ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำขึ้นไปทดสอบแนวราคาด้านบนและไม่สามารถทะลุผ่านได้ ทำให้ขณะนี้มีแนวต้านอยู่ที่ระดับ $1830 ในขณะที่ราคาปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่แรงขายก็ยังไม่มากพอให้หลุดต่ำกว่าระดับ $1784 ได้ ส่งผลให้เกิดรูปแบบของทิศทางขาลงในระยะสั้น ในขณะที่สัปดาห์นี้มีข้อมูลที่น่าจับตามองคือ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะประกาศในวันพุธ โดยตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 7%
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับลดลง 0.2% ที่ระดับ 1,799.75 เหรียญ หลังจากที่ทำต่ำสุดเป็นสัปดาห์ที่สาม เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
- โดยสัญญาทองคำ ปิดที่ 0.1% ที่ระดับ 1798.80 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 977.08 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 1.42 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 1.42 ตัน
- ข้อมูลจาก World Gold Council ประจำเดือนมกราคม 2022 ระบุว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกลดการถือครองทองคำลง 21.5 ตัน นับเป็นเดือนแรกที่มีการลดการถือครองนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 โดยประเทศที่ขายทองทองคำออกมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาคือ อุซเบกิสถานจำนวน 21.5 ตัน ถัดมาคือ ตุรกี 7 ตัน รัสเซีย 3.1 ตัน และสาธารณรัฐคีร์กิซ 1.4 ตัน ส่วนฝั่งที่มีการสำรองทองคำเพิ่มในเดือนเดียวกันมีเพียงไม่กี่ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถานซื้อเข้า 4.3 ตัน โปแลนด์ 3.4 ตัน อินเดีย 2.8 ตัน และไอร์แลนด์ 0.7 ตัน
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs คาดธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในปี 2022 โดยปรับเพิ่มประมาณการจากเดิมที่จะขึ้นดอกเบี้ยสามครั้งในเดือนมีนาคม, มิถุนายน และกันยายน และปรับเพิ่มการขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในเดือนธันวาคม พิจารณาจาก สภาวะตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วและท่าทีนโยบายการเงินเข้มงวดของคณะกรรมการกําหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) ประกอบกับเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อค่อนข้างมาก
- นักวิเคราะห์จาก Perth Mint มองว่าทองสามารถปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ โดยระบุว่า นับแต่เดือนมีนาคมจนถึงธันวาคมปีนี้ ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real yield) ลดลง ส่งผลบวกต่อราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
o ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.16 จุด หรือ 0.16% มาอยู่ที่ระดับ 95.95 จุด
o ค่าเงินบาท ปรับตัวขึ้น 0.01 บาท หรือ 0.04% มาอยู่ที่ระดับ 33.62 บาทต่อดอลลาร์
o อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.002 เบสิสพ้อยท์ มาอยู่ที่ระดับ 0.176 %
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ FED เจอโรม พาวเวลล์ ส่งสัญญาณจะป้องกันเงินเฟ้อ โดย นายพาวเวลล์ แถลงการณ์ว่า (1) FED จะใช้เครื่องมือที่ในการ ป้องกันไม่ให้เงินเฟ้อฝังรากลึกลงในเศรษฐกิจ และยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง (2) นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิดจะแตกต่างไปจากก่อนหน้าในหลายมุม การกำหนดเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐจึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
- ในขณะที่ผู้ว่าการเฟด เลล เบรนาร์ด จะแถลงการณ์ในวันพฤหัสเพื่อยืนยันการพิจารณาเกี่ยวกับการเสนอชื่อให้เป็นรองประธานธนาคารกลางสหรัฐ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเปิดเผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-33.90 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 33.66 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายผันผวนในกรอบ 33.15-33.74 บาท/ดอลลาร์ เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับวันนี้คาดว่า เงินบาท เปิด ทรงตัว ที่ 33.62 บาทต่อดอลลาร์
- ขณะที่ตลาดเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นหลังรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม ระบุว่าตลาดแรงงานที่ตึงตัวมาก และภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อาจทำให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยเฟดประเมินว่าความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ Omicron อาจเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออีกทางหนึ่ง
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ปิดลบ โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลให้เฟด เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในช่วงท้ายตลาด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,068.87 จุด ลดลง 162.79 จุด หรือ -0.45%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,670.29 จุด ลดลง 6.74 จุด หรือ -0.14% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,942.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.93 จุด หรือ +0.05%
