- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อคืนนี้ ราคาทองคำยืนเหนือ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามดัชนีเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นสูงกว่าคาดและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการประกาศตัวเลข เงินเฟ้อหรือ Annual Core PCE Price Index ปรับตัวสูงขึ้น 4.7% เทียบกับปีก่อนหน้า เป็นแรงกดดันเงินเฟ้อและยังคงไม่มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง
o สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 9.5 ดอลลาร์ หรือ 0.53% ปิดที่ 1,811.7 ดอลลาร์/ออนซ
o สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 12.1 เซนต์ หรือ 0.53% ปิดที่ 22.94 ดอลลาร์/ออนซ์
o ตลาดทองคำนิวยอร์กจะปิดทำการในวันศุกร์ที่ 24 ธ.ค. เนื่องในเทศกาลคริสต์มาส
- กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 973.63 ตัน ภาพรวมเดือนธันวาคม ขายสุทธิ 19.22 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 197.11 ตัน
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์จาก TD Securities ระบุ ราคาทองคำอาจจะเริ่มซึมลงในระยะยาว เนื่องจากการที่เฟดยังคงยืนยัดต่อนโยบายที่จะทำในปีหน้า ความกังวลเกี่ยวกับโอไมครอนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามองในระยะสั้น จากคำพูดของเฟดล่าสุดเรื่องนโยบายเดือนมีนาคมที่จะมีขึ้น เขายังคงคิดว่าความเสี่ยงและผลตอบแทนคุ้มค่าต่อผลลัพธ์นั้น และสิ่งเหล่านี้จะหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าในช่วงปีใหม่
- นักเศรษฐศาสตร์ Well Fargo ชี้ว่า แนวนโยบายการเงินในแต่ละประเทศที่มีทิศทางแตกต่างกันจะนำไปสู่ทิศทางของค่าเงินที่แตกต่างกัน และยังชี้ว่า ECB มึมุมมองความกังวลต่อเงินเฟ้อน้อยกว่าธนาคารกลางชาติอื่นๆ เป็นการส่งสัญญาณว่า จะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเวลาอันใกล้นี้ ความแตกต่างของทิศทางนโยบายการเงินระหว่าง ECB กับ FED จะนำไปสู่การอ่อนค่าของค่าเงินยูโรและการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลงสู่ระดับ 1.05 ดอลลาร์ต่อยูโร ในช่วงต้นปี 2023 นอกจากนี้ยังคาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น(หรือ BOJ) จะยังคงดอกเบี้ยต่อไปอีกระยะ จึงคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯต่อค่าเงินเยนจะอยู่ที่ระดับ 123 ในช่วงต้นปี 2023
- นักวิเคราะห์ JP Morgan มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐ โดยระบุ ถึงแม้ว่า (1) การเติบโตของเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ยังมีความแข็งแกร่ง (2) ถึงแม้ว่า FED จะไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่ก็จะไม่เข้มงวดจนเกินไป ทำให้ยังมองว่า หากเกิดการปรับตัวพักฐานเป็นโอกาสเข้าซื้อ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- Dollar index ปรับสูงขึ้น 0.07% อยู่ที่ระดับ 96.174 เข้าใกล้ระดับสูงที่สุดในรอบ 16 เดือน แต่การปรับตัวขึ้นยังถูกจำกัดจากปัจจัยการผ่อนคลายความกังวลของการระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งผลักดันสกุลเงินออสเตรเลียนดอลลาร์และสกุลเงินปอนด์อังกฤษให้แข็งค่า ซึงสองสกุลเงินดังกล่าวถูกมองว่าเป็นสกุลเงินที่มีลักษณการยอมรับความเสี่ยง (หรือ risk-on) สูงกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
- บริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ที่ 33.50 - 33.65 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องตามภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค ยกเว้นเงินเยน หลังตลาดเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ปริมาณธุรกรรมยังคงเบาบาง
- SCB EIC คาดการอ่อนค่าของเงินบาทในระยะสั้น จะไม่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเร่งตัวขึ้นมากนัก เนื่องจากการส่งผ่านของการเปลี่ยนแปลงค่าเงินสู่ราคาสินค้า-บริการในประเทศยังต่ำ อีกทั้ง ธปท. ยังสามารถเข้าดูแลเงินบาทในเวลาที่อ่อนค่าลงเร็วผ่านการขายเงินสำรองที่อยู่ในระดับสูง จึงทำให้ ธปท.ไม่จำเป็นต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลค่าเงินบาท
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ปิดบวกเมื่อคืนนี้ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน หลังผลการวิจัยของหลายสถาบันบ่งชี้ว่าความเสี่ยงของไวรัสโอมิครอนมีน้อยกว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตา โดยรายงานดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มโรงแรม
o ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,950.56 จุด เพิ่มขึ้น 196.67 จุด หรือ +0.55%
o ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,725.79 จุด เพิ่มขึ้น 29.23 จุด หรือ +0.62%
o ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,653.37 จุด เพิ่มขึ้น 131.48 จุด หรือ +0.85%
o ตลาดหุ้นนิวยอร์กจะปิดทำการในวันศุกร์ที่ 24 ธ.ค. เนื่องในเทศกาลคริสต์มาส
- เงินเฟ้อในเดือนในเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 39 ปี สะท้อนจากตัวเลขดัชนีค่าใช้จ่ายผู้บริโภคหรือ personal consumption expenditure price index ปรับตัวสูงขึ้น 5.7% จากปีก่อน สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.6% และสูงกว่าที่คาด 5.5% เงินเฟ้อสหรัฐยังคงปรับตัวสูงขึ้นและยังคงไม่มีสัญญาณใดๆว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง
- ในขณะที่ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อฟื้นฐานหรือ Core PCE price index ในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวสูงขึ้น 4.7% เทียบกับปีก่อน สูงกว่าคาดที่ 4.5% และสูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 4.2%
- ตัวเลขการยื่นขอสวัสดิการผู้ว่างงาน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 205,000 ราย เป็นไปตามที่ตลาดคาด และอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิด สะท้อนถึงความตึงตัวของตลาดแรงงาน
- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยแผนงบประมาณประจำปีมูลค่ามหาศาล หวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิดดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยงบประมาณมูลค่ากว่า 943 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 107.6 ล้านล้านเยน โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เมษายนปี 2022 อย่างไรก็ตามงบประมาณดังกล่าวก่อภาระหนี้ทำให้ญึ่ปุ่นยิ่งมีหนี้สูงขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ว่าไวรัสโอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน หลังมีรายงานเชิงบวกเกี่ยวกับวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-19
- น้ำมันยังคงมีข้อจำกัดปริมาณการซื้อขายอย่างเบาบางในช่วงวันหยุดเทศกาล ถึงแม้จะมีมุมมองเชิงบวกที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมัน
o สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.03 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 73.79 ดอลลาร์/บาร์เรล
o ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.56 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 76.85 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ความต้องการบริโภคน้ำมันของโลกในปี 2022 อาจจะสูงในะดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน International Energy Agency หรือ IEA คาดการณ์ความต้องการบริโภคน้ำมันของโลกในปี 2022 จะเพิ่มขึ้น 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 99.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบเท่าระดับเดียวกันในปี 2019 ก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- มีผลการศึกษาเพิ่มเติมอีก 3 ผลการศึกษา ช่วยตอกย้ำว่า การติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีโอกาสน้อยที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อเทียบกับเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่น เป็นข้อมูลเพิ่มเติมจากผลการศึกษาในแอฟริกาใต้ที่ระบุว่าอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลลดต่ำลง 80% หากติดเชื้อโควิดสายพันธ์โอมิครอนเทียบกับสายพนธุ์เดลตา
- แอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยผลการวิจัยว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดสที่ 3 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จากการฉีดวัคซีน 2 โดส
- จากผลการศึกษา พบว่า การฉีดซิโนแวคสามเข็ม ไม่ช่วยป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน วัคซีนไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเพียงพอ
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) อนุมัติการใช้ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ของบริษัทไฟเซอร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยยาดังกล่าว ได้รับการอนุมัติให้รักษาผู้ป่วยอาการหนักที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
- จีนสั่งล็อคดาวน์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เหตุโควิดระบาดที่อู่ฮั่น โดยจีนสั่งล็อคดาวน์เมืองฝั่งตะวันตกในมณฑลซีอานเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด ซึ่งมีประชากรจำนวนกว่า 13 ล้านคนที่ถูกกักบริเวณและให้ออกมาซื้อของกินของใช้เท่าที่จำเป็น