ทองอ่อนตัวท่ามกลางนักลงทุนสนใจผลกระทบของ Omicron และแผนขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.2% ที่ 1,793.33 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ตลาด Comex ปิด -0.6% ที่ระดับ 1,794.60 เหรียญ
· ตลาดหุ้นทั่วโลกอ่อนตัวท่ามกลางความวิตกกังวลถึงผลกระทบเกี่ยวกับการใช้มาตรการเข้มงวดสกัด Covid-19 แต่ประมาณเม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำเริ่มดูเหมือนจะชะลอตัว ขณะที่ตลาดทองคำได้รับอานิสงส์เล็กน้อยจากการอ่อนค่าของดอลลาร์
· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ทองคำฟื้นตัวขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงเข้าสู่วันหยุดเทศกาล และดูเหมือนการลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง่จะมาเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนราคาทองคำอยู่บ้าง ซึ่งทองคำมีแนวโน้มจะปรับขึ้นก่อนเข้าสู่สิ้นปีนี้ ก่อนที่จะเริ่มสะสมพลังเหนือ1,800 เหรียญในเดือนหน้า หรือท่ามกลางการตอบรับของสภาวะข่าว Omicron
· นักวิเคราะห์บางส่วน ยังมองว่า ทองคำยังถูกเข้าถือเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนต่างๆ และความไม่แน่นอนของ Omicron เวลานี้ ก็อาจจะเพิ่มโอกาสให้เฟดผ่อนคลายการเงินต่อได้ในปี 2022 และถ้าเป็นเช่นนี้จะเห็นปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนทองคำ
· นักวิเคราะห์จาก TD Securities ระบุถึงการจะเห็นราคาทองคำปรับขึ้นได้ปานกลาง ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ว่าเฟดจะสามารถดำเนินตามท่าที Hawkish ล่าสุดได้อย่างที่พูดหรือไม่
· ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของ Covid-19 จากการใช้มาตรการควบคุมโรคระบาด ดูจะเร่งให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่โลหะมีค่าต่างๆได้ จึงเป็นนัยสำคัญที่ตลาดให้ความสำคัญมากขึ้นและจับตาใกล้ชิด
· พลาเดียมปรับลง -2% ที่ 1,746.85 เหรียญ
· แพลทินัมปิด +0.1% ท่ะ 930.50 เหรียญ
· ซิลเวอร์ปิด -0.3% ที่ 22.28 เหรียญ
· ออสเตรเลียดอลลาร์-ปอนด์ อ่อนค่าจากความกังวล Omicron และ Lockdown ในยุโรป ขณะที่เยนแข็งค่าในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนสนใจเรื่องความรวดเร็วในการแพร่ระบาดของ Omicron
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่าลงอีก 0.2% ที่ 0.7109 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากสุดรอบ 13 วัน
ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.2% ที่ 1.32105 ดอลลาร์/ปอนด์
ล่าสุดในช่วงปลายสัปดาห์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการประกาศภาวะ Lockdown ขณะที่อิตาลีมีรายงานการพิจารณาการกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดรอบใหม่
รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ เผยว่า ยังไม่ได้ตัดโอกาสที่จะความเป็นไปได้ที่จะประกาศ Lockdown ก่อนเทศกาลคริสมาสต์
Goldman Sachs หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ทำต่ำสุดตั้งแต่ 6 ธ.ค. เมื่อวันจันทร์ ก่อนจะรีบาวน์กลับวานนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นเล็กน้อยแตะ 1.428% ท่ามกลางนักลงทุนกังวลความเสี่ยงเรื่อง Omicron ที่อาจเป็นอุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจ
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 96.544 จุด ขณะที่สูงสุดเดิมที่ทำไว้ในเดือนที่แล้วอยู่ที่ 96.938 จุด ถือเป็นสูงสุดตั้งแต่ก.ค. ปี 2020
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.3% ที่ 1.12695 ดอลลาร์/ยูโร หลังทรุดตัวไปกว่า 0.8% เมื่อคืนวันศุกร์ หลังอีซีบีเผยแผนจะก้าวออกจากโครงการ PEPP
ธนาคารกลางจีน มีการประกาศปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นครั้งแรกรอบ 20 เดือน ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น ส่งผลให้เงินหยวนทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 10 วันทำการ
· ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเรื่อง Omicron นำโดยดัชนี Dow Jones ร่วงต่อกว่า 430 จุด
· บรรดานักเศรษฐศาสตร์หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯปีหน้า
