เกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำ ไม่สามารถผ่านระดับ 1,830 เหรียญได้ปรับตัวร่วงลง หลังจากรายงานการประชุมเดือนธ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ ระบุว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
o ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -8.16 เหรียญ หรือ -0.45% มาอยู่ที่ระดับ 1810.17 เหรียญ หลังขึ้นไปทดสอบบริเวณ 1,830 เหรียญและไม่สามารถผ่านได้
o สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวลดลง -0.1 เหรียญ หรือ -0.01% มาอยู่ที่ระดับ 1810.2 เหรียญ หลังขึ้นไปทดสอบบริเวณ 1,830 เหรียญและไม่สามารถผ่านได้
o สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวลดลง -27.5 เซนต์หรือ -1.19% มาอยู่ที่ระดับ 22.778 เหรียญ
o กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ขายออก 0.32 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 979.99 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 4.65 ตัน ขณะที่ปีนี้
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ
- JP morgan มอง FOMC ขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดไว้เดิม ชี้ “หลังจากรายงานการประชุม FOMC ที่ไม่ค่อยดีนัก ธนาคารต่างๆ ของสหรัฐฯ ได้เริ่มทำการวิเคราะห์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ของสหรัฐฯ จะสามารถเริ่มต้นการปรับมาตรฐานในงบดุลได้เมื่อใด จากเดิมเราคิดว่าเฟดจะเริ่ม 'เข้มงวดเชิงปริมาณ' ในเดือนกันยายนนี้โดยอนุญาตให้สินทรัพย์ที่ครบกำหนดหมดงบดุล ทั้งนี้ยังคาดว่า FED จะเพิ่มระดับการลดขนาด Balance sheet เป็นเดือนละ 100,000 ล้านเหรียญ เพิ่มขนาดการลดเป็นประมาณสองเท่าเมื่อเทียบกับในช่วงปี 2017 - 2019”
- Goldman Sachs คาดว่า การปรับลดลง balance sheet ของ FED ลงลงค่อนข้างรวดเร็ว ตามการขึ้นดอกเบี้ยของ FED
- นักวิเคราะห์จากบริษัทจัดการกองทุน Fat Prophets ให้สัมภาษณ์ว่า ทองคำอาจปรับตัวสูงแตะระดับ 2,100 เหรียญต่อออนซ์ได้ในปีนี้ โดยพิจารณาจากปัจจัย (1) เชื่อว่าการปรับเพิ่มขึ้นของแนวโน้มเงินเฟ้อยังมีต่อและค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง ผลักดันราคาทองคำ (2) การเกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศที่มีกำลังทางการทหารสูง จะผลักดันราคาทองคำเช่นกัน โดยเฉพาะกรณีปัจจุบันที่ทหารรัสเซียประจำการอยู่บริเวณชายแดนชิดกับประเทศยูเครน เป็นจุดที่ต้องจับตาว่าจะเกิดความรุนแรงประทุขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากเกิดทั้งสองเหตุการณื ก็จะส่งผลให้ราคาทองสะท้อนและปรับตัวถึงเป้าหมายราคาทองคำที่ 2,100 เหรียญต่อออนซ์ได้
- Goldman Sachs มอง bitcoin จะเป็นคู่แข่งของทองคำในด้านฐานะ “สินทรัพย์ที่เก็๋บสะสมมูลค่า”(Store of value) จากการที่สินทรัพย์ดิจิทัลจะได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทำให้บิตต์คอยส์สามารถชิงส่วนแบ่งมาได้และมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณ 20% ของสินทรัพย์สะสมมูลค่า ปัจจุบันบิตต์คอยส์มีมูลค่ามาเก็ตแคปส์รวมกันกว่า 0.7 ล้านล้านเหรียญ เทียบกับทองคำที่ถือครองเพื่อการลงทุนมีมูลค่ารวมกัน 2.6 ล้านล้านเหรียญ
- Goldman sachs ชี้ว่า บิตต์คอยส์มีแนวโน้มที่จะขยายสัดส่วนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และในสมมุติฐานหากบิตต์คอยส์มีสัดส่วน 50% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่เก็๋บสะสมมูลค่า ราคาบิตต์คอยส์อาจปรับตัวขึ้นสูงได้ถึง 100,000 ดอลลาร์ต่อบิตต์คอยส์
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- คู่สกุลเงินยูโรดอลลาร์ปรับตัวลดลงสู่บริเวณ 1.1300 ดอลลาร์ต่อยูโร หลังประกาศตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ADP ของสหรัฐในเดือนธันวาคม ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ค่อนข้างมาก
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดประมาณเกือบ 400 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงรุนแรงที่สุดในรอบ 11 เดือน หลังจากรายงานการประชุมเดือนธ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ ระบุว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้
o ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,407.11 จุด ลดลง 392.54 จุด หรือ -1.07%,
o ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,700.58 จุด ลดลง 92.96 จุด หรือ -1.94%
o ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,100.17 จุด ลดลง 522.54 จุด หรือ -3.34%
