เกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนัก โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งระบุว่า เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจะเริ่มปรับลดขนาดงบดุล
o สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 35.9 ดอลลาร์ หรือ 1.97% ปิดที่ 1,789.2 ดอลลาร์/ออนซ์
o สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 98 เซนต์ หรือ 4.23% ปิดที่ 22.19 ดอลลาร์/ออนซ์
o กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ขายออก 1.17 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 978.82 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 4.65 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 4.65 ตัน"
- ราคาทองคำปรับตัวลงทดสอบบริเวณ $1,890 เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นหลังรายงานการประชุมเฟด ชดเชยความต้องการของทองคำจากการที่เป็นทรัพย์สินที่ปลอดภัยท่ามกลางตัวเลขผู้ติดเชื้อโอไมครอนที่เพิ่มสูงขึ้น
- นักลงทุนบางรายมองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ต้านเงินเฟ้อ แต่ทองคำค่อนข้างอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งสิ่งนี้เพิ่มค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำที่ไม่ให้ผลตอบแทน
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐยังคงขาดดุลสูงต่อเนื่อง กดดันค่าเงินดอลลาร์ หักล้างกับผลบวกจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัว
o ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.07 จุด หรือ 0.07% มาอยู่ที่ระดับ 96.24 จุด
o อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.016 จุด มาอยู่ที่ระดับ 1.725 จุด
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า การถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของ BOJ ณ สิ้นปี 2564 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี เนื่องจาก BOJ ลดอัตราการซื้อสินทรัพย์ครั้งใหญ่
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ให้ความเห็นว่า ทองคำยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC และให้ความเห็นเกี่ยวกับการประกาศตัวเลขตัวเลขการจ้างงาน ADP ต่อราคาทองคำ ว่า การเปิดเผยตัวเลขการจ้างงาน ADP 807,000 ตำแหน่งใหม่ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สูงกว่าที่ตลาดคาดถึงเกือบกว่าสองเท่า เหมือนจะสะท้อนภาวะตลาดแรงงานที่แข็งแรงมาก อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำไม่ตอบสนองต่อตัวเลขมากนัก แต่กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นไปสูงุถึงบริเวณ 1,830 เหรียญต่อออนซ์ ณ ขณะนั้น เนื่องจาก (1) ถ้ามองอดีตที่ผ่านมา ตัวเลขการจ้างงาน ADP ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้สำหรับการแสดงภาวะตลาดแรงงาน (2) ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงในเวลานั้น หนุนราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยความกังวลดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้นแตะระดับ 80 ดอลลาร์
o ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,236.47 จุด ลดลง 170.64 จุด หรือ -0.47%
o ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,696.05 จุด ลดลง 4.53 จุด หรือ -0.10%
o ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,080.86 จุด ลดลง 19.31 จุด หรือ -0.13%
- รายงานตัวเลขดุลการค้าสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนขาดดุลมากขึ้นที่ผ่านมา และยอดนำเข้าสินค้าทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ยอดขาดดุลการค้าปรับเพิ่มขึ้น 19.4% มาอยู่ที่ระดับ 80,200 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ที่ 77,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอดนำเข้าสินค้าปรับสูงขึ้น 5.1% สู่ระดับ 254,900 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นสถิติสูงสุด จากประเด็นปัญหาความหนาแน่นที่ท่าเรือต่างๆในสหรัฐเริ่มคลี่คลาย
- ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐ ปรับขึ้น 207,000 ตำแหน่งแย่กว่าที่คาดที่ 197,000 ตำแหน่ง อัตราการว่างงานคงตัวที่ระดับ 1.3% และเพิ่มขึ้นมากกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 198,000 ตำแหน่ง
- รายงานตัวเลข PMI ภาคการบริการของสหรัฐเดือนธันวาคมที่ 62 จุด ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 66.9 จุดและชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 69.1 จุด ปรับตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน แม้ตัวเลขดังกล่าวจะยังคงสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต
- ตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน(Factory order)ในเดือนธันวาคมปรับเพิ่มขึ้น 1.6% เทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงกว่า 1.5% ในเดือนพฤศจิกายนและเร่งตัวจาก 1.2% ในเดือนตุลาคม
- เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในเยอรมันปรับสูงขึ้นสู่ระดับ 5.3% ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1992 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณี่ 5.1%
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยได้ปัจจัยหนุนจากปัญหาความไม่สงบในคาซัคสถานซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปกพลัส รวมทั้งรายงานการผลิตน้ำมันที่ลดลงในประเทศลิเบีย
o สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.61 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 79.46 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2564
o ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 1.19 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 81.99 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. 2564
- รัสเซียส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามผู้ประท้วงในคาซัคสถานด้วยความรุนแรงตามการร้องขอของประธานาธิบดีของคาซัคสถาน มีผู้เสียชีวิตและถูกจับกุมอีกกว่า 2,000 คน โดยการประท้วงมีที่มาจากประชาชนไม่พอใจในราคาพลังงานที่สูงขึ้น เหตุดังกล่าวส่งผลให้ราคายูเรเนียมปรับตัวสูงขึ้น 8% เนื่องจากคาซัคสถานเป็นผู้ผลิตยูเรเนียมอันดับหนึ่ง อย่างก็ตาม ยังไม่มีรายงานการกระทบการผลิตน้ำมันในคาซัคสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันมากที่สุดในทวีปเอเชียกลาง
- นักวิเคราะห์ด้านพลังงานจากบริษัท Commerzbank Research กล่าวว่า ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นทันทีที่มีรายงานว่าสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในคาซัคสถานเริ่มทวีความรุนแรง เนื่องจากคาซัคสถานเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแหล่งน้ำมัน และเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปกพลัส โดยปัจจุบันคาซัคสถานผลิตน้ำมันได้ในปริมาณ 1.6 ล้านบาร์เรล/วัน
- ยุโรปวางแผนจัดพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานนิวเคลียร์เข้าเป็น “พลังงานสะอาด” สร้างความสับสนให้กับนักลงทุน โดยคณะกรรมการยุโรปชี้ว่าพลังงานทั้งสองแหล่งเป็นหนทางสู่ “การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทดแทนในอนาคต” ประเด็นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมว่า พลังงานทั้งสองไม่ควรจัดเป็นพลังงานสะอาดแม้จะเป็นการจัดกลุ่มชั่วคราวก็ตาม ทั้งยังสร้างความสับสนให้กับนักลงทุนว่า ควรจะลงทุนในพลังงานทั้งสองหรือไม่ เนื่องจากไม่มีความชัดเจนและยังไม่มีการรับรองเป็นกฎหมาย
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟ ชี้ว่า ไวรัสโควิดสายพันธ์ใหม่มีโอกาสกลายพันธ์ุใหม่ได้เสมอ จนกว่าประชากรทั่วโลกจะได้รับการฉีดวัคซีนกันโดยทั่ว
- ทางการจีนบังคับใช้มาตรการสกัดโควิด-19 ที่เข้มงวดในหลายเมืองที่อยู่ทางตอนกลางของประเทศ หลังยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ในมณฑลเหอหนานปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ก่อนที่มหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาวและเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่นานนี้
ข่าวอื่นๆ
- ญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้ลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือด้านกลาโหมและความมั่นคงในวันนี้ เพื่อจัดการกับประเด็นที่มีความวิตกร่วมกันเกี่ยวกับอิทธิพลจีนทั้งในด้านการทหารและเศรษฐกิจ
- หอการค้าไทย ค้านล็อกดาวน์คุมโควิดอีกรอบ ห่วงประเทศต้องนับหนึ่งใหม่