Reuters เผย นักเศรษฐศาสตร์บางสำนัก คาดว่า เศรษฐกิจสหรํฐฯ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆในปีหน้า หลังจากที่สมาชิกเดโมแครตยังไม่สามารถตกลแผน Build Back Better มูลค่า 1.75 ล้านล้านเหรียญของนายไปบเดนได้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เผชิญกับความเสี่ยงของการระบาดอย่างรวดเร็วของ Omicron Covid-19 ขณะที่เฟดลดท่าทีผ่อนคลายทางการเงินในขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐฯอยู่ระดับสูง
· Goldman Sachs ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ช่วงไตรมาสที่ 1/2022 จาก 3% เหลือ 2% พร้อมปรับลดการเติบโตลงในไตรมาสที่ 2 และ 3 เช่นกัน
การปรับลดคาดการณ์เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ที่วุฒิสมาชิก โจ แมนชิน (Joe Manchin) สมาชิกพรรคเดโมแครตพรรคเดียวกันกับโจ ไบเดน ปฏิเสธแผนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของไบเดน ทำให้พรรคเดโมแคตรเองเผชิญข้อจำกัดและมีทางเลือกน้อยลงในการจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ถึงแม้จะครองเสียงข้างมากในสภาบนและสภาล่าง แต่ไม่สามารถผ่านร่างนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไปได้ง่าย
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเพิ่ม 528,416 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกแตะ 275.73 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมแตะ 5.37 ล้านราย
สหรัฐฯ ขึ้นแท่นติดเชื้อรายวันเพิ่มมากสุดของโลกวานนี้แตะ 128,851 ราย ขณะที่อังกฤษติดเชื้อใหม่เพิ่มกว่า 91,000 ราย รั้งอันดับ 2 ทางด้านรัสเซียยอดติดเชื้อเพิ่มอันดับ 3 ประมาณ 27,000 ราย
· สำหรับรายงานในไทยวันนี้ ยอด โควิด-19 วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 2,476 ราย ตาย 32 ราย และขณะนี้ พบโอไมครอนในไทยแล้ว 60 กว่าราย
· Omicron บดบังทิศทางสดใสช่วงเทศกาลในฤดูหนาว ท่ามกลางหลายๆประเทศหันมาพิจารณาเรื่องมาตรการเข้มงวดกันอย่างจริงจัง
· WHO ย้ำสัญญาณเตือน Omicron ระบาดรวดเร็ว แต่เตือนไม่ให้ด่วนสรุปว่าสายพันธุ์นี้รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
· CDC เผย จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯกว่า 73% เป็นสายพันธุ์ Omicron
· รัฐนิวยอรก์ ถูกคาดว่าจะเห็นการระบาดของ Omicron ได้อย่างรวดเร็ว แต่จะเข้าสู่จุดพีคในอีกไม่กี่สัปดาห์
· Reuters เผย สายพันธุ์ Omicron มีอาการรุนแรงของโรคน้อยกว่า Delta แต่ลดปริมาณอสุจิและการเคลื่อนไหว
· อังกฤษ ชี้ จำนวนการระบาดของ Covid-19 เวลานี้ส่งผลให้สถานการณ์มีความยากลำบากมากขึ้น ในขณะที่ยุโรปเริ่มกลับมาใช้มาตรการเข้มงวด
นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เผยว่า จะใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมและชะลอการระบาดของ Omicron หากจำเป็น หลังจากที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มมีการใช้มาตรการ Lockdown ครั้งที่ 4 และสมาชิกประเทศอื่นๆในแถบยุโรปมีการพิจารณาถึงข้อจำกัดมากยิ่งขึ้นในช่วงเทศกาลคริสมาสต์นี้
· สมาชิกสภาฝ่ายปกครองของอีซีบี เตือนถึง “ความไม่แน่นอนเงินเฟ้อ” และเรียกร้องให้มีท่าทีระมัดระวังมากขึ้น พร้อมย้ำการต้านการ Lockdown รอบใหม่ในยุโรป ไม่ถือเป็นตัวแปรหนุนเงินเฟ้อสูง
· ผู้ว่าการบีโอเจ มองว่า ยังเร็วเกินไปที่จะปรับนโยบายการเงินสู่สภาวะปกติ
· จีนถูกคาดว่าจะขยายมาตรการปราบปรามเข้มงวดต่อในปี 2022
· เศรษฐกิจเกาหลีใต้ คาดขยายตัวในเกณฑ์ทรงตัว และน่าคาดปีหน้าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
· ‘เงินบาท’ วันนี้เปิด’อ่อนค่า’ ที่33.61 บาท/ดอลลาร์
“กรุงไทย” ชี้ตลาดการเงินยังอยู่ในโหมดปิดรับความเสี่ยง ความกังวลการระบาดของโอมิครอนในประเทศ จับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ อาจไหลกลับได้ มองกรอบเงินบาทวันนี้ที่ระดับ 33.50-33.75 บาท/ดอลลาร์
· Fitch Ratings (Fitch หรือฟิทช์) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+
พร้อมคงมุมมองความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัว 4.5 % เพราะมีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินการคลัง ประกอบกับการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การเพิ่มเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จาก 60% เป็น 70% จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อการลงทุนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
· ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย-อิตาลี ดันการค้าระหว่างประเทศโต 8%