ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำปรับตัวขึ้น หลังจากเคลื่อนตัวไปแตะที่ระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ หลังจากที่ WHO ได้ออกมากล่าวว่า การระบาดของโอมิครอนยังคงเป็นที่น่ากังวลที่แพร่เชื้อได้มากกว่า แต่ดูเหมือนจะก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงน้อยกว่าเดลต้าที่แพร่ทั่วโลก แต่ไม่ควรจัดประเภทเป็น "ไม่รุนแรง" สิ่งนี้ทำให้ราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้น
o ราคาทองคำตลาดโลก ปรับขึ้น 0.5% ที่ระดับ 1797.10 เหรียญ
o สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวขึ้น 0.5% เหรียญ มาอยู่ที่ระดับ 1797.40 เหรียญ
o สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวขึ้น 1.1% มาอยู่ที่ระดับ 22.39 เหรียญ
o กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ขายออก 1.74 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 977.08 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 1.42 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 1.42 ตัน
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์จาก Kitco ระบุว่าในระยะสั้นราคายังคงไม่มีทิศทางชัดเจน จนกว่าจะขึ้นยืนเหนือระดับ 1833 เหรียญ ที่เป็นราคาสูงสุดรายสัปดาห์ได้ จึงจะถือว่าเป็นทิศทางขาขึ้น ส่วนแนวรับระยะสั้นอยู่ที่ระดับ 1775 เหรียญ แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ระดับ 1800 เหรียญ และ 1811.6 เหรียญ ตามลำดับ
- นักวิเคราะห์จาก FX Empire คาดการณ์ราคาทองคำยังเป็น Sideways ในกรอบใหญ่บริเวณ $1760-$1830 จากราคาที่เริ่มทรงตัวในวันศุกร์ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี หากเบรกกรอบดังกล่าวจะเกิดการเลือกทิศทางของราคาที่นักลงทุนระยะยาวจะกลับมาให้ความสนใจ
- นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank คาด คู่สกุลเงินยูโรจะอ่อนค่าลงไปสู่ระดับ 1.10 ดอลลาร์ต่อยูโร จากปัจจุบันที่บริเวณ 1.13 ดอลลาร์ต่อยูโร โดยประเมินว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย 100 เบสิสพ้อยในปีนี้ มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 75 เบสิสพ้อย และมากกว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ที่คาดจะขึ้น 10 เบสิสพ้อย ทั้งนี้มอง ECB จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนตุลาคมของปี 2022 และจะปรับขึ้นสุ่ระดับ 50 เบสิสพ้อยในช่วงสิ้นปี 2023 เป็นจุดกลับตัวนโยบายการเงินของ ECB ที่ปัจจุบันผ่อนคลายอย่างมาก
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 33.65 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.30-33.90 บาทต่อดอลลาร์ และกรอบค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.55-33.75 บาทต่อดอลลาร์
· ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง 0.269 % มาอยู่ที่ระดับ 96.001 จุด
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.039 เบสิสพ้อยท์ มาอยู่ที่ระดับ 0.176 % ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 23 เดือน แตะระดับบริเวณ 1.78%
- แมรี่ ดาลี ผู้ว่าการธนาคารกลาง สาขาซานฟรานซิสโก เผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐเข้าใกล้เป้าหมายทางของ FED ทั้งเป้าหมายการจ้างงาน และเป้าหมายเงินเฟ้อ 2%
- แมรี่ ดาลี ผู้ว่าการธนาคารกลาง สาขาซานฟรานซิสโก ออกมายอมรับว่า เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องชั่วคราวอย่างที่ FED เคยคิดว่าเกิดจากสถานการณ์โควิด และยังกล่าวว่า การปรับเพิ่มขึ้นของค่าแรง แม้จะยังไม่แสดงรายงานชัดเจน แต่ควรติดตามตัวเลขดังกล่าวเช่นกัน
- เจมส์ บัลลาร์ด ผู้ว่าการธนาคารกลาง สาขารัฐเซนต์ หลุยส์ ให้ความเห็นว่า FED อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมีนาคมปีนี้ โดยชี้ว่า FED อยู่ในสถานะที่มีความพร้อมในการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธนวาคมนี้ การรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
· สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนี Dow jones ปรับตัวลดลง -83.0 เหรียญ หรือ -0.23% มาอยู่ที่ระดับ 36022.0 เหรียญ
· สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลง -8.25 เหรียญ หรือ -0.18% มาอยู่ที่ระดับ 4658.5 เหรียญ
· สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนี Nasdaq ปรับตัวลดลง -10.5 เหรียญ หรือ -0.07% มาอยู่ที่ระดับ 15563.5 เหรียญ
- ตลาดผิดหวังกับตัวเลขการเติบโตของตำแหน่งงานใหม่ โดยรายงานจำนวนตำแหน่งงานใหม่ 199,000 ตำแหน่งในเดือนธันวาคม ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 400,000 ตำแหน่ง
ข่าวเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ
- อัตราค่าจ้างในสหรัฐปร้บขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ในเดือนธันวาคม อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงเฉลี่ยภาคเอกชนปรับสูงขึ้น 19 เซนต์หรือปรับขึ้น 0.6% เทียบกับเดือนก่อนหน้า มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 0.4% และมากกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 0.4%
- ตัวเลขการปรับเพิ่มขึ้นของค่าแรงกลายเป็นประเด็นสนใจของตลาด โดยเฉพาะรายงานตัวเลขการปรับเพิ่มขึ้นของค่าแรงแรงงานกลุ่มที่มีรายได้น้อยปรับเพิ่มขึ้น 5.7% สูงกว่าการปรับขึ้นค่าแรงเฉลี่ยของทุกกลุ่มที่เพิ่มขึ้น 4.7% และจากการสำรวจของสมาคมธุรกิจขนาดย่อม NFIB พบว่า 48% ของธุรกิจขนาดย่อมปรับขึ้นค่าแรงในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และจำนวนประมาณ 33% วางแผนจะปรับขึ้นค่าแรงในเดือนถัดๆไป
- ครอบครัวที่มีรายได้น้อยในสหรัฐ อาจเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงในช่วงฤดูหนาวนี้ เนื่องจากพวกเขาได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น และยังมีหลากหลายการวิเคราะห์ที่บ่งชี้ว่า เงินเก็บออมของแรงงานและครอบครัวชนชั้นกลางจำนวนมากเริ่มใกล้จะหมด อาจนำไปสู่การเรียกร้องการขึ้นค่าแรงเช่นกัน
- อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนประจำเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ระดับ 5% จากระดับ 4.9% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งอยู่เหนือเป้าหมายที่อีซีบีวางไว้ที่ 2% และเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์
- องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ดัชนีราคาอาหาร ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก เฉลี่ยอยู่ที่ 133.7 ในเดือนธ.ค. ลดจากระดับ 134.9 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี
- สมาคม-สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกาศปรับราคา ขึ้นฟองละ 20 สตางค์ ดันราคาไข่คละหน้าฟาร์มสูงถึง 3 บาท มีผล 10 ม.ค.นี้
- ก๊าซหุงต้มครัวเรือนในไทย เตรียมปรับขึ้นราคา 1 ก.พ.นี้
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
o สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลง 56 เซนต์ หรือ -0.7% มาอยู่ที่ระดับ 78.90 เหรียญ
o สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง 24 เซนต์ หรือ -0.3% มาอยู่ที่ระดับ 81.75 เหรียญ
- บริษัทน้ำมันแห่งชาติลิเบีย แถลงว่า สามารถซ่อมแซมท่อน้ำมันที่ได้รับความเสียหายแล้ว และจะกลับมาผลิตน้ำมันสู่ระดับประมาณ 1 ล้านบาร์เรลตัอวันได้อีกครั้ง
- ซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ประกาศลดราคาขายน้ำมันดิบทุกเกรดอย่างเป็นทางการ (OSP) ในเดือนก.พ.นี้สำหรับลูกค้าในเอเชียลงอย่างน้อย 1.10 ดอลลาร์/บาร์เรล จากระดับของเดือนม.ค.
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ทีมนักวิจัยในสาธารณรัฐไซปรัส ประเทศเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของตุรกี พบเชื้อโควิด -19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตากับโอมิครอน ตั้งชื่อเรียกว่า เดลตาครอน (Deltacron) เนื่องจากเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีพันธุกรรมที่สำคัญของเชื้อโควิดโอมิครอน อยู่ในจีโนม (Genome) ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
- สถานการณ์ "โควิด-19" ในไทย ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,926 ราย ยอดติดเชื้อรวมระลอกเมษายน 2,248,613 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,277,476 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 13 ราย เสียชีวิตสะสม 21,838 ราย
- ไทยเริ่มบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 41 คุมโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2565