- ห่วงโซ่อุปทานยังคงอยู่ในสภาวะตึงตัว แต่ก็ได้ผ่านจุดอุปทานตึงตัวสูงสุดมาแล้ว ทั้งนี้ดัชนีความตึงตัวของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก หรือ GSPI พุ่งขึ้นในช่วงต้นของการแพร่ระบาด ขณะที่จีนกำหนดมาตรการล็อคดาวน์ หลังจากนั้นกลับมาลดลง ตามการผลิตของทั่วโลกที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2020 และดัชนีฯกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ 2020 โดยปัญหาความตึงตัวของห่วงโซ่อุปทาน เกิดจาก การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของผู้บริโภค และการขาดแคลนชิปสำหรับคอมพิวเตอร์ รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ในการผลิตเครื่องยนต์ และสินค้าอื่นๆ ซึ่งทำให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น
- ช่วงวันตรุษจีนน่าอาจจะสร้างความปั่นป่วนถึงห่วงโซ่อุปทานโลกอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทชิปปิ้งในประเทศจีนหยุดให้บริการในวันหยุดตรุษจีนที่ปีนี้เร็วกว่าปีก่อนๆ และการกักตัวลูกเรือเพื่อควบคุมโรคที่ยาวนาน ในบางกรณีอาจกักตัวยาวนานถึง 7 สัปดาห์
- IMF เตือนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอาจส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีความอ่อนแอต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศ เนื่องจากต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อพยุงหนี้สินของตน และอาจชะลอความต้องการในการทำการค้ากับสหรัฐ นอกจากนี้อาจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก รวมไปถึงค่าเงินในประเทศเหล่านั้นอ่อนค่าลง
- คมนาคม สรุปจัดทำงบประมาณปี 2566 วงเงิน 3.24 แสนลบ.เน้นก่อสร้างโครงการหลัก
ข่าวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเงินเฟ้อจะค่อยๆปรับตัวลงในปีนี้ จากผลสำรวจโดยบลูมเบิร์กคาดอัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับตังลงในอีก 5 ไตรมาสถัดไป คาดระดับเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.8% ในในไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 และ 2.5% ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2023
- ตลาดให้ความสนใจข้อมูล CPI ของสหรัฐฯ ในวันพุธนี้ เพื่อหาเบาะแสเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนกังวลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน อย่างไรก็ดี สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงไม่มากนัก เนื่องจากตลาดยังคงได้ปัจจัยหนุนจากความไม่สงบในคาซัคสถานซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปกพลัส รวมทั้งรายงานการผลิตน้ำมันที่ลดลงในประเทศลิเบีย
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 67 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 78.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 88 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 80.87 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ปริมาณการผลิตน้ำมันของลิเบียและคาซัคสถานปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังการซ่อมแซมท่อน้ำมันที่เสียหายและสถานการณ์การประท้วงในคาซัคสถานที่คลี่คลายลง
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สะสมทั่วโลกมีจำนวน 308,426,468 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ระดับ 5,507,937 ราย
โดยสหรัฐฯ มียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุดในโลก รวมสะสมเป็น 61,263,030 ราย
รองลงมาคืออินเดีย มีผู้ติดเชื้อรวมสะสม 35,708,442 ราย และบราซิล มีผู้ติดเชื้อสะสม 22,523,907 ราย
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,133 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,284,609 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 12 ราย เสียชีวิตสะสม 21,850 ราย
- นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยในไซปรัส ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับรายงานไวรัสโควิดสายพันธุ์ “เดลตาครอน” ในไซปรัส ว่าอาจจะไม่เกิดการกลายพันธุ์ตาธรรมชาติ เป็นข้อผิดพลาดเกิดการปนเปื้อนในการกระบวนการทดลอง จึงยังไม่สามารถระบุว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดได้หรือไม่
- CEO ไฟเซอร์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า ทางไฟเซอร์กำลังผลิตวัคซีนสำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อโอไมครอน โดยคาดว่าวัคซีนจะผลิตเสร็จในเดือนมีนาคม และจะพร้อมจัดสรรในเดือนมิถุนายนนี้
- วัคซีนของบริษัท ฮิปรา (HIPRA) ผู้พัฒนาวัคซีนชั้นนำของประเทศสเปน สามารถต้านทานโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนได้ จากรายงานผลทดลองทางวิทยาศาสตร์จากห้องแล็บระยะที่ 3
- จีนรายงานการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเป็นครั้งแรกในเมืองเทียนจิน พร้อมสั่งปูพรมตรวจเชื้อโควิดเชิงรุก ตามนโยบาย "zero tolerance" ที่รัฐบาลจีนนำมาใช้ควบคุมการระบาดของโควิดอย่างเข้มงวด
ข่าวอื่นๆ
- การเจรจาระหว่างสหรัฐและรัสเซียในประเด็นยูเครน ไม่คืบหน้า รัสเซียยังคงยืนยันเรียกร้องข้อเสนอที่สหรัฐไม่สามารถยอมรับได้และมีท่าทีข่มขู่ยูเครน หลังจากการพูดคุยยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง รัสเซียระบุว่าไม่มีความจำเป็นต้องเกรงกลัวหากจะยกระดับความตึงเครียดเพิ่มขึ้นในยูเครน และยังคงข้อเรียกร้อง ได้แก่ (1) ไม่ให้ยูเครนเป็นสมาชิก NATO (2) ใหัจำกัดกำลังทหาร NATO ในภาคตะวันออกของยูเครน ในขณะที่สหรัฐชี้ว่าการเจรจาดังกล่าวทำให้สหรัฐถูกย้อนกลับไปสู่จุดที่ยังไม่เริ่มเจรจาด้วยซ้ำ
- การลงนามความร่วมมือด้านกลาโหมและความมั่นคงระหว่างออสเตรเลียและญี่ปุ่น เป็นกาารส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อต้านจีน ที่ค่อนข้างชัดเจน จากความเห็นนักวิเคราะห์ของ Australian think-tank