เกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำดีดกลับ ยืนเหนือระดับ 1,810 เหรียญ นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังนักลงทุนผิดหวังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ แม้จะมีหลายปัจจัยกดดันราคาทองคำในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่ (1) ภาวะ Risk-on หรือภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง (2) การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เกินกว่าระดับ 1.60%
o ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 9.44 เหรียญ หรือ 0.52% มาอยู่ที่ระดับ 1813.51 เหรียญ
o สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 14.5 ดอลลาร์ หรือ 0.81% ปิดที่ 1,814.6 ดอลลาร์/ออนซ์
o สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 24.6 เซนต์ หรือ 1.08% ปิดที่ 23.056 ดอลลาร์/ออนซ์
o กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ซื้อเข้า 4.65 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 980.31 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 4.65 ตัน
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ
- นักกลยุทธ์ทองคำจาก State Street Global Advisors ชี้ทิศทางเชิงบวกของทองคำ จากปัจจัย (1) ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ปกป้องความเสี่ยงที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในปี 2021 จะไม่เห็นปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวมากนัก และคาดว่าจะเห็นความเสี่ยงดังกล่าวมากขึ้นในปี 2022 โดยเฉพาะในตลาดหุ้น (2) เงินเฟ้อยังคงส่งผลบวกต่อทองคำ ซึ่งประเมินจากพฤติกรรมของ FED ที่เลิกมองเงินเฟ้อเป็นแค่ “เงินเฟ้อช่วงเปลี่ยนผ่าน” และมองเป็นปัญหาระยะยาวมากขึ้น จึงมองว่าเงินเฟ้อจะยังคงสูงต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูงเร็วกว่าคาด FED ก็มีแนวโน้มจะใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น
- นักวิเคราะห์จาก Natixis ประเมินว่า ECB จะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมากต่อไป ตราบเท่าที่ ECB มองว่าเงินเฟ้อยังคงไม่เป็นภัยต่อเศรษฐกิจยูโรโซน เนื่องจาก ECB มีวัตถุประสงค์ที่ต้องดำเนินการหลายประการทั้ง (1) การรักษาระดับเสถียรภาพหนี้สาธารณะ (2) กระตุ้นการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะนโยบายการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (3) การลดระดับการว่างงานเชิงโครงสร้าง
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
o ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.07 เหรียญ หรือ 0.07% มาอยู่ที่ระดับ 96.28 เหรียญ
o อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.016 มาอยู่ที่ระดับ 1.649%
- ดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจาด ความผิดหวังจากการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิตจาก ISM และตัวเลขจำนวนงานที่เปิดจาก JOLTs ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปียังคงปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮติดต่อกันวันที่ 2 ในวันอังคาร (4 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเดินหน้าซื้อหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่นหุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้นตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,799.65 จุด เพิ่มขึ้น 214.59 จุด หรือ +0.59%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,793.54 จุด ลดลง 3.02 จุด หรือ -0.06% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,622.72 จุด ลดลง 210.08 จุด หรือ -1.33%
- ดัชนี ISM Manufacturing PMI ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของเศรษฐกิจจากภาคการผลิต ออกมาต่ำกว่าที่คาด ดัชนีการผลิต ISM อยู่ที่ 58.7% ในเดือนที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 60.0% โดยคิดเป็นลดลง 2.4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ 61.1%
- ตัวเลขจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับในเดือนพฤศจิกายน ปรับลดลงเหลือ 10.562 ล้านตำแหน่ง ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ที่ 11.075 ล้านตำแหน่ง และตำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 11.033 ล้านตำแหน่ง
- นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank มองว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิตาลีเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินยูโรอ่อนค่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่สภาผู้แทนราษฎรจะทำการเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้นาย มาริโอ ดรากี นายกรัฐมนตรีสมัยปัจจุบันอาจต้องถูกปลดลงจากตำแหน่ง เป็นปัจจัยกดดันค่าเงินยูโร
- ครม.อนุมัติปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะปีงบ 65 เพิ่ม 2.07 หมื่นลบ.
- ธปท.คาดผลกระทบโควิดโอมิครอนชัดเจนขึ้นใน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 นี้ พร้อมย้ำให้ความสำคัญศก.ฟื้นตัว ระบุว่า ในการประเมินเบื้องต้นของที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะยังไม่ส่งผลที่ชัดเจนต่อเศรษฐกิจไทยเดือน ธ.ค. และภาพรวมของไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะในปี 64 จะยังขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 0.9%
- ธปท. ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือนธ.ค. กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับตัวดีขึ้น แต่ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ปัญหา supply disruption ทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบ ชิ้นส่วนการผลิต และตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้งปัญหาราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง
- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทยที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยอยู่ที่ 9.1 หมื่นคน จากเดือนต.ค.ที่ 2 หมื่นคน หลังภาครัฐเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่ 1 พ.ย.64 อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมยังไม่มาก เนื่องจากหลายประเทศยังมีมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศอยู่
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นใกล้แตะระดับ 77 ดอลลาร์ขานรับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติยึดมั่นตามข้อตกลงเดิม ในการประชุมนโยบายการผลิตซึ่งจัดขึ้นเมื่อวานนี้
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 91 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 76.99 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.02 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 80 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. 2564
- OPEC+ ตัดสินใจปรับขึ้นกำลังการผลิต 400,000 บาร์เรลต่องวันในเดือนถัดไป ตามแผนการเดิม และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ปัจจัยหนึ่งมากจากการคาดการณ์ว่าสหรัฐจะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งอุปทาน และจะไม่มีไวรัสโควิดสายพันธ์ุใหม่ที่มีผลกระทยมาก ในขณะที่ตลาดน้ำมันในปี 2022 คาดว่าจะยังคงผันผวนตามปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งประเด็นความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างยูเครน - รัสเซีย และประเด็นการการเจรจาต่อเรื่องอาวุธนิวเคลียร์กับอิหร่าน
- ส่วนการประชุมโอเปกพลัสครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.เพื่อพิจารณานโยบายการผลิตสำหรับเดือนมี.ค.
- S&P Global Platts ระบุว่า การที่ระดับราคาน้ำมันทรงตัวระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะอยู่ระดับที่ประธานธืบดีโจ ไบเดนต้องการ
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ทั่วโลกติดโควิดทะลุ 293,000,000 ราย พุ่งวันเดียวกว่า 3,000,000 ราย Worldometer รายงานข้อมูลล่าสุด ระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สะสมทั่วโลกมีจำนวน 293,080,539 ราย เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ล้านรายจากที่มีการรายงานวานนี้ ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ระดับ 5,467,767 ราย
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายวันทะลุ 1 ล้านรายต่อวัน โดยรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน 1,082,549 ราย และตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ยเจ็ดวันยังสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สะสมจำนวนเกินกว่า 57 ล้านราย
- ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของไทย และศูนย์ EOC กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข้อมูลเบื้องต้น สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 3,899 ราย หายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 2,508 ราย หายป่วยสะสม 2,155,403 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 34,877 ราย และเสียชีวิต 19 ราย
- ทางการจีนรายงานผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 108 รายเมื่อวานนี้ โดย 95 รายมาจากเมืองซีอาน ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงล็อคดาวน์ตลอดช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกชุมชนเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้นำในท้องที่ โดยผู้นำเมืองหลายแห่งถูกลงโทษและถูกถอดถอนออกอันเนื่องจากความล้มเหลวในการป้องกันการระบาด ซึ่งจีนพยายามป้องกันโควิดก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในเดือนกุมภาพันธ์ที่จีนจะเป็นเจ้าภาพ เช่นเดียวกันกับการประชุมสภาคองเกรสในปลายปีนี้
ข่าวอื่นๆ
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ประเทศจีนเปิดตัวแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินหยวนดิจิทัล “e-CNY (เวอร์ชันนำร่อง)” พร้อมให้ดาวน์โหลด บนแอปสโตร์ทั้งในระบบแอนดรอยด์และ iOS ของจีนในเซี่ยงไฮ้
- “หยวนดิจิทัล” ได้รับความนิยมเพิ่ม หลังทดลองใช้วงกว้าง นับตั้งแต่จีนเปิดตัวหยวนดิจิทัลในปลายปี 2562 ปัจจุบันหยวนดิจิทัลสามารถเข้าถึงได้ใน 10 เมืองของจีน ซึ่งรวมถึงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น เนื่องจากมีการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยมีการใช้งานตั้งแต่ชำระเงินในร้านอาหารจนถึงการทำธุรกรรมในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ธนาคารกลางจีน ระบุว่ามีการเปิดกระเป๋าเงินส่วนตัวมากกว่า 140 ล้านกระเป๋า เมื่อนับถึงวันที่ 22 ต.ค. 2563 โดยมีปริมาณธุรกรรมรวมเกือบ 6.2 หมื่นล้านหยวน (ราว 3.25 แสนล้านบาท)