- ประกาศ ADP Non-Farm Employment ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 807,000 ตำแหน่งในธันวาคมที่ผ่านมา มากกว่าที่คาดการณ์ถึงสองเท่า ที่คาดการณ์ไว้ที่เพิ่มขึ้น 400,000 ตำแหน่ง แสดงให้เห็นถึงการเริ่มฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ
- ข้อมูลจากแหล่งข่าวภายใน บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2022 และปี 2023 จากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ในการประชุมวันที่ 17-18 มกราคมที่จะถึงนี้ คาดว่าคณะกรรมการจะปรับเพิ่มเงินเฟ้อสูงกว่าระดับ 1% สำหรับปีถ้ดไป
- ข้อมูลจากแหล่งข่าวภายในเดียวกัน ยังบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP ของญี่ปุ่นสำหรับปี 2022 อยู่ที่iระดับ 2.9% และปี 2023 ที่ระดับ 3.4% จากปัจจัยการคลี่คลายปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน และการคาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- วิจัยกรุงศรี ประเมินอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะสามารถขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.7% จากปี 2564 ที่เติบโตเพียง 1.2% และมีแนวโน้มที่มูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาอยู่ในระดับก่อนเกิดการระบาดได้ในช่วงครึ่งหลังของปี แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญมาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ (1) ความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนที่ช่วยหนุนให้ไทยและหลายๆ ประเทศสามารถเปิดประเทศได้กว้างขวางขึ้น, (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และผลเชิงบวกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคส่งผลดีต่อภาคส่งออกของไทยเติบโตได้ต่อเนื่อง, (3) การปรับตัวของภาคธุรกิจอาจนำไปสู่วัฏจักรการลงทุนรอบใหม่, (4) แรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่ภาคท่องเที่ยวมีทิศทางปรับดีขึ้น แต่ยังคงเป็นระยะแรกของการฟื้นตัว
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- ราคาน้ำมัน WTI ปรับร่วงลงครั้งแรกหลังขึ้นไปแตะระดับ 78 เหรียญต่อบาร์เรล จากการมีมุมมองว่า ธนาคารสหรัฐส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ย และสถานการณ์การระบาดโควิดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นรอบใหม่ในจีนแย่ลง กดดันอุปสงค์กการบริโภคน้ำมัน
o สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้น 0.22 เหรียญ หรือ 0.29% มาอยู่ที่ระดับ 77.21 เหรียญ หลังขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 78.56 เหรียญ
o สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้น 0.2 เหรียญ หรือ 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 80.2 เหรียญ หลังขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 81.48 เหรียญ
- ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปปรับตัวพุ่งขึ้นสูงอีกครั้ง ดันต้นทุนค่าไฟฟ้า ส่งผลกระทบต่อเจ้าของธุรกิจในยุโรปโดยทั่ว ธุรกิจระส่ำระส่าย ราคาก๊าซกลับมาปรับขึ้นสู่ระดับ 93.3 ยูโรต่อเมกะวัตต์สูงขึ้นจากสิ้นปีที่ 70 ยูโรต่อเมกะวัตต์ แต่ยังต่ำกว่าระดับที่เคยสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 182.3 ยูโรต่อเมกะวัตต์ในเดือนธันวาคมปี 2022
- ปัญหาวิกฤติพลังงานในยุโรปอาจยืดเยื้อเป็นปี ปัจจัยหลักคือ ประมาณก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนอยู่ในจุดที่อันตราย และยุโรปอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนโยบายพลังงานมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทยอยปิดโรงงานไฟฟ้าถ่านหินลง ทำให้การผลิตไฟฟ้าค่อนข้างพึ่งพาก๊าซธรรมาติมากขึ้น
- ยุโรปยังเผชิญ 2 ปัจจัยที่ไม่แน่นอนซ้ำเติมปัญหาวิกฤติพลังงานในยุโรป ได้แก่ 1) นโยบายด้านพลังงานและการเมืองของประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ปูติน และ (2) สภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่หนุนวิกฤติคือ ประเทศที่เผชิญฤดูหนาวเย็นที่โหดร้ายทั้งญี่ปุ่นและจีนก็เร่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG แย่งส่วนแบ่งมาจากยุโรป
- สหรัฐขึ่้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในการส่งออกก๊าซธรรมชาติเป้นครั้งแรกในเดือนธีนวาคมที่ผ่านมา หลังส่งออกไปยังยุโรปที่มีวิกฤติพลังงาน
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐออกมาเปิดเผยการคาดการณ์ว่า จีนอาจตัดสินใจบังคับใช้มาตรการควบคุมพรมแดนอย่างเข้มงวดต่อไปสำหรับตลอดทั้งปี 2022 ในขณะที่เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในปี 2565 นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะประกาศลดระดับอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำที่ธนาคารต้องดำรง หรือ RRR ในไตรมาสแรกของปีนี้