ้อสูงเกินคาด

 

·         ภาพรวมราคาทองคำเคลื่อนไหวแคบๆในกรอบระหว่าง 1,760 – 1,790 เหรียญ หลังจากที่ร่วงหลุด 1,800 เหรียญเมื่อช่วงปลายเดือนพ.ย. ท่ามกลางนักลงทุนหันมาสนใจกระแสความเป็นไปได้ที่เฟดจะเร่งลด QE และอาจขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด

 

·         หัวหน้านักวิเคราะห์จาก Exinity มองทองคำอาจกลับมาสดใส หากตลาดเผชิญความกังวลการพัฒนาของสายพันธุ์โควิด หรือแม้แต่เรื่องความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นระหว่างประเทศเศรษฐกิจมหาอำนาจได้ อาทิ สหรัฐฯและรัสเซียในประเด็นยูเครน หรือการที่สหรัฐฯ “บอยคอต” การจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวของจีน รวมไปถึง การที่ชาติตะวันตกและสหรัฐฯจะเดินหน้าคว่ำบาตรอิหร่าน

 

·         วุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายปูทางให้คองเกรสเพิ่มเพดานหนี้ได้ก่อนกำหนดเส้นตาย 15 ธ.ค. นี้เป็นที่เรียบร้อย

 

 

·         ดอลลาร์แข็ง, หุ้นอ่อนตัว ขณะที่น้ำมันปิดลบ หลังนักลงทุนกลับมามีท่าทีระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้มาตรการสกัด Omicron ที่อาจกดดันมุมมองเชิงบวกของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มนักลงทุน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปิดอ่อนตัวลงจาก 1.5% สู่ระดับ 1.491%

 

·         ณ ปัจจุบัน CME Fed Watch สะท้อนว่า มีโอกาสมากถึง 61% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนพ.ค. หรือ มิ.ย. ปี 2022 และมองโอกาสอาจขึ้นได้มากถึง 3 ครั้ง

 

·         หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Bannockburn Global Forex มองว่า หากดัชนี CPI รายปี ทะยานไปน้อยกว่าที่คาด 6.8% เฟดก็อาจไม่มีแผนจะเร่งดำเนินการเร่งลด QE ก็เป็นได้ และเฟดดูจะสนใจเรื่อง “ตลาดแรงงานแกร่ง” เพียงพอ และดูจะเพียงพอในการปกป้องตัวมันเองจากการระมัดระวังเรื่องเงินเฟ้อ

 

·         ทีมบริหารไบเดน ส่งสัญญาณ ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯศุกร์นี้อาจยังอยู่ระดับสูง โดยอาจเห็นดัชนี CPI เดือนพ.ย. ทะยานแตะ 6.8% เมื่อเทียบรายปี หลังต.ค. ปรับขึ้นแตะ 6.2% สูงสุดรอบ 31 ปี อันเป็นผลจากราคาพลังงานสูง ขณะที่สินค้าอื่นๆเริ่มอ่อนตัวลง


·         หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก IMF เล็งเห็นแรงกดดันเงินเฟ้อและความเสี่ยงจาก Omicron มากขึ้น อาจกระทบต่อเศรษฐกิจที่เคยคาดไว้

 

·         นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ชี้ อียูจำเป็นต้องวางเกณฑ์ใหม่สำหรับงบประมาณ Post-Covid

 

·         รายงานจาก Reuters ชี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ มอง “สี จิ้นผิง” จะได้รับการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนต่ออีก ปี พร้อมแนะปรับพอร์ตครั้งใหม่

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ หรือสถาบันการเงินระดับโลกและกองทุนต่างๆ มีการปรับกลยุทธ์การลงทุนสินทรัพย์ในจีนปี 2022 ใหม่รับโมเดลที่นายสีจะดำรงตำแหน่งต่ออีก ปี ท่ามกลางการปราบปรามบริษัทด้านอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ รวมถึงภาคการศึกษา และอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำให้ดัชนี MSCI ในจีนดิ่ง -20% ปี 2021 เมื่อเทียกับ MSCI ระดับโลกที่ปรับขึ้นมา 15%

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวสยามรัฐ/กรุงเทพธุรกิจ

- นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.47 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 33.39 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.37 - 33.47 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งทิศทางเงินบาทมาจากปัจจัยของเงินหยวนที่แข็งค่านำสกุลเงินภูมิภาค ประกอบกับตลาดพันธบัตรไทย มีนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิประมาณ 7,600 ล้านบาท


สำหรับสัปดาห์หน้าประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ที่ 33.40 - 33.60 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อค่าเงินบาทในช่วงเช้าวันจันทร์


ทั้งนี้ ตลาดการเงินโดยรวมอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง หลังจากผลวิจัยเบื้องต้นจากบริษัท Pfizer และBioNTech ผู้ผลิตวัคซีน mRNA ได้ระบุว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจากโอมิครอน ได้ ซึ่งรายงานดังกล่าวสนับสนุนมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ต่างเชื่อว่าการระบาดของ โอมิครอน อาจจะไม่ได้มีความรุนแรงจนน่ากังวลและวัคซีนที่มีในปัจจุบันยังสามารถรับมือได้

·         อ้างอิงจากสำนักข่าว CH7

อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย. พบว่าทุกรายการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ระดับ 44.9 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ค. 64 เป็นต้นมา


จากปัจจัยบวกการเปิดประเทศและการกลับมาท่องเที่ยวทั้งของชาวต่างชาติและคนไทย ทำให้ดัชนีท่องเที่ยวสูงสุดในรอบ 1 ปี คาดว่าการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยในการบริโภคและการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นและอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวในกรอบ 1% ถึง 1.5% หรือ GDP เติบโตไม่น้อยกว่า 1.3%


ทั้งนี้ คาดว่านักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวในไทยเฉลี่ยเดือนละ 100,000 นคน ตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค. 65 เป็นต้นไป แต่ยังคงต้องจับตาการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งขณะนี้ไทยพบผู้ติดเชื้อ แต่ไม่มีอาการรุนแรงและหายเป็นปกติแล้ว เชื่อว่าจะไม่กระทบเศรษฐกิจหากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เช่นนี้ และไม่มีการกลับมาล็อกดาวน์ประเทศอีก